วัดพระนอนหนองผึ้ง


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ชื่ออื่น : วัดหนองผึ้ง

ที่ตั้ง : 205 ม.4 ต.หนองผึ้ง อ.สารภี

ตำบล : หนองผึ้ง

อำเภอ : สารภี

จังหวัด : เชียงใหม่

พิกัด DD : 18.738361 N, 99.012674 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

วัดพระนอนหนองผึ้งตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของถนนเชียงใหม่ – ลำพูน (ถนนสายต้นยาง) ระหว่าง ก.ม.6 ปากทางเข้าวัดจะมีซุ้มป้ายชื่อของวัด

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

วัดพระนอนหนองผึ้งเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ และมีประเพณีนมัสการสรงน้ำปิดทองพระนอนในวันเพ็ญเดือนแปดเหนือของทุกปี พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวสามารถเข้าสักการะและเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

วัดพระนอนหนองผึ้ง

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

วัดพระนอนหนองผึ้ง เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา สิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเวียงกุมกาม ห่างจากแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันออกประมาณ 2.5 กิโลเมตร

บริเวณโดยรอบวัดแวดล้อมด้วยบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและเรือกสวนของชุมชน ยกเว้นในเขตพื้นที่ด้านนอกวัดทางทิศตะวันตกเป็นที่ลุ่มต่ำทำนา

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

304 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำปิง

สภาพธรณีวิทยา

เป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ถูกทับถมด้วยตะกอนที่เป็นทรายและหินกรวด ในสมัยโฮโลซีน

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยล้านนา

อายุทางตำนาน

พุทธศตวรรษที่ 19

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

วัดพระนอนหนองผึ้ง มีตำนานกล่าวถึงในอดีตบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวลัวะ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ได้มีพระมหาเถระเจ้าจำนวน 5 รูปธุดงค์มาถึง ชาวลัวะจึงได้นำรังผึ้งจากต้นมะขามริมสระน้ำใกล้หมู่บ้านมาถวายพร้อมสร้างขึ้นเป็นวัดชื่อว่า วัดหนองผึ้ง จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 19 มีพระมหาเถระเจ้าพร้อมด้วยเศรษฐีจากเมืองเชียงแสนได้มาบูรณะเจดีย์ขึ้นใหม่ รวมถึงสร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์และพระพุทธรูปปางมารวิชัย ครั้นต่อมาภายหลังที่พญามังรายได้สร้างเวียงกุมกามแล้ว ได้รวมเอาวัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของเวียงกุมกาม และมีประเพณีนมัสการสรงน้ำปิดทองพระนอนในวันเพ็ญเดือนแปดเหนือทุกๆ ปีสืบตลอดมา

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญ

1. เจดีย์ ตั้งอยู่ระหว่างวิหารพระนอนและอุโบสถ ลักษณะเป็นเจดีย์ขนาดเล็กทรงระฆังที่ได้รับการซ่อมปฏิสังขรณ์แล้ว ส่วนฐานเป็นแบบเขียงตอนล่าง เหนือขึ้นมาเป็นชั้นปัทม์ย่อเก็จรองรับส่วนมาลัยเถาแบบย่อเก็จแปลง องค์ระฆังขนาดเล็ก ไม่มีส่วนบัลลังก์ ปล้องไฉนทรงกรวยคว่ำแต่ละปล้องต้องมีขนาดใหญ่ ต่อเหนือขึ้นไปด้วยชั้นบัวกลุ่มแบบพม่า และส่วนปลียอดประดับฉัตรโลหะ

2. อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาหน้าจั่วมีปีกนก 2 ข้าง สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ด้านหน้ามีสิงห์ปูนปั้นอยู่ 1 คู่ ส่วนซุ้มโขงประตูทางเข้าปรากฏลวดลายปูนปั้นในศิลปะพม่า สันนิษฐานว่าอาจได้รับการซ่อมแซมบูรณะในช่วงรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา

3. พระนอนหนองผึ้ง หรือพระพุทธรูปป้านปิง ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ขนาดความยาว 19 เมตร

ตำนานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

ตำนานพระเจ้าเลียบโลก กล่าวถึงเรื่องของการสร้างของพระนอนหนองผึ้ง

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ชัยวัฒน์ ศิริซุ้มสุวรรณ

บรรณานุกรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี