อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 12, ยุคสมัย-จารึกสมัยเจนละ, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดกุดแต้ศรัทธาราม สระแก้ว, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระเจ้าภววรมันที่ 2, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรเจนละ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรเจนละ-พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรเจนละ-พระเจ้าภววรมันที่ 2, บุคคล-พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1, บุคคล-พระเจ้าภววรมันที่ 2,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2567 16:10:49 )
ชื่อจารึก |
จารึกพระเจ้าภววรมันที่ 2 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
จารึกวัดกุดแต้, จารึกบ้านกุดแต้, ปจ. 26, K. 1150 |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 12 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 55 ซม. หนา 57 ซม. สูง 105 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 26” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2522 |
สถานที่พบ |
บ้านเขาน้อยสีชมพู ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว |
ผู้พบ |
นางน้ำผึ้ง ทวาผักแว่น |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
สำนักสงฆ์กุดแต้ ตำบลฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (บันทึกข้อมูลวันที่ 21/2/2564) |
พิมพ์เผยแพร่ |
วารสารศิลปากร ปีที่ 31 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2530) : 73-78. |
ประวัติ |
ราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2522 นางน้ำผึ้ง ทวาผักแว่น ราษฎรบ้านเลขที่ 24 หมู่ 2 บ้านเขาน้อยสีชมพู ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ขณะนั้น) ได้พบจารึกหลักนี้ขณะกำลังไถนา จึงได้นำมาถวายไว้ที่สำนักสงฆ์วัดกุดแต้ ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดทำสำเนาของจารึกหลักนี้ โดยเรียกว่า “จารึกวัดกุดแต้” และได้จัดส่งสำเนาจารึกดังกล่าวให้แก่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 แต่เนื่องจากสำเนาจารึกไม่ชัดเจนพอที่จะแปลให้ได้ใจความ ดังนั้น นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ หัวหน้างานบริการหนังสือภาษาโบราณ และ นายเทิม มีเต็ม หัวหน้าสายงานจารึก พร้อมด้วย อาจารย์กรรณิการ์ วิมลเกษม อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้รวมกันเดินทางไปทำสำเนาจารึกหลักนี้ใหม่อีกครั้ง ระหว่างวันที่ 9-11 มกราคม พ.ศ. 2530 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ได้สรุปความไว้ว่า ภายหลังที่พระเจ้าอีศานวรมันเสด็จสวรรคตแล้ว โอรสของพระองค์คือพระเจ้าภววรมันได้ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นลำดับต่อมา โดยเนื้อความได้กล่าวถึงประวัติของพระองค์ว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีคุณธรรม และอำนาจตามที่พระศิวะประทานให้ พระองค์ทรงประสูติในศังกรคราม เมืองภวปูระ ประชาชนได้ให้การสนับสนุนพระองค์ในการบำรุงบ้านเมืองให้อุดมสมบูรณ์ เสนาบดีผู้ใหญ่ที่เป็นรองเจ้าเมืองก็ช่วยในการปราบปรามพวกศัมพูกะ พระองค์มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการเสด็จไปเยือนเมืองต่างๆ แต่ก็ถูกรบกวนด้วยแสงอาทิตย์ในฤดูร้อน จากนั้น จารึกได้กล่าวถึง หมู นก และปลา ที่อาศัยอยู่สระใหญ่อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำและอาหาร ส่วนสัตว์ (บุคคลผู้) ลำบากยากเข็ญ ได้ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้ล้มตายไปก็มาก ในขณะขุดสระ |
ผู้สร้าง |
พระเจ้าภววรมันที่ 2 |
การกำหนดอายุ |
รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 นอกจากนี้ อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ได้อธิบายว่า รูปอักษรเป็นแบบเดียวกันกับจารึกเขาน้อย ซึ่งระบุ พ.ศ. 1180 และจารึกเขารัง ระบุ พ.ศ. 1182 ฉะนั้น จารึกพระเจ้าภววรมันที่ 2 นี้ คงจะสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1178-1198 อันเป็นช่วงรัชสมัยของพระเจ้าภววรมันที่ 2 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 6-8 กันยายน 2555 |