จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1

จารึก

จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:17:59

ชื่อจารึก

จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1, หลักที่ 131 จารึกในพระวิหารพระโลกนาถ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2344

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 30 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2517)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2517)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2325-2352
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วัดโพธาราม” คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในปัจจุบัน
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปฏิสังขรณ์” ความหมายในสมัยโบราณ คือ การรื้อแล้วสร้างขึ้นใหม่ โดยอาจมีรูปแบบหรือตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้ ต่างจากปัจจุบันซึ่งหมายถึง การทำให้กลับคืนสู่สภาพอย่างที่เคยเป็นมา
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชั่ง” เป็นมาตราเงินเท่ากับ 20 ตำลึง คือ 80 บาท (1 ตำลึง เท่ากับ 4 บาท)
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เบญจศก” คือ จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 5 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1155 (ตรงกับ พ.ศ. 2336)
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วา” เป็นมาตราวัด เท่ากับ 2 เมตร 4 ส่วน ศอก ประมาณ 0.5 เมตร
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ฉศก” คือ จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 6 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1156 (ตรงกับ พ.ศ. 2337)
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วิหารคด เป็นวิหารที่มีผังเป็นรูปหักศอก ตั้งอยู่บริเวณมุมของแผนผัง
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วิหารน้อย” เป็นวิหารที่สร้างขึ้นเพิ่มเติมในผัง เพื่อใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยเฉพาะ
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ทายก” คือ คนที่ถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์และสามเณร (ถ้าเป็นหญิง เรียกว่า ทายิกา)
11. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศาลาราย” คือ ศาลาที่สร้างรอบโบสถ์หรือวิหาร
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กรัก” คือ แก่นขนุนใช้ย้อมผ้า
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เวจกุฎี” คือ ส้วมของพระสงฆ์
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วัดศาลาสี่หน้า คือ วัดคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระพุทธเทวปฏิมากร” คือ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ รัชกาลที่ 1 พระราชทานนามนี้เนื่องจากมีพุทธลักษณะงดงามมากจึงถวายนามที่มีความหมายว่า เทวดาเป็นผู้สร้างขึ้น
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระโลกนาถ” เป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัยสูง 20 ศอก ศิลปะสมัยอยุธยา ประดิษฐานอยู่ที่วิหารทิศตะวันออก (มุขหลัง) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, โลกนาถ แปลว่า พระพุทธเจ้า,พระโลกนาถ,ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
17. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วัดเขาอินทร์” ตั้งอยู่บนยอดเขาอินทร์ นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย (จ. สุโขทัย) ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฝั่งตะวันออกของลำน้ำยม โดยตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนเมืองสวรรคโลก  คือเมืองศรีสัชนาลัย (พงศาวดารฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเปลี่ยนจากการเรียก เมืองศรีสัชนาลัย มาเป็น เมืองสวรรค โลกหลังจากที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตน  ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ในจังหวัดสุโขทัย
18. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ควง” หมายถึง บริเวณ
19. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “การบุเรียร” คือ ศาลาการเปรียญ
20. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สัปปุรุษ” หมายถึง ผู้ที่มีศรัทธาในพระศาสนา
21. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชาด” เป็นวัตถุสีแดงสดมีทั้งแบบที่เป็นผงและเป็นก้อน  ส่วน เสน  เป็นสารประกอบของตะกั่ว มีลักษณะเป็นผงสีแดงเข้ม
22. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ผ้าสีทับทิม” คือ ผ้าสีแดง
23. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ตาด” เป็นชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือทอง (เงิน, ทองที่รีดเป็นเส้นบางๆ)จำนวนเท่ากัน
24. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ตรีนิศก” คือ จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 3 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1163 (ตรงกับ พ.ศ. 2344)
25. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “คันถธุระ” และ “วิปัสสนาธุระ” พระภิกษุในพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้เป็นสองฝ่ายคือ 1) ฝ่ายคันถธุระ (คามวาสี) ศึกษาพระปริยัติธรรมเพื่อสั่งสอนฆราวาสและเน้นด้านพิธีกรรม วัดของฝ่ายนี้จึงตั้งอยู่ในบริเวณชุมชน, เมือง 2) ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (อรัญวาสี) เป็นฝ่ายที่ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัดโดยเน้นที่การฝึกสมาธิ มุ่งปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น วัดของฝ่ายนี้จึงนิยมตั้งอยู่ในป่า
26. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “โอ” คือ ภาชนะประเภทหนึ่ง รูปทรงคล้ายขัน
27. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปรบไก่” คือ เพลงพื้นบ้าน มีการตบมือและร้องแก้กันเหมือนเพลงฉ่อย
28. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ระทา”  คือ หอสูงทรงสี่เหลี่ยมหลังคายอดเกี้ยว  ประดับด้วยดอกไม้ไฟชนิดต่างๆ ส่วน พะเนียง  คือดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ภายในบรรจุดินดำ เมื่อจุดไฟจะลุกเป็นช่อสวยงาม
29. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ทักขิณทิศ” คือ ทิศใต้
30. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ประจิม” คือ ทิศตะวันตก
31. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระพุทธชินสีห์” เป็นพระพุทธรูปสำริด หน้าตักกว้าง 5 ศอกคืบ 4 นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ครั้น พ.ศ. 2372 (สมัยรัชกาลที่ 3) ได้อัญเชิญล่องน้ำมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
32. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สงสารทุกข์” คือ ทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด
33. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “โสฬสมหาพรหม” คือ ชั้นพรหมทั้ง 16 ชั้น
34. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พฤกษเทวดา” (รุกขเทวดา) คือเทวดาที่สถิตย์อยู่ตามต้นไม้ มีอิทธิฤทธิ์และคอยช่วยเหลือมนุษย์ส่วน “ภูมิเทวดา” (อารักษเทวดา) เป็นเทวดาที่สถิตย์อยู่ตามที่ต่างๆ โดยปกติอยู่ตามภูเขา ทั้งพฤกษเทวดาและภูมิเทวดาเป็นเทพชั้นต่ำ ไตรภูมิพระร่วงกล่าวว่า ท้าวจตุโลกบาลจะเป็นผู้มอบหมายให้เทพองค์อื่นมากำหนดสถานที่อยู่ของพฤกษเทวดาและภูมิเทวดา