หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา 2

จารึก

หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2566 15:24:03 )

ชื่อจารึก

หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษากรมการเมืองตะนาวศรี, เอกสารโบราณ อักษรและภาษาไทย สมัยอยุธยา แผ่นที่ 1

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 12 บรรทัด

วัตถุจารึก

กระดาษข่อย สีขาว ตัวอักษรเขียนด้วยดินสอ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 20. 7 ซม. ยาว 20.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) ประชุมจดหมายเหตุอยุธยา ภาค 1 กำหนดเป็น “หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษากรมการเมืองตะนาวศรี”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2512) กำหนดเป็น “เอกสารโบราณ อักษรและภาษาไทย สมัยอยุธยา แผ่นที่ 1”

ปีที่พบจารึก

สมัยรัชกาลที่ 5

สถานที่พบ

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประเทศเดนมาร์ค

ผู้พบ

Mr. H. N. Andersen กงสุลสยามที่เมืองโคเปนเฮเกน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประเทศเดนมาร์ค

พิมพ์เผยแพร่

1) The Journal of the Siam Society (JSS) Vol. XXXI Part I (March 1939) : 1-15.
2) ประชุมจดหมายเหตุอยุธยาภาค 1 (พระนคร : มปท., 2510), 6.
3) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2512) : 109-111.

ประวัติ

ในจดหมายโต้ตอบระหว่างรัชกาลที่ 5 กับ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระหว่างวันที่ 14-21 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ได้กล่าวถึงการสืบหาต้นฉบับหนังสือสัญญาระหว่างไทยและเดนมาร์คที่มีขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยกรมพระยาดำรง ฯ ทรงระบุในจดหมายว่า “มิสเตอร์ แฮนเดอร์ซัน” (H.N.Andersen) กงสุลสยามที่เมืองโคเปนเฮเกน เป็นผู้ช่วยค้นหาและถ่ายภาพเอกสารส่งมาให้ 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 ศุภอักษรออกยาไชยาธิบดีศรีรณรงคฤาไชยอภัยพิริยบรากรมพาหุ ออกยาตนาวศรีมหานคร ถึงเรธอธิลมาศ (ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย เรียกว่า “หนังสือออกญาไชยาเมืองตะนาวศรี”) ฉบับที่ 2 หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา ออกหลวงจินดาราชยกกระบัตร ถึง เรธอธิลมาศ (ฐานข้อมูลจารึกฯ เรียกว่า “หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา 1”) ฉบับที่ 3 หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา ถึง เรธอธิลมาศ (ฐานข้อมูลจารึกฯ เรียกว่า “หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา 2”) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายชุดหนึ่ง และเก็บรักษาไว้ที่หอสมุด วชิรญาณอีกหลายชุด ต่อมามีการตีพิมพ์ข้อมูลและคำอ่านของเอกสารทั้ง 3 ฉบับในบทความชื่อว่า “Early Trade relations between Denmark and Siam” ใน The Journal of the Siam Society Vol. XXXI Part I (March 1939) เมื่อ พ.ศ. 2482 โดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ และ พันตรี เอริก ไซเดนฟาเดน (Erik Seidenfaden) และมีการตีพิมพ์ในประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค 1 โดย คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2510 ต่อมา ประสาร บุญประคอง ได้ทำการอ่านเอกสารทั้ง 3 ฉบับและตีพิมพ์อีกครั้ง ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 12 เล่ม 5 โดยใช้ภาพถ่ายจาก นางสมศรี โชติช่วง บรรณารักษ์โท กองจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งเดินทางไปดูงานด้านการจดหมายเหตุที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประเทศเดนมาร์ค เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2510 อนึ่ง เอกสารฉบับนี้ต้นฉบับค่อนข้างชำรุด สามารถอ่านได้เพียง 12 บรรทัด แต่เนื้อหาเหมือนกับหนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา 1 ซึ่งมีสภาพสมบูรณ์กว่าจึงสามารถนำมาอ่านประกอบกันได้

เนื้อหาโดยสังเขป

ออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา อนุญาตให้พ่อค้าชาวเดนมาร์คเข้ามาค้าขายที่เมืองตะนาวศรีได้โดยสะดวก

ผู้สร้าง

ออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา

การกำหนดอายุ

หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา 1 ซึ่งมีเนื้อหาเหมือนกับจดหมายฉบับนี้ระบุศักราชซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2164 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (ครองราชย์ พ.ศ. 2163-2171)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) His Highness Prince Dhani Nivat and Major Erik Seidenfaden, “Early Trade relations between Denmark and Siam,” The Journal of the Siam Society (JSS) Vol. XXXI Part I (March 1939) : 1-15.
2) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, “หนังสือออกพระจอมเมือง อนุญาตให้พ่อค้าเดนมาร์คเข้ามาค้าขายยังประเทศไทย” ใน ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค 1 (พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายรัฐมนตรี, 2510), 6.
3) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านภาพถ่ายเอกสารโบราณ อักษรและภาษาไทย สมัยอยุธยา,” ศิลปากร 12, 5 (มกราคม 2512), 109-111.