พิพิธภัณฑ์วัดอินทขีลสะดือเมือง


จัดตั้งโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่(อบจ.เชียงใหม่) โดยปรับปรุงอาคารเก่าซึ่งเคยเป็นหอประชุมติโลกราช นำเสนอประวัติศาสตร์และศิลปะท้องถิ่น โดยเฉพาะการรวบรวมเรื่องราวในยุคทองของเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช จัดแสดงภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้าน บุคคลสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ในรูปแบบประติมากรรมหรือรูปปั้นเหมือนจริง มีแบบจำลองเรื่องราวพื้นบ้านอันหลากหลาย เช่น การฟ้อนผี พิธีรดน้ำดำหัวพญามังราย ตำนานพระแก้วมรกต การบวชลูกแก้ว กาดหมั้ว ตลอดจนแสดงถึงวิธีการลงโทษเฆี่ยนตี ตัดคอ และยังจัดแสดงหุ่นจำลองพระสงฆ์ เกจิอาจารย์ชื่อดังของล้านนา อาทิ ครูบาเจ้าศรีวิชัย หลวงปู่แหวนสุจิณโณ หลวงปู่หล้าตาทิพย์ หลวงพ่อเกษม เขมโก และมีการเปลี่ยนชื่อพิพิธภัณฑ์ จาก "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่" เป็น “พิพิธภัณฑ์วัดอินทขีลสะดือเมือง” ในปีพ.ศ. 2551

ชื่อเรียกอื่น:
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
ที่อยู่:
วัดอินทขีลสะดือเมือง 13 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์:
086-731-3668
วันและเวลาทำการ:
ทุกวัน 08.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2546
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ประติมากรรม เล่าเรื่องยุคทองของล้านนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่

ชื่อผู้แต่ง: ธรรมศักดิ์ พึ่งตนเพียร | ปีที่พิมพ์: 2/20/2547

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นโดยการปรับปรุงