ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวนสีเทา, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา, เรื่อง-การบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน, เรื่อง-การสร้างพระอุโบสถ, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นรก-สวรรค์, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นิพพาน, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นิพพาน, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 16:11:59 )
ชื่อจารึก |
จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ 2 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
อย. 44 จารึกพระประธาน, หลักที่ 160 ศิลาจารึกวัดหน้าพระเมรุ, อย. 44 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
พุทธศักราช 2378 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 11 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินชนวนสีเทา |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 132 ซม. สูง 50.5 ซม. หนา 24.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 44 จารึกพระประธาน” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดหน้าพระเมรุราชิการาม ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการาม ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 56-57. |
ประวัติ |
นายประสาร บุญประคองเป็นผู้อ่านจารึกหลักนี้ โดยมีการตีพิมพ์ลงในประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ในพ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 160 ศิลาจารึกวัดหน้าพระเมรุ” จารึกหลักนี้ มีเนื้อหาต่อเนื่องกับจารึกหลักที่ 159 (จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ 1) ปัจจุบันจารึกทั้ง 2 หลักอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ ภายในวิหารน้อยยังมีจารึกอีกหลักหนึ่งซึ่งสร้างโดยพระยาไชยวิชิต เช่นเดียวกับ 2 หลักนี้ แต่เป็นจารึกที่สร้างขึ้นเพิ่มเติมภายหลัง คือ ใน พ.ศ. 2381 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ 1 และ จารึกที่วิหารน้อยวัดหน้าพระเมรุ) วัดหน้าพระเมรุ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเสียกรุง เนื่องจากพม่าใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับการปฏิสังขรณ์ใน พ.ศ. 2378 และ 2381 โดยพระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาการพระนครศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ดังที่ปรากฏในจารึกทั้ง 3 หลักซึ่งพบที่วัดแห่งนี้ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
คำเตือนไม่ให้ขุดทำลายเพื่อหาของมีค่าในบริเวณวัดพระเมรุราช มีการสาปแช่งต่างๆ เช่น ขอให้ตายตกนรกอเวจีแสนกัลป์ และไม่ทันยุคพระศรีอารย์ เป็นต้น หากผู้ใดมีศรัทธาขอแผ่กุศลให้สำเร็จมรรคผลและเข้าสู่นิพพาน ตอนท้ายฝากให้เจ้าอาวาส พระสงฆ์ และผู้มีศรัทธา ช่วยกันดูแลซ่อมแซมวัด |
ผู้สร้าง |
พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาการพระนครศรีอยุธยา |
การกำหนดอายุ |
แม้ว่าจารึกหลักนี้จะไม่ปรากฏศักราช แต่คงจะถูกสร้างขึ้นพร้อมกับจารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ 1 ซึ่งระบุ พ.ศ. 2378 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 3)) เนื่องจากเนื้อหามีความต่อเนื่องกัน อีกทั้งรูปร่าง ขนาด และวัสดุที่ใช้จารึกมีลักษณะเหมือนกัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 26-28 มิถุนายน 2550 |