พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท วัดสิมนาโก


ที่อยู่:
ต.นาโก อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ 46110
โทรศัพท์:
0-4385-1038
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ภูไทย

ชื่อผู้แต่ง: ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ | ปีที่พิมพ์: 2526

ที่มา: กรุงเทพฯ: คณะกรรมการโครงการส่งเสริมหนังสือตามแนวพระราชดำริ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท หอเย็น: วัดสิมนาโก

ชื่อผู้แต่ง: นิสิตปริญญาโทไทยคดีศึกษา ภาคพิเศษรุ่น 9 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ปีที่พิมพ์: 2541

ที่มา: มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ ชุมชน และกลุ่มชาติพันธุ์

ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: พิพิธภัณฑ์ไทยในศตวรรษใหม่. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท วัดสิมนาโก

วัดสิมนาโก สร้างในปี 2399 โดยอัญญาครูลี เหตุที่ชื่อวัดสิมนาโก เนื่องจากอัญญาครูลีได้สร้างสิมขึ้นก่อน โดยพูนสิมขึ้นสูงประมาณ 1 ศอก มีใบเสมาล้อมรอบจำนวน 28 ใบ ไม่มีหลังคาและฝาผนัง และอยู่ในหมู่บ้านนาโก จึงเรียกกันว่าวัดสิมนาโก สิมนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง จนในสมัยหลวงปู่กงเป็นเจ้าอาวาสองค์ก่อน ได้ก่อสร้างสิมด้วยอิฐผสมดินเหนียวและยางโบง สมัยโบราณเรียกว่า "ก่อปะทาย" หลังคามุงสังกะสี ปัจจุบันพระครูเมตตาคุณาภรณ์(เนียม อหีสโก) เป็นเจ้าอาวาส

"พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไทวัดสิมนาโก" จัดทำโดยชาวบ้านนาโก ร่วมกับนิสิตไทยคดี (มนุษย์) พ.9 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(มมส.) สิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีทั้งที่เป็นสมบัติเก่าแก่ของวัดและที่ได้มาจากการบริจาคของชาวบ้านผู้ไท มีอาคารจัดแสดง 2 หลัง 

อาคารหลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวด้านหน้าอาคารมีป้ายชื่อ "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไทวัดสิมนาโก" การจัดแสดง แบ่งประเภทสิ่งของไว้เป็นกลุ่มๆ เช่น ภาพเกี่ยวกับชาวผู้ไท ไหขอมเคลือบสีน้ำตาลประเภทต่างๆ ตะเกียงลานและเครื่องพิมพ์ดีดโบราณ เครื่องดนตรีพื้นบ้านแบบต่างๆ และเครื่องจักสาน เป็นต้น โดยมากแล้วสิ่งของแต่ละชิ้นจะมีคำอธิบายสั้น ๆ ติดอยู่พอให้ผู้เข้าชมทราบว่าสิ่งนี้สิ่งนั้นคืออะไร 

อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว รูปแบบของการจัดแสดงคล้ายคลึงกับอาคารหลังแรก คือจัดวางสิ่งของเป็นกลุ่ม ๆ ตามประเภทของสิ่งของ ซึ่งโดยมากจะถูกจัดแสดงไว้ในตู้กระจก ส่วนชิ้นที่ใหญ่ ๆ จะจัดแสดงอยู่เป็นกลุ่ม ๆ เช่นกัน สิ่งของที่จัดแสดงในตู้กระจก เช่น ผ้าลายขิดโบราณจำนวนมาก ซึ่งเป็นผ้านุ่งของชาวผู้ไทที่บ้านนาโก ผ้าไหมโบราณ หนังสือใบลานเรื่องอานิสงฆ์ การทำบุญต่างๆ และนิทานชาดก เหรียญเงินโบราณมีทั้งเงินฮาง-เงินฮู และเงินเหรียญแบบปัจจุบัน ธนบัตรเก่าทั้งของไทยและต่างประเทศ เปลือกหอยทะเล ภาชนะดินเผาและเครื่องถ้วยแบบต่างๆ ส่วนโบราณวัตถุชิ้นใหญ่ๆ นั้น เช่น ตู้พระไตรปิฎกโบราณ ช่อฟ้า ใบระกา ภาพแกะสลักไม้ และลายไม้ฉลุ สิ่งของโดยมากจะมีคำอธิบายสั้นๆ 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท วัดสิมนาโก เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีศักยภาพในเรื่องจำนวนสิ่งของ ขณะที่เรื่องข้อมูลของสิ่งของที่จัดแสดงยังคงเป็นข้อมูลพื้น ๆ คือ มีคำอธิบายแค่พอให้ทราบคืออะไร แต่ยังขาดการเน้นในรายละเอียดของตัวสิ่งของแต่ละชิ้นว่าได้มาอย่างไร และมีประโยชน์หรือใช้ทำอะไร ประเด็นที่สำคัญคือ พิพิธภัณฑ์นำเอาชื่อ "ผู้ไท" เป็นชื่อของพิพิธภัณฑ์ ทำให้ผู้เข้าชมอาจนึกไปได้ว่า ถ้ามาดูพิพิธภัณฑ์แล้วน่าจะได้ข้อมูลกลับไปว่า "ผู้ไท" เป็นใคร มาจากที่ไหน มาทำอะไร และอย่างไร มีรูปแบบทางวัฒนธรรมแตกต่างจากชนกลุ่มอื่นอย่างไร แต่เมื่อได้ไปชมพิพิธภัณฑ์แล้ว ข้อมูลที่ได้รับทราบเกี่ยวกับชาวผู้ไทกลับน้อยมาก นอกจากที่ได้รู้จักว่าเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านของชาวผู้ไทที่บ้านนาโกนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งเชื่อว่าพระสงฆ์ที่เป็นวิทยากร หรือชาวบ้านเองคงมีความรู้ตรงนี้มาก หากผู้ที่มาชมต้องการได้ความรู้ อาจจะต้องใช้วิธีการซักถามจากตัวบุคคลมากกว่าที่จะอ่านคำอธิบาย 

ข้อมูลจาก:
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 29 สิงหาคม 2546
2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 27 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ณ โรงแรมตักสิลา และสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช จังหวัดมหาสารคาม
3. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท หอเย็น: วัดสิมนาโก. มหาสารคาม: นางนวลออฟเซ็ท, 2541.

ชื่อผู้แต่ง:
-