ผู้อ่าน |
ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2532) |
ผู้แปล |
ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2532) |
เชิงอรรถอธิบาย |
1. ชะเอม แก้วคล้าย : คำ “เกฺษะ” มีในรูปของนามศัพท์และกริยาศัพท์ คือ ถ้าเป็นนามศัพท์ “อิ” การันต์ สตรีลิงค์ ปัญจมี และ ษัษฐีวิภักติ เอกพจน์ จะมีรูปเป็น “เกฺษะ” และ “อิ” การันต์ ปุงลิงค์ ษัษฐีวิภักติ เอกพจน์ ก็จะมีรูปเป็น “เกฺษะ” เช่นกัน ซึ่งมาจาก “กฺษิ” ศัพท์ แปลว่า การฆ่า ทำลาย การไป การเข้าหา ในที่นี้เป็นบทคุณ ควรจะแปลว่า ของผู้เข้าหา หรือสำหรับผู้เข้าเฝ้า หมายถึงว่า ผู้เข้าเฝ้าบุคคลสำคัญในปราสาทนั้น ต้องมีบัตรหรือวัตถุอื่นใดที่ได้รับการประทับจากดวงตรานี้แล้ว เป็นเครื่องนำทางในการเข้าเฝ้า คำ “เกฺษะ” ถ้าเป็นกริยาศัพท์ มาจาก “กฺษา” ธาตุ อปัจจัย “อีสฺ” วิภักติ มัธยบุรุษ เอกพจน์ หมวดวิธีลิงค์ ซึ่งแปลความหมายได้หลายอย่าง แต่ความหมายที่เหมาะสมและกลมกลืนที่สุด คือ พึงอนุญาต, ควรอนุญาต โดยนัยนี้ สันนิษฐานว่าดวงตราประทับนี้น่าจะใช้เป็นคำสั่งของผู้มีอำนาจ เพื่ออนุญาตให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จากคำแปลที่ต่างกันระหว่างนามศัพท์กับกริยาศัพท์ ซึ่งมีรูปเหมือนกันคือ “เกฺษะ” นี้ ควรที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่า คำใดจะเหมาะสมกว่ากัน เช่น ผู้ได้รับบัตรให้เข้าเฝ้า ก็หมายถึงผู้ได้รับอนุญาต ซึ่งมีได้เฉพาะผู้แจ้งความจำนง ประสงค์จะเข้าเฝ้าเท่านั้น ส่วนคำว่าควรอนุญาต มีความหมายกว้างไปถึงการอนุญาตให้ทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้แจ้งความจำนงด้วย ฉะนั้น ในที่นี้ควรใช้คำแปลในรูปของกริยาศัพท์ |