จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกวัดปรมัยยิกาวาส 2

จารึก

จารึกวัดปรมัยยิกาวาส 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2566 13:46:41 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดปรมัยยิกาวาส 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นบ. 3, หลักที่ 230 จารึกบนหินอ่อน

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2427

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน จำนวน 16 บรรทัด (เป็นโคลงสี่สุภาพจำนวน 13 บท)

วัตถุจารึก

หินอ่อน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 117 ซม. สูง 89 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นบ. 3”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 230 จารึกบนหินอ่อน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดปรมัยยิกาวาส ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ผนังด้านหน้าของพระอุโบสถวัดปรมัยยิกาวาส ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (สำรวจเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 103-104.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน มีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 226 จารึกบนหินอ่อน” จารึกที่วัดปรมัยยิกาวาสมีด้วยกัน 4 หลัก ได้แก่ จารึกวัดปรมัยยิกาวาส 1-2 (โคลงสี่สุภาพ) จารึกวัดปรมัยยิกาวาส 3 (ร้อยแก้ว) ทั้ง 3 หลักใช้อักษรและภาษาไทย ส่วนอีกหลักหนึ่งจารึกด้วยอักษรและภาษามอญ ทั้งหมดมีเนื้อหาตรงกันคือ กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์วัดปรมัยยิกาวาส ในสมัยรัชกาลที่ 5

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกหลักนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจากจารึกวัดปรมัยยิกาวาส 1 ซึ่งกล่าวถึงการปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว เมืองนนทบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 จารึกหลักนี้ กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการปฏิสังขรณ์วัด และสร้างพระไตรปิฎกภาษามอญ รวมถึงการเปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรมัยยิกาวาส” เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร จากนั้นกล่าวถึงการฉลองวัดใน พ.ศ. 2427 ตอนท้ายพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอฯ ทรงอุทิศผลบุญแด่พระญาติ เทวดา และสรรพสัตว์ขอให้ได้ไปสู่นิพพาน

ผู้สร้าง

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453)

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชท้ายสุดที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1246 ตรงกับ พ.ศ. 2427 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 230 จารึกบนหินอ่อน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 103-104.
2) สายไหม จบกลศึก, “พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร,” ใน เฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์ฝ่ายใน เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534).
3) หวน พินธุพันธ์, ประวัติศาสตร์เมืองนนทบุรี (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2547).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)