โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 10/29/2543
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 07/11/2545
ที่มา: -
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 4/18/2546
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 3/19/2547
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 20/10/2551
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: จักรพันธุ์ กังวาฬ | ปีที่พิมพ์: 23,271(ก.ย.2550)หน้า48-85
ที่มา: สารคดี
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12-08-2551
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ยุทธนา เกียรติดำเนินงาม | ปีที่พิมพ์: 19-12-2551
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 23-12-2551
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 24-01-2552
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อัญชัย แวงชัยภูมิ | ปีที่พิมพ์: 2 ตุลาคม 2552
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุประวัติ ศิริลักษณ์ | ปีที่พิมพ์: 8 สิงหาคม 2554
ที่มา: บ้านเมือง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์:
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 24 มิถุนายน 2556
ชื่อผู้แต่ง: ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 54 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2558;vol. 54 No.2 April-June, 2015
ที่มา: วารสารวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 02 กรกฎาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์สิรินธร
ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าวพบชิ้นแรกเมื่อปี 2537 โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยพบท่อนกระดูกโผล่จากพื้นดินในบริเวณที่เป็นหลุมขุดค้นปัจจุบัน ต่อมาคณะสำรวจจากกรมทรัพยากรธรณีจึงได้ทำการสำรวจขุดค้นอย่างเป็นระบบ พบกระดูกไดโนเสาร์ขนาดต่างๆ เป็นกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืชมากกว่า 7 ตัว จำนวนกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น ที่สำคัญคือ พบชิ้นส่วนของหัวกะโหลก ฟันและกราม และโครงกระดูกที่เรียงรายต่อกัน เกือบจะสมบูรณ์ทั้งตัวอยู่ด้วยากลักษณะของกระดูกพบว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง ( Phuwiangosaurus sirindhornae ) 1 ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก 1 ชนิด คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลกซากกระดูกไดโนเสาร์เหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญ ที่มีคุณค่ายิ่งในด้านการศึกษาวิจัยถึงเรื่องราว ประวัติความเป็นมาในอดีตอันยาวนาน และสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของโลก ทั้งนี้เพราะไดโนเสาร์ที่พบเป็นสกุลและชนิดใหม่ของโลก ดังนั้นเพื่ออนุรักษ์แหล่งซากไดโนเสาร์ให้คงอยู่เป็นแหล่งอ้างอิงธรณีวิทยา เพื่อศึกษาวิจัยเรื่องของไดโนเสาร์ เพื่อให้เกิดพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการแหล่งใหม่ จึงได้มีโครงการนี้ขึ้น และได้สร้างอาคารวิจัยซากไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ รวมทั้งสวนไดโนเสาร์ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัย แหล่งเผยแพร่ความรู้ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจและเที่ยวชม
พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมคือศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานศึกษาวิจัย อนุรักษ์เก็บรวบรวมตัวอย่างอ้างอิงซากไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมสมัย และนำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่แก่นักท่องเที่ยวในรูปของ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ โดยในปี 2550 พิพิธภัณฑ์สิรินธรเปิดให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้าชมเป็นจำนวนมาก
พิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 8 โซน ดังนี้
โซนที่ 1 จักรวาลและโลก จักรวาล โลก สิ่งมีชีวิต รวมทั้งไดโนเสาร์ ถือกำเนิดมานานแล้ว นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาเรื่องราวที่ลึกลับนี้ นับจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือ“บิ๊กแบง ” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล การกำเนิดของจักรวาล การกำเนิดของดาวฤกษ์ และพัฒนาการของระบบสุริยะและโลก สัณฐานธรณีต่างๆ บนโลก รวมทั้งหินแต่ละก้อนต่างบันทึกหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางธรณีวิทยา ตลอดช่วงเวลา 4,600 ล้านปีที่ผ่านมาของโลก ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ไปตามลำดับอายุทางธรณีวิทยา
โซน 2 เมื่อชีวิตแรกปรากฏ จากดาวเคราะห์ร้อนจัดและปั่นป่วน อันเนื่องจากภูเขาไฟระเบิดและการพุ่งชนของอุกกาบาต โลกของเราค่อย ๆ เย็นตัวลง ทั้งบรรยากาศและน้ำช่วยนำทางไปสู่พัฒนาการของสารเคมีอันสลับซับซ้อน ซึ่งเรียกว่าชีวิต สิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มที่มีรูปร่างง่ายๆ และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของโลกด้วยการเติม ออกซิเจนสู่มหาสมุทรและบรรยากาศ จนกลายเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่
โซน 3 พาลีโอโซอิก : มหายุคแห่งวิวัฒนาการของสิงมีชีวิต 542 ล้านปีที่แล้ว สิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดการขยายเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่จากพวกที่มีรูปแบบง่ายๆ ไม่กี่ประเภท วิวัฒนาการไปสู่สิ่งมีชีวิตหลากรูปแบบ จากสัตว์ตัวอ่อนนุ่มไปสู่สัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้ม ปลาโบราณขนาดใหญ่ยาวกว่า 5 เมตร แหวกว่ายผ่านแนวปะการังมหึมาที่แผ่ไปทั้งท้องทะเลเขตร้อน สิ่งมีชีวิตบางประเภทพากันรุกคืบขึ้นบก เปลี่ยนแผ่นดินอันเวิ้งว้างว่างเปล่าให้กลายเป็นป่าทึบที่อุดมไปด้วยแมลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน ก่อนที่มหันตภัยปริศนาจะกวาดล้างสรรพชีวิตบนโลกไปจนเกือบหมดสิ้น
โซน 4.1 มีโซโซอิก: มหายุคแห่งสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์ ในช่วงปลายมหายุค พาลีโอโซอิก แผ่นทวีปทั้งหมดได้เคลื่อนมารวมกันเป็นผืนเดียว เรียกว่า “แพนเจีย” ความใหญ่โตของแผ่นดินทำให้ตอนกลางของทวีปซึ่งห่างไกลจากทะเล สภาพแห้งแล้ง เป็นทะเลทรายกว้างใหญ่ จึงเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของสัตว์เลื้อยคลานมากที่สุด หลังการสูญพันธ์ครั้งยิ่งใหญ่ตอนสิ้นสุดมหายุคพาลีโอโซอิก สัตว์เลื้อยคลานก็ก้าวขึ้นมาครองโลกในมหายุคมีโซโซอิก ที่ตามมา ไดโนเสาร์ครองความยิ่งใหญ่บนแผ่นดิน เทอโรซอร์ที่งามสง่าเป็นจ้าวเวหา สัตว์เลื้อยคลานทะเลขนาดมหึมาเป็นเจ้าสมุทร นกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก และสภาพแวดล้อมบนโลกก็ทวีความหลากหลายยิ่งกว่าครั้งใดๆ พืชดอกช่วยแต่งเติมสีสันแก่ป่าผืนกว้างที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดจิ๋ว ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต้องใช้ชีวิตหลบๆ ซ่อนๆ จากคมเขี้ยวของไดโนเสาร์
