จารึกปราสาทเขาดุม

จารึก

จารึกปราสาทเขาดุม

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2566 11:22:09 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทเขาดุม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

บร. 6, K. 515

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1599

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 19 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

กรอบประตู

ขนาดวัตถุ

กว้าง 34 ซม. สูง 101 ซม. หนา 21.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “บร. 6”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2541) กำหนดเป็น “จารึกปราสาทเขาดุม”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ปราสาทเขาดุม บ้านถาวร ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอละหานทราย) จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

สำนักสงฆ์วัดเขาหลุบ บ้านถาวร ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ (สำรวจข้อมูลวันที่ 17/1/2563)

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2541) : 108-111.

ประวัติ

ศิลาจารึกปราสาทเขาดุมหลักนี้ ได้ค้นพบมาเป็นเวลานาน แต่ไม่มีหลักฐานว่าค้นพบเมื่อใด ใครเป็นผู้พบ ส่วนบริการภาษาโบราณหอสมุดแห่งชาติ มีสำเนาทะเบียนจารึกเป็น บร. 6 สำเนาลบเลือนมาก ไม่สามารถอ่าน-แปลได้ จนกระทั่งมีการสำรวจและจัดทำสำเนาจารึกใหม่ แม้จารึกที่ทำใหม่ก็ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร เพราะหลักจารึกเป็นหินทราย ผุกร่อน ทำให้เส้นอักษรบาง เลอะเลือน จึงมีการอ่าน-แปลเฉพาะส่วนที่ชัดเจนเท่านั้น

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงกัมเสตงท่านหนึ่ง ที่ได้ให้จารึกถึงเรื่องราวที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระกัมรเตงอัญ น่าจะหมายถึงพระเจ้าศรีอุทยาทิตยวรมันที่ 2 ที่มีกระแสรับสั่งไปยังขุนนางผู้ใหญ่ไจรก และกัมรเตงอัญผู้ปกครองมณฑล อนุญาตให้ มะอางบัณฑิต จัดฉลองศาลประจำเมืองที่ เตงตวน พระเสตงอัญถวายแก่พระกัมรเตงชคัต

ผู้สร้าง

กัมเสตงท่านหนึ่ง

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 1 ระบุศักราช 978 ตรงกับ พ.ศ. 1599 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1593-1609

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกปราสาทเขาดุม,” ศิลปากร 41, 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2541) : 108-111.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-10, ไฟล์; BR_013)