จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 16 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2378, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวนสีเทา, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา, เรื่อง-การบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน, เรื่อง-การสร้างพระอุโบสถ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ, บุคคล-พระยาไชยวิชิต, บุคคล-เจ้าประคุณพระมงคลเทพ วัดพนัญเชิง,

จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ 1

จารึก

จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2566 22:04:53 )

ชื่อจารึก

จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 18 จารึกพระประธาน, หลักที่ 159 ศิลาจารึกวัดหน้าพระเมรุ, อย. 18

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2378

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 12 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีเทา

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 131 ซม. สูง 50.5 ซม. หนา 24 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 18 จารึกพระประธาน”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 159 ศิลาจารึกวัดหน้าพระเมรุ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดหน้าพระเมรุราชิการาม ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการาม ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 54-55.

ประวัติ

นายประสาร บุญประคองเป็นผู้อ่านจารึกหลักนี้ โดยมีการตีพิมพ์ลงในประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ในพ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 159 ศิลาจารึกวัดหน้าพระเมรุ” ส่วนจารึกอีกหลักหนึ่งที่มีเนื้อหาต่อเนื่องกัน ถูกกำหนดเป็นหลักที่ 160 ปัจจุบันจารึกทั้ง 2 หลักอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ ภายในวิหารน้อยยังมีจารึกอีกหลักหนึ่งซึ่งสร้างโดยพระยาไชยวิชิต เช่นเดียวกับ 2 หลักนี้ แต่เป็นจารึกที่สร้างขึ้นเพิ่มเติมภายหลัง คือ ในพ.ศ. 2381 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ 2 และ จารึกที่วิหารน้อยวัดหน้าพระเมรุ) วัดหน้าพระเมรุ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเสียกรุง เนื่องจากพม่าใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับการปฏิสังขรณ์ใน พ.ศ. 2378 และ 2381 โดยพระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาการพระนครศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ดังที่ปรากฏในจารึกทั้ง 3 หลักซึ่งพบที่วัดแห่งนี้

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2378 พระยาไชยวิชิต ทำการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดพระเมรุราช โดยมีเจ้าประคุณพระมงคลเทพ วัดพนัญเชิง เป็นประธาน มีการระบุถึงส่วนต่างๆที่ทำการซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติม นอกจากนี้ ได้ถวายนามพระประธานว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ” ตอนท้ายแผ่ส่วนบุญให้แก่สัตว์ทั้งหลายแล้วขอให้ตนเสวยร่มสมบัติทั้งในโลกมนุษย์-สวรรค์ เป็นผู้มีปัญญา และถึงแก่นิพพานโดยเร็ว

ผู้สร้าง

พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาการพระนครศรีอยุธยา

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในบรรทัดแรกของจารึกว่า “…ศักราช 1197…” ตรงกับ พ.ศ. 2378 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 3)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 159 ศิลาจารึกวัดหน้าพระเมรุ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 54-55.
2) สาโรจน์ มีวงษ์สม, ประวัติวัดสำคัญในอยุธยา (กรุงเทพฯ : คอมแพคท์พริ้นท์, 2541).
3) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2546).
4) มานพ ถนอมศรี, อยุธยา เมืองประวัติศาสตร์ มรดกโลก (กรุงเทพฯ : พีพี เวิลด์ มีเดีย, 2547).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 26-28 มิถุนายน 2550