โซน 4.2 ไดโนเสาร์ไทย มหายุคมีโซโซอิก แผ่นดินที่ปัจจุบันเป็นประเทศไทย เป็นแหล่งอาศัยของไดโนเสาร์นานาชนิด นับตั้งแต่พวกกินเนื้อขนาดใหญ่หรือเทอโรพอดที่เป็นญาติสนิทของ ไทรันโน ซอรัส เร็กซ์ พวกกินพืชคอยาวหรือซอโรพอด ซึ่งหนักกว่าช้างหลายตัวรวมกัน ไปจนถึงไดโนเสาร์ปากนกแก้วตัวจิ๋ว การศึกษาอย่างต่อเนื่องทำให้เราเข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างไดโนเสาร์กลุ่ม ต่างๆ ทั้งพวกสะโพกแบบนกและสะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน และตระหนักว่าไดโนเสาร์ไทยมีคุณูปการต่อความเข้าใจเรื่องวิวัฒนาการของ ไดโนเสาร์ในระดับโลกมากเพียงใด
โซน 5 วิถีชีวิตไดโนเสาร์ การค้นพบข้อมูลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้เราเข้าใจถึงเรื่องราวในมุมลึกของไดโนเสาร์ นอกจากจะล่วงรู้ถึงรูปร่างของไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ แล้วยังช่วยให้เข้าใจเรื่องการกินอาหาร การล่าเหยื่อ การป้องกันตัวและการเลี้ยงลูกอ่อน อีกทั้งยังช่วยให้เราเห็นภาพไดโนเสาร์ที่มีชีวิตชีวามากขึ้น และดื่มด่ำกับความอัศจรรย์ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ยิ่งใหญ่กลุ่มนี้ได้อย่าง แท้จริง นอกจากนี้หลักฐานใหม่ๆ ยังบ่งชี้ว่าไดโนเสาร์อาจไม่ได้สูญพันธุ์ไปทั้งหมด
โซน 6 คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์ ไดโนเสาร์สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ และสิ่งมีชีวิตหลายประเภท ในมหายุคมีโซโซอิกสูญพันธ์ไปในมหันตภัยปริศนาเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว แต่นักโบราณชีววิทยาซึ่งทำงานศึกษาอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์อยู่ตามสถาบันต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งที่ภูกุ้มข้าวแห่งนี้ ได้ช่วยกันฟื้นชีวิตและสร้างความหมายให้แก่ซากดึกดำบรรพ์เพื่อนำเราย้อนกลับ ไปสัมผัสกับยุคที่ไดโนเสาร์เป็นใหญ่
โซน 7 ซีโนโซอิก: มหายุคแห่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลังการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่เหลืออยู่ต้องหลีกทางให้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ทวีเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็วและพากันเข้ายึดครองภูมิประเทศกันหลากหลาย ทั้งทุ่งหญ้า ป่าทึบ ท้องทะเลและในอากาศ นี่คือโลกที่เราคุ้นเคยดีเพราะยังมีทายาทของช้าง ม้า แรด วาฬ ค้างคาว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหลักๆ ให้เห็นเป็นตัวอย่างของวิวัฒนาการขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วง 65 ล้านปี ที่ผ่านมาแม้แต่มนุษย์เองก็เป็นผลผลิตจากกระบวนการนี้
โซน 8 เรื่องของมนุษย์ จาก “ไพรเมต” หรือสัตว์ในตระกูลลิง ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ได้แยกตัวเองออกจากเผ่าพันธุ์ลิงใหญ่เมื่อประมาณ 6-7 ล้านปี ที่แล้ว และเริ่มวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์ที่เดิน 2 ขา และอาศัยบนพื้นดิน แต่ความโดดเด่นของมนุษย์อยู่ที่การพัฒนาการทางสมอง และภูมิปัญญาที่มีความฉลาดกว่าสัตว์ประเภทอื่น ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ตั้งแต่ขวานหินไปจนถึงคอมพิวเตอร์
ข้อมูลจาก: http://www.dmr.go.th/sirindhorn/fossil_sirinthorn_museum.htm [accessed 20081106]
คลิกอ่านบทความ "ท่องโลกไดโนเสาร์ ณ ภูกุ้มข้าว" โดยอัญชัย แวงชัยภูมิ จาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
คลิกอ่านกระทู้ "Inside พิพิธภัณฑ์สิรินธร : ตามไปดูห้องแลปไดโนเสาร์" จากPantip.com
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
อัศจรรย์อีสาน ถิ่นไดโนเสาร์อันน่าทึ่ง
แม้“ไดโนเสาร์”จะสูญพันธุ์จากโลกนี้ไป 65 ล้านปีแล้วก็ตาม แต่ไดโนเสาร์ยังคงเป็นสัตว์ที่มนุษย์เราทุกวันนี้รู้จักกับมันเป็นอย่างดี ปานประหนึ่งว่าเจ้าสัตว์โลกล้านปีที่เป็นเจ้าโลกเมื่อครั้งอดีตกาลยังคงอยู่คู่กับยุคสมัย ยังไม่ได้ล้มหายตายไปจากโลกของเรา ทำให้วันนี้เรื่องราวของไดโนเสาร์ยังคงมีการถ่ายทอดนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ ภาพยนตร์ การ์ตูน สารคดี ในขณะที่เหล่านักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ วันนี้พวกเขายังคงเดินหน้าขุดหาซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ขึ้นมาศึกษาค้นคว้าอย่างไม่หยุดหย่อนพิพิธภัณฑ์สิรินธร (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว)
พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยเริ่มต้นจากการสะสมและจัดแสดง ทั้งวัตถุซึ่งประดิษฐ์โดยมนุษย์และสิ่งของที่เป็นตัวอย่างธรรมชาติ อันเป็นพื้นฐานสองประเภทหลักของพิพิธภัณฑ์ในโลกตะวันตก ซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดประเภทพิพิธภัณฑ์ไว้กว้างๆ เป็นสองประเภท คือ ด้านศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติวิทยา แต่ดูเหมือนว่าแนวทางของงานพิพิธภัณฑ์ที่ไทยเลือกจะพัฒนาในเวลาต่อมา คือการให้ความสำคัญท่องโลกไดโนเสาร์ ณ ภูกุ้มข้าว
กาฬสินธุ์ เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ใครที่มาถึงเมืองน้ำดำแห่งนี้ มีสถานที่แห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาด พิพิธภัณฑ์สิรินธรและแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เดิมคือศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว อยู่บริเวณเชิงเขาภูกุ้มข้าว วัดสักกะวัน อ.สหัสขันธ์ เป็นแหล่งรวบรวมโครงกระดูกไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปีไว้หลากหลายสายพันธุ์ เล่ากันว่าเมื่อ พ.ศ.2513 พระครูวิจิตรสหัสคุณเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ได้พบกระดูกชิ้นใหญ่ในบริเวณวัด แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นกระดูกอะไรจึงนำมาเก็บรักษาไว้ที่วัดดูไดโนเสาร์ พิพิธภัณฑ์“สิรินธร” แล้วย้อนดู“ฅน”
...ฮะจ๊าก!!! โตะใจโหมะเลย(ตกใจหมดเลย)... แม้ตัวผมจะอุ่นเครื่องนวดอารมณ์ให้รอยหยักของสมองซึมซับรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในเมืองไทยที่หลุมขุดค้นวัดสักกะวัน พร้อมเดินชมหุ่นจำลองไดโนเสาร์หลายตัวจากหลายพันธุ์ที่สนามหน้า“พิพิธภัณฑ์สิรินธร”(ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์)ไปพอหอมปากหอมคอ แต่เมื่อ 1 มือ ล้วงกระเป๋า(กล้อง) 2 เท้าก้าวย่างเข้าสู่ภายในโถงห้องแรกของพิพิธภัณฑ์สิรินธร แล้วเจอ(หุ่น)เจ้า“สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส” ยืนอ้าปากแยกเขี้ยวทำหน้าถมึงทึงต้อนรับเหล่านักท่องเที่ยวที่เข้าไปเยือนในพิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้มันก็ทำให้ผมอดสะดุ้งโหยงไม่ได้แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ธรรมชาติวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์ ธรณีวิทยา
พิพิธภัณฑ์วัดกลางกาฬสินธุ์
จ. กาฬสินธุ์
พิพิธภัณฑ์ศพ วัดป่ามัชฌิมวาส
จ. กาฬสินธุ์
พิพิธภัณฑ์วัดสว่างโนนสูง
จ. กาฬสินธุ์