จารึกดวงตราประทับจากปราสาทเขาน้อย

จารึก

จารึกดวงตราประทับจากปราสาทเขาน้อย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2566 13:20:21 )

ชื่อจารึก

จารึกดวงตราประทับจากปราสาทเขาน้อย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ปจ. 28, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 25/15/2532

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

เหล็กหุ้มสำริด

ลักษณะวัตถุ

ดวงตราประทับ

ขนาดวัตถุ

ยาว 9.2 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 ซม. ดวงตราประทับรูปวงกลมอยู่ที่ปลายด้าม ทำด้วยเหล็กหุ้มด้วยสำริดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 28”
2) วารสารศิลปากร ปีที่ 32 ฉบับที่ 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2532) กำหนดเป็น “จารึกดวงตราประทับจากปราสาทเขาน้อย”

ปีที่พบจารึก

มกราคม 2532

สถานที่พบ

ปราสาทเขาน้อย วัดเขาน้อยสีชมพู บ้านเขาน้อย ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ (ข้อมูลเดิมว่า จังหวัดปราจีนบุรี) จังหวัดสระแก้ว

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (บันทึกข้อมูลวันที่ 7/11/2563)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 32 ฉบับที่ 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2532) : 22-23.
2) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564),110.

ประวัติ

จารึกดวงตราประทับนี้ เจ้าหน้าที่กองโบราณคดีได้พบ ขณะทำการขุดค้น ณ บริเวณปราสาทเขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะของจารึกเป็นดวงตราประทับรูปวงกลม อยู่ที่ปลายด้าม วัตถุคล้ายมีด ทำด้วยเหล็กหุ้มด้วยสำริดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มิลลิเมตร

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นจารึกบนดวงตราประทับ มีจารึกคำเดียวคือ “เกฺษะ” ซึ่งแปลความหมายได้หลายอย่าง แต่ความหมายที่เหมาะสมและกลมกลืนที่สุดคือ พึงอนุญาต, ควรอนุญาต สันนิษฐานว่าดวงตราประทับนี้น่าจะใช้เป็นคำสั่งของผู้มีอำนาจ เพื่ออนุญาตให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

1. อักษร “ก” ของจารึกดวงตราประทับ มีรูปใกล้เคียงกับอักษร “ก” ในจารึกบ้านพังพวย จังหวัดปราจีนบุรี (ข้อมูลปัจจจุบันเป็น จังหวัดสระแก้ว) ต่างกันแต่ไส้กลางของรูปอักษรจารึกบ้านพังพวยจะจดกับส่วนโค้งของเส้นบนเท่านั้น แต่จะเหมือนกันทุกประการกับอักษร “ก” ในจารึกวัดตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี (ข้อมูลปัจจุบันเป็น จังหวัดสระแก้ว) ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 16
2. ลักษณะการซ้อนของพยัญชนะ “กฺ” “ษ” = “กฺษ” ในจารึกดวงตราประทับ กับการซ้อน “กฺ” “ษ” “กฺษ” ของจารึกวัดตาพระยาเหมือนกันมาก จะต่างกันเพียงเล็กน้อยเฉพาะจุดม้วนที่ส่วนล่างของเส้นอักษร “ษ” เท่านั้น คงเนื่องจากจารึกดวงตราประทับมีเนื้อที่แคบ จึงไม่สามารถทำรูปม้วนได้ หรือไม่ก็ชำรุดหักหายไป

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกดวงตราประทับจากปราสาทเขาน้อย,” ศิลปากร 32, 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2532) : 22-23.
2) รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, "จารึกดวงตราประทับจากปราสาทเขาน้อย," ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 110.

ภาพประกอบ

1) ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 32 ฉบับที่ 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2532)
2) ภาพจากการสำรวจ : รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 2 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 44-45.