จารึกบนฐานพระพุทธรูปถ้ำเขาบันไดอิฐ

จารึก

จารึกบนฐานพระพุทธรูปถ้ำเขาบันไดอิฐ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2566 10:36:57 )

ชื่อจารึก

จารึกบนฐานพระพุทธรูปถ้ำเขาบันไดอิฐ

อักษรที่มีในจารึก

ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองเหลือง ปิดด้วยทองคำเปลว

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูป

ขนาดวัตถุ

กว้าง 64 ซม. สูง 7 ซม. หนา 2 มม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พบ. 1”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 229 จารึกบนฐานพระพุทธรูป”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ถ้ำเขาบันไดอิฐ ตำบลไร่ดอน (ข้อมูลปัจจุบัน คือ ตำบลไร่ส้ม) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ศาลาการเปรียญ วัดเขาบันไดอิฐ ตำบลไร่ดอน (ข้อมูลปัจจุบัน คือ ตำบลไร่ส้ม) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี (สำรวจเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 102.

ประวัติ

จารึกหลักนี้นายประสาร บุญประคองเป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงในประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ในพ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 229 จารึกบนฐานพระพุทธรูป”

เนื้อหาโดยสังเขป

คาถาภาษาบาลีพร้อมคำแปล ความว่า “ไม่มีสุขแก่ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ”

ผู้สร้าง

ดุ๊กโยฮันอันเบรชด์ เมืองเม็กเลนเบิค เจ้าผู้สำเร็จราชการเมืองบรันสวิก

การกำหนดอายุ

กำหนดจากประวัติการสร้างพระพุทธรูป คือ พ.ศ. 2425 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 229 จารึกบนฐานพระพุทธรูป,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 102.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521)