อายุ-จารึก พ.ศ.2421, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 2, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ภาษา-จารึกภาษาไทย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดนิเวศธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา, เรื่อง-การบันทึกเหตุการณ์, เรื่อง-การบันทึกเรื่อง-ประวัติการสร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, บุุคคล-พระบาททสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 13:47:32 )
ชื่อจารึก |
จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ 3 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
อย. 54 จารึกหินอ่อน, หลักที่ 188 จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ, อย. 54 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
พุทธศักราช 2421 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 39 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินอ่อนสีขาว |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 32 ซม. สูง 72 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 54 จารึกหินอ่อน” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 119-121. |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 188 จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ” ปัจจุบันอยู่ที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เนื้อหาโดยสังเขป |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองเหลืองกะไหล่ทองคำ อุทิศแด่พระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้อัญเชิญมาพร้อมพระพุทธนฤมลธรรโมภาศ แล้วประดิษฐานบนหิ้งข้างเรือนแก้ว ภายในอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ เมื่อ พ.ศ. 2421 โดยมีการกล่าวถึงประวัติและมูลเหตุการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 2 อย่างละเอียด กล่าวคือ รัชกาลที่ 3 โปรดให้กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส หล่อพระพุทธรูป 37 แล้วทรงเลือก 3 ปางเพื่อสร้างเป็นพระพุทธรูปพระชนมพรรษาประจำแผ่นดิน 3 ปาง ส่วนที่เหลือให้ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา รัชกาลที่ 4 โปรดให้กะไหล่ทองพระพทธรูปทั้ง 37 องค์แล้วอุทิศแด่พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา 33 พระองค์ และพระเจ้ากรุงธนบุรี 1 องค์ อีก 3 องค์อุทิศแด่รัชกาลที่ 1 - 3 ครั้นเมื่อมีการฉลองวัดชุมพลนิกายารามใน พ.ศ. 2407 รัชกาลที่ 4 ทรงอัญเชิญพระพุทธรูป ที่อุทิศแด่พระเจ้าปราสาททองและพระนารายณ์มหาราช มาตั้งในอุโบสถแล้วเชิญกลับกรุงเทพฯ ต่อมา รัชกาลที่ 5 ดำริว่าพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 คือ พระเจ้าปราสาททอง พระนารายณ์มหาราช และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแต่เคยประทับ ณ บริเวณเกาะบางปะอิน จึงควรมีสิ่งที่ระลึกถึงพระเกียรติ ซึ่งสำหรับรัชกาลที่ 4 คือ พระพุทธรูปนิรันตราย ส่วนอีก 2 พระองค์ โปรดให้หล่อพระพุทธรูป ตามขนาดและแบบเดียวกับองค์ที่รัชกาลที่ 4 ทรงอัญเชิญมาในคราวฉลองวัดชุมพลนิกายาราม |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกว่า “พระพุทธสาสนกาลล่วงแล้ว 2421 พรรษา” คือ พ.ศ. 2421 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 26-28 มิถุนายน 2550 |