จารึกวัดมหาพฤฒาราม 11

จารึก

จารึกวัดมหาพฤฒาราม 11

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2566 13:54:38 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดมหาพฤฒาราม 11

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 222 จารึกบนหินอ่อน

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อน สีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 29 ซม. สูง 12 ซม. หนา 1 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 222 จารึกบนหินอ่อน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ผนังด้านขวา ในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ผนังด้านขวา ในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 73-74.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 222 จารึกบนหินอ่อน” ซึ่งเป็นหลักหนึ่งในจำนวน 13 หลักที่ผนังด้านขวาและซ้ายในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม จารึกทั้งหมดล้วนทำจากหินอ่อนและมีขนาดใกล้เคียงกันมาก เนื้อความต่อเนื่องกัน คือ อธิบายถึงแนวทางการปฏิบัติในการถือผ้าและการถือธุดงค์ (ดูรายละเอียดได้ใน จารึกวัดมหาพฤฒาราม 1-13) วัดมหาพฤฒาราม ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงอยู่ในเพศบรรพชิต ได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดแห่งนี้ พระอธิการแก้วซึ่งเป็นเจ้าอาวาสได้ทำนายว่าพระองค์จะได้ขึ้นครองราชย์ จึงทรงปฏิญาณว่าถ้าได้แผ่นดินจะทรงมาสร้างวัดให้ใหม่ ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระอธิการแก้วเป็น “พระมหาพฤฒาจารย์” และสร้างพระอารามใหม่ โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2397-2409 สำหรับพระอุโบสถซึ่งพบจารึกนั้น มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบรัชกาลที่ 4 ตัวอาคารมีขนาดใหญ่ หน้าบันเป็นรูปมงกุฎมีฉัตรขนาบ ประดิษฐานในบุษบกซึ่งเป็นพระลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4 พระประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

เนื้อหาโดยสังเขป

อธิบายถึงการถือโสสานิกธุดงค์ คือ การไปเยี่ยมป่าช้าเป็นนิจ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รศ. ดร. สุภาพรรณ ณ บางช้าง ได้กล่าวถึงจารึกนี้ในหนังสือ “วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น ประกาศ” ว่าน่าจะถูกจารึกขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 222 จารึกบนหินอ่อน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 73-74.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)