จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 15 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2344, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 1, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อนสีดำ, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 1,

จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1

จารึก

จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2566 20:43:07 )

ชื่อจารึก

จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1, หลักที่ 131 จารึกในพระวิหารพระโลกนาถ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2344

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 30 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีดำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 202 ซม. สูง 112 ซม. หนา 5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) ในหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (พ.ศ. 2472) กำหนดเป็น “จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 131 จารึกในพระวิหารพระโลกนาถ”
3) ในหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (พ.ศ. 2544) และ (พ.ศ. 2554) กำหนดเป็น “จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ผนังด้านหน้า ในพระวิหารพระโลกนาถฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ผนังด้านหน้า ในพระวิหารพระโลกนาถฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2517).
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 1-5.
3) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 51-54.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่ที่ผนังด้านตะวันตก ภายในพระวิหารพระโลกนาถฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีการตีพิมพ์ข้อมูลและคำอ่านเป็นครั้งแรกในหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมอบให้เจ้าหน้าที่หอพระสมุดวชิรญาณฯ ทำการรวบรวม และตีพิมพ์ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อ พ.ศ. 2472 โดยแยกเป็น 2 เล่ม จารึกนี้อยู่ในเล่มที่ 1 ซึ่งเป็นเล่มที่เป็นความเรียง ส่วนอีกเล่มที่ 2 เกี่ยวกับจารึกที่เป็นร้อยกรอง ต่อมา มีการตีพิมพ์หนังสือดังกล่าวอีกหลายครั้งเนื่องในโอกาสต่างๆ ได้แก่ ใน พ.ศ. 2505 (ใช้ชื่อหนังสือว่า ศิลาจารึกวัดพระเชตุพน) พิมพ์เนื่องในงานสมโภชสุพรรณบัฏสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน), พ.ศ. 2510 พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา ซึ่งรวมเป็นเล่มเดียวจบ, พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) (เล่มเดียวจบ) และครั้งล่าสุด ใน พ.ศ. 2544 คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกสมโภชหิรัญบัฏและฉลองอายุวัฒนมงคล 85 ปี พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ. 4) นอกจากนี้ ยังมีการตีพิมพ์ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 โดยสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2517 อีกด้วย

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงรายละเอียดในการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ในปัจจุบัน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2331-2341 กล่าวคือ
- พ.ศ. 2331 รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดโพธารามโดยเริ่มจากการถมดิน
- พ.ศ. 2336 ทำการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ
- พ.ศ. 2337 ชักชะลอพระพุทธปฏิมากรศรีสรรเพชญ์ อัญเชิญพระบรมธาตุ ฉลองพระเขี้ยวแก้ว เขี้ยวทอง และเขี้ยวนาค บรรจุในเจดีย์ ถวายพระนามเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ อัญเชิญพระพุทธรูปทองเหลืองและสำริดที่ชำรุดจำนวน 1,248 องค์จากเมืองพิษณุโลก สวรรคโลก สุโขทัย ลพบุรี อยุธยาและวัดศาลาสี่หน้า กรุงเทพฯ เพื่อซ่อมแซมให้งดงาม และประดิษฐานไว้ที่ต่างๆ ในบริเวณวัด ฯลฯ
- พ.ศ. 2341 ฉลองวัดและพระราชทานนาม “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” ตอนท้ายกล่าวตั้งความปรารถนาถึงพระโพธิญาณและอุทิศพระราชกุศลแด่เทวดา กษัตริย์ พระราชวงศานุวงศ์ ข้าราชการ นักบวช และประชาชนทั้งหลาย

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชล่าสุดที่ปรากฏในจารึกว่า “ปีระกาตรีนิศก” ในที่นี้ตรงกับจุลศักราช 1163 คือ พ.ศ. 2344 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2548) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2557), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก :
1) “จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชชกาลที่ 1,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 51-54.
2) “จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชชกาลที่ 1,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 54-57.
3) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 131 จารึกในพระวิหารพระโลกนาถ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 1-5.
4) สมคิด จิระทัศนกุล, วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537), 27-206.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517)