จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1517, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนแท่งสี่เหลี่ยม, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายสิ่งของ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-สถาปนาเทวรูป, บุคคล-กัมรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรมเหศวร, บุคคล-มรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรสถามะ, บุคคล-พระแม่เจ้ากัมรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรเทวี,

จารึกปราสาทเมืองแขก 1

จารึก

จารึกปราสาทเมืองแขก 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 21:21:22 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทเมืองแขก 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นม.50

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1517

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 27 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

แท่งสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 38 ซม. ยาว 132 ซม. หนา 38 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 50”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2537) กำหนดเป็น “จารึกปราสาทเมืองแขก 1”

ปีที่พบจารึก

11 มกราคม 2535

สถานที่พบ

ปราสาทเมืองแขก บ้านกกกอก ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

นางสาวสิริพรรณ ธิรศริโชติ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (บันทึกข้อมูลวันที่ 29/11/2563)

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2537) : 99-112.

ประวัติ

ได้มีการขุดพบศิลาจารึกที่บริเวณโคปุระ กำแพงชั้นนอกปราสาทเมืองแขก ถึง 3 ชิ้นด้วยกัน รูปอักษรมีลักษณะอย่างเดียวกัน ยุคสมัยเดียวกัน ข้อความของจารึกก็สอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน ฉะนั้น จึงรวมจารึกทั้งสามหลักซึ่งพบในสถานที่เดียวกันนี้ เข้าเป็นชื่อเดียวกัน คือ จารึกปราสาทเมืองแขก และแยกเป็น 3 หลัก คือ จารึกปราสาทเมืองแขก 1, 2 และ 3

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงพระราชโองการของพระราชา ให้สถาปนาเทวรูปคือ กัมรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรมเหศวร มรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรสถามะ และพระแม่เจ้ากัมรเตงอัญศรีอสมานธฤตจันทรเทวี และหลังจากนั้นยังได้รวมพระกัมรเตงอัญแห่งลิงคปุระไว้ด้วย แล้วให้บรรดาขุนนางและข้าราชบริพาร ร่วมกันดูแลเทวรูปและเทวสถานเหล่านี้ โดยกัลปนาข้าทาสและสิ่งของ เช่น ข้าวสาร น้ำมัน ฯลฯ เป็นประจำ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 9 ระบุศักราช คือ 896 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 1517

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์, “จารึกปราสาทเมืองแขก 1, 2 และ 3,” ศิลปากร 37, 2 (มีนาคม-เมษายน 2537) : 99-112.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-04, ไฟล์; NM_020)