จารึกฐานพระบรมรูปทรงม้า

จารึก

จารึกฐานพระบรมรูปทรงม้า

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 09:08:30 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระบรมรูปทรงม้า

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 244 จารึกบนแผ่นทองสัมฤทธิ์

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2451

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 33 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองสัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 144 ซม. สูง 246 ซม. หนา 3.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 244 จารึกบนแผ่นทองสัมฤทธิ์"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ฐานพระบรมรูปทรงม้า ลานพระราชวังดุสิต หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ฐานพระบรมรูปทรงม้า ลานพระราชวังดุสิต หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 132-133.

ประวัติ

จารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 244 จารึกบนแผ่นทองสัมฤทธิ์” พระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นเนื่องในงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ซึ่งเป็นพิธีที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายแด่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้า และสมโภชสิริราชสมบัติ ในมหามงคลสมัยที่ทรงครองแผ่นดินครบ 40 ปีซึ่งยาวนานกว่าทุกพระองค์ โดยจ้างบริษัทซูซเซอเฟรส ฟองเดอร์ส (SUSSE FRES FONDEURS) ทำการหล่อที่ประเทศฝรั่งเศส สำหรับตัวจารึกที่ฐานนี้ สร้างขึ้นที่ประเทศไทยในภายหลัง

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงประวัติการสร้างพระบรมรูปทรงม้า เพื่อประกาศพระเกียรติยศ ในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัติครบ 40 ปี ใน พ.ศ. 2451

ผู้สร้าง

พระบรมวงษานุวงษ์และประชาชนชาวสยาม

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏบนจารึกว่า “พระพุทธสาสนากาลล่วงแล้ว 2451 พรษา” คือ พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 244 จารึกบนแผ่นทองสัมฤทธิ์,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 132 - 133.
2) พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, พระบรมรูปทรงม้า (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2539).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)