จารึกใต้ฐานรูปพระเจ้าศุทโธทนะ (พระพุทธบิดา)

จารึก

จารึกใต้ฐานรูปพระเจ้าศุทโธทนะ (พระพุทธบิดา)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2566 21:29:03 )

ชื่อจารึก

จารึกใต้ฐานรูปพระเจ้าศุทโธทนะ (พระพุทธบิดา)

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13-14

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

ดินเผา

ลักษณะวัตถุ

ประติมากรรมรูปบุคคล นั่งประนมมือ

ขนาดวัตถุ

กว้าง 6.5 ซม. สูง 4.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) ทะเบียนของพิพิธภัณฑ์ฯ กำหนดเป็น “59/06”
2) ในวารสาร Fragile Palm Leaves (December 2545/2002) กำหนดเป็น “จารึกใต้ฐานรูปพระเจ้าศุทโธทนะ (พระพุทธบิดา)”

ปีที่พบจารึก

ระหว่างการขุดแต่งโบราณสถานในวันที่ 5 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน พ.ศ. 2506

สถานที่พบ

เจดีย์หมายเลข 11 เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้พบ

กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

พิมพ์เผยแพร่

Fragile Palm Leaves (December 2545/2002) : 11-14.

ประวัติ

ประติมากรรมรูปพระเจ้าสุทโธทนะ ถูกพบระหว่างการขุดแต่งโบราณสถาน ในวันที่ 5 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน พ.ศ. 2506 บริเวณเจดีย์หมายเลข 11 เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใน รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ระบุว่าประติมากรรมดังกล่าวเป็น “พระโพธิสัตว์ดินเผา” ต่อมา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบประติมากรรมชิ้นนี้ รวมถึงจารึกบนพระพิมพ์องค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปล และทราบว่าประติมากรรมดังกล่าวคือ พระเจ้าสุทโธทนะ ไม่ใช่พระโพธิสัตว์แต่อย่างใด คำอ่าน-แปลจารึกนี้รวมถึงจารึกบนพระพิมพ์ทั้งหมด มีการตีพิมพ์ลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จ. สุพรรณบุรี” ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงพระนามของพระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งเป็นพระบิดาของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ มีพระชายานามว่า สิริมหามายา พระโอรสคือ เจ้าชาย สิทธัตถะ พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทาง ไม่ให้เจ้าชายเกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือนจนสละโลก เพราะต้องการให้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ตามคำทำนาย แต่เมื่อเจ้าชายทรงออกบวชและเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงพอพระทัยและเห็นประโยชน์ของการออกบวช จึงทรงอนุญาตให้เจ้าชายในศากยวงศ์หลายพระองค์ ออกบวชเพื่อสืบทอดพระศาสนา พระเจ้าสุทโธทนะนั้น หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ทรงบรรลุโสดาปัตติผล และเมื่อได้ฟังธรรมอีกครั้งก็บรรลุสกิทาคามิผล ต่อมาได้สดับมหาธัมมปาลชาดก ได้บรรลุอนาคามิผล ในบั้นปลายชีวิต ได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า และบรรลุอรหัตผลในที่สุด

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากรูปอักษรหลังปัลลวะซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) กรมศิลปากร, รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถาน เมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (พระนคร : ศิวพร, 2509), 16-17.
2) ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ, “จารึกรูปพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จ. สุพรรณบุรี,” Fragile Palm Leaves (December 2545/2002) : 11-14.
3) เสฐียรพงษ์ วรรณปก, “พระเจ้าสุทโธทนะ…สมเด็จพระพุทธบิดา,” ใน พุทธสาวก พุทธสาวิกา : ประมวลประวัติพระเถระพระเถรี สมัยพุทธกาล (กรุงเทพฯ : สถาบันบันลือธรรมและธรรมสภา, 2544), 247-260.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : Fragile Palm Leaves (December 2545/2002)