จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกวัดโยธานิมิตร

จารึก

จารึกวัดโยธานิมิตร

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 15:07:03 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดโยธานิมิตร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จบ. 6

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2378

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 18 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีน้ำตาล

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ขนาดวัตถุ

กว้าง 62 ซม. สูง 34 ซม. หนา 5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “จบ. 6”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 158 ศิลาจารึกวัดโยธานิมิต”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดโยธานิมิตร ตำบลเนินวง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ผนังด้านใน หน้าโบสถ์วัดโยธานิมิตร ตำบลเนินวง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 51-53.

ประวัติ

จารึกหลักนี้อยู่ที่โยธานิมิตร ตำบลเนินวง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 158 ศิลาจารึกวัดโยธานิมิตร” ปัจจุบันอยู่ที่ผนังด้านใน หน้าโบสถ์วัดดังกล่าว

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2377 เจ้าพระยาพระคลังว่าที่พระสมุหกลาโหม ให้สร้างป้อมที่ปากน้ำแหลมสิงห์ฝั่งตะวันออก 1 ป้อม ส่วนป้อมเก่าให้ซ่อมแซมรวมถึงสร้างป้อมปราการบริเวณเนินวง แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2388 จากนั้นจึงชักชวนนายทัพนายกองและเจ้าเมืองต่างๆ ร่วมกันสร้างวัดใช้เวลา 4 เดือน ถวายนามว่า “วัดโยธานิมิตร” มีการระบุรายนามผู้สร้างและรายการก่อสร้าง ตอนท้ายอธิษฐานให้ได้พบพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ และถึงแก่นิพพานในที่สุด

ผู้สร้าง

เจ้าพระยาพระคลังว่าที่พระสมุหกลาโหม

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกว่า “จุลศักราช 1197” ตรงกับ พ.ศ. 2378 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 3)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 158 ศิลาจารึกวัดโยธานิมิตร,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 51-53.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517)