พิพิธภัณฑ์แหล่งเตาเผาอินทขิลเมืองแกน


แหล่งเตาเผาอินทขิล เป็นแหล่งเตาเผาที่มีความสำคัญอย่างมาก ทั้งทางด้านวิชาการ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตถ้วยชามที่มีมากถึง 4 แห่ง ซึ่งจากการขุดค้นแหล่งเตาเผาในภาคเหนือตอนบนยังไม่เคยพบแหล่งใดมีความสมบูรณ์เช่นแหล่งนี้มาก่อน จึงมีการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณคดี เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจได้มาเรียนรู้และเที่ยวชม

ที่อยู่:
บ้านสันป่าตอง หมู่ที่ 11 ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์:
0-5385-7360 ติดต่อเทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2549
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์แหล่งเตาเผาอินทขิลเมืองแกน

เมืองแกนมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานหลายร้อยปีซึ่งเป็นชุมชนโบราณก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านนาตั้งแต่สมัยพญามังรายครองเมืองเชียงใหม่(พ.ศ.1801– พ.ศ.1854) ผู้คนในล้านนาสมัยนั้นสร้างสรรค์วัฒนธรรม อารยธรรม วัดวาอาราม กำแพงเมืองคูโบราณ สิ่งก่อสร้างต่างๆคิดค้นเทคโนโลยี ผลิตศิลปกรรม วรรณกรรม และ หัตกรรมต่างๆ ทิ้งไว้เป็นหลักฐานทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์อันเป็นมรดกของดินนี้มากมาย บริเวณเมืองแกนนี้มีที่ราบที่กว้างขวางซึ่งประชาชนเรียกพื้นที่ราบนี้ว่า
 
“ทุ้งชิ้นแห้ง”ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยให้เห็นภาพกว้างใหญ่ของพื้นที่ราบนี้ว่า“ขนาดที่หาบเนื้อสดผ่านทุ่งนี้กว่าจะถึงอีกฟากหนึ่งเนื้อสดก็กลายเป็นเนื้อแห้งพอดี”
 
จากการค้นพบแหล่งเตาเผาโบราณบริเวณพื้นที่ ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่พบว่าเป็นแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยชาม (ceramic kilm sites) ซึ่งเป็นแหล่งใหม่ล่าสุดที่ค้นพบและศึกษา อันเป็นหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์สำคัญของประเทศไทย และยังเป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ของ   ล้านนามีอายุระหว่าง 500-600 ปี หลักฐานที่พบส่วนใหญ่เป็นเครื่องถ้วยชามที่เป็นถ้วยชามเนื้อแกร่ง เคลือบสีเขียวอ่อน หรือ เซลาดล หรือ ศิลาดล(light green glazed stoneware/celadon ware) และชนิดเคลือบสีน้ำตาล(greenish brown glazed stoneware) โดยใช้ดินสีขาวคุณภาพเยี่ยมเทียบได้กับเครื่องถ้วยชามสังคโลกของ ศรีสัชนาลัย และเครื่องถ้วยชามที่ผลิตจากเตาพาน จังหวัดเชียงราย   ที่สำคัญยังพบชิ้นส่วนภาชนะดินดิบ  (pre-fired ceramic) ปั้นจากดินสีขาว ซึ่งยังไม่เคยพบ ณ แหล่งเตาโบราณที่ใดมาก่อนในประเทศไทย อันเป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีที่จะช่วยให้ทราบถึงกระบวนการ และขั้นตอนการผลิตเครื่องถ้วยชามของล้านนาได้เป็นอย่างดีด้วย
 
แหล่งเตาอินทขิลเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญอย่างมาก ทั้งทางด้านวิชาการโบราณคดี และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอาณาจักรล้านนา เพราะเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยชามในอดีตแหล่งใหม่ที่มีความสมบูรณ์ทั้งเตาเผา และตัวอย่างเศษถ้วยชามที่มีมากถึง 4 แห่ง ซึ่งจากการขุดค้นแหล่งเตาเผาในภาคเหนือตอนบนยังไม่เคยพบแหล่งใด ที่มีความสมบูรณ์สวยงามเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นจึงมีการสนับสนุนให้อนุรักษ์และพัฒนาเป็นศูนย์การศึกษาเทคโนโลยี การผลิตเครื่องถ้วยชามโบราณของล้านนา รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในรูปแบบของ พิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณคดี(Archaeological Site-Museum) เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจได้แวะไปเที่ยวชมในขณะที่มีการศึกษาสำรวจทางโบราณคดีก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง 
 
ข้อมูลจาก
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550หน้า34
http://www.muangkaen.org/04-location_map1.php[accessed 20070213]
ชื่อผู้แต่ง:
-