พิพิธภัณฑ์ชัยศีลพุทธภิรักษ์ วัดพระนอนหนองผึ้ง


พิพิธภัณฑ์ชัยศีลพุทธภิรักษ์ วัดพระนอนหนองผึ้ง หรือชื่อเดิมพิพิธภัณฑ์ชัยศีลวิมล (เวียงกุมกามนุรักษ์) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยพระครูชัยศีลวิมล เจ้าคณะอำเภอสารภีปัจจุบัน ให้ศรัทธาคือ นางกว้าง เกิดศรี เป็นผู้ถือกุญแจ โดยเจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือ พระอธิการฉลองชัย อาภัสสโร ยังไม่ได้สานต่อในส่วนพิพิธภัณฑ์ อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารเอกเทศชั้นเดียวตั้งใจสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เนื้อที่จัดแสดงประมาณ 120 ตารางเมตร ภายในเป็นตู้เก่าโบราณจัดแสดงวัตถุประมาณ 5 ตู้ จัดแสดงเศษชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผาที่ได้จากเวียงกุมกาม ภายนอกอาคารเป็นศาลาโถง จัดวางของชิ้นใหญ่ๆ เช่น รูปจำลองเจดีย์ทำด้วยหินทราย เศียรพระพุทธรูป ฐานพระพุทธรูปชิ้นส่วนองค์พระพุทธรูป หินทราย ส่วนหน้าตักมาตรหิน ครกหิน ไหหิน จำพวกไม้แกะสลัก สัตตภัณฑ์รูปพญานาค ไม้แกะสลักประดับประดากระจกจีน นอกจากนั้นยังมีเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ขันโตกไม้ แผ่นทองจังโก เป็นต้น อย่างไรก็ดีต่อมาในปี พ.ศ. 2557 กรมศิลปากรได้เข้ามาช่วยปรับปรุงพิพิธภัณฑ์และการจัดแสดงใหม่ ภายใต้โครงการเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปลี่ยนชื่อพิพิธภัณฑ์เป็นพิพิธภัณฑ์ชัยศีลพุทธภิรักษ์

ชื่อเรียกอื่น:
พิพิธภัณฑ์ชัยศีลวิมล (เวียงกุมกามนุรักษ์) วัดพระนอนหนองผึ้ง
ที่อยู่:
วัดพระนอนหนองผึ้ง หมู่ 1 ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140
วันและเวลาทำการ:
กรุณานัดหมายล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2503
ของเด่น:
โบราณวัตถุจากเวียงกุมกาม อาทิ พระพิมพ์ดินเผา เศียรพระพุทธรูป
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เปิดพิพิธภัณฑ์ชัยศีลพุทธภิรักษ์ ศิลปสมัยล้านนาที่เชียงใหม่

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 14 พ.ค. 2557;14-05-2014

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 15 พฤษภาคม 2557

ตะลุยเที่ยว "เวียงกุมกาม" นครใต้ดินที่มีตำนาน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2/6/2546

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตำนานพระบรมธาตุและประวัติศาสตร์ วัดกู่คำหลวงกุ๋มภรามวังต๋านเหนือนครเจียงใหม่

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: พ.ศ.2532

ที่มา: ฉบับพิเศษ พิมพ์ทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพฯ 27/11/2532

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ใต้พิภพมีตำนานที่ "เวียงกุมกาม"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/30/2546

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ปั้นแค่ 1 ปี-แม่ยกดี-น้ำเลี้ยงถึง สินค้าใหม่ทฤษฎีใหม่ที่เวียงกุมกาม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2/20/2547

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เวียงกุมกาม เส้นขนานของการอนุรักษ์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 6/5/2546

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อิทธิฤทธิ์คุณนายแดงแห่งเวียงกุมกาม อัดไปแล้ว 100 ล. ฟื้นนครโบราณใต้ดิน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 11/14/2545

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ชัยศีลพุทธภิรักษ์มรดกเก่า เวียงกุมกาม ณ วัดพระนอนหนองผึ้ง

ชื่อผู้แต่ง: นิวัตร ธาตุอินจันทร์ | ปีที่พิมพ์: 6 ธ.ค. 2557;06-12-2014

ที่มา: หนังสือพิมพบ้านเมือง

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 08 ธันวาคม 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ชัยศีลวิมร (เวียงกุมกามนุรักษ์) วัดพระนอนหนองผึ้ง

พิพิธภัณฑ์ชัยศีลวิมล (เวียงกุมกามนุรักษ์)จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยพระครูชัยศีลวิมล เจ้าคณะอำเภอสารภีปัจจุบัน ให้ศรัทธาคือ นางกว้าง เกิดศรี เป็นผู้ถือกุญแจ โดยเจ้าอาวาสองค์ใหม่คือ พระอธิการฉลองชัย อาภัสสโร ยังไม่ได้สานต่อในส่วนพิพิธภัณฑ์ ซึ่งปิดตายเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 จนถึงปัจจุบัน อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารเอกเทศชั้นเดียวตั้งใจสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เนื้อที่จัดแสดงประมาณ 120 ตารางเมตร ภายในเป็นตู้เก่าโบราณจัดแสดงวัตถุประมาณ 5 ตู้ จัดแสดงเศษชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผาที่ได้จากเวียงกุมกาม ภายนอกอาคารเป็นศาลาโถง จัดวางของชิ้นใหญ่ๆ เช่น รูปจำลองเจดีย์ทำด้วยหินทราย เศียรพระพุทธรูป ฐานพระพุทธรูปชิ้นส่วนองค์พระพุทธรูป หินทราย ส่วนหน้าตักมาตรหิน ครกหิน ไหหิน จำพวกไม้แกะสลัก สัตตภัณฑ์รูปพญานาค ไม้แกะสลักประดับประดากระจกจีน นอกจากนั้นยังมีเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ขันโตกไม้ แผ่นทองจังโก เป็นต้น

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 271.
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ชัยศีลพุทธภิรักษ์มรดกเก่า เวียงกุมกาม ณ วัดพระนอนหนองผึ้ง

วัด นอกจากเป็นศาสนสถานสำคัญที่พึ่งทางใจให้แก่ศาสนิกชนแล้ว วัดยังเป็นศูนย์กลางของประชาชนในชุมชน/หมู่บ้าน เป็นโรงเรียนสอนธรรมะ และสอนทางโลกแก่ผู้คน ตลอดถึงเป็นที่รวมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และการแสวงหาความร่วมมือต่างๆ มาตั้งแต่อดีตหลายร้อยปีมาแล้ว ภายในวัดจึงเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ให้ศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะวัดที่มีการเก็บวัตถุโบราณเอาไว้อย่างมั่นคง และยังเป็นสถานที่กลางสำหรับการบริจาค ถวายทาน หรือยกให้ซึ่งโบราณวัตถุ สิ่งของมีค่าทั้งหลาย ที่สาธุชนเห็นว่าเป็นสถานที่กลางของส่วนรวม ดังนั้น จึงเกิด “พิพิธภัณฑ์ของวัด”
ชื่อผู้แต่ง:
-

ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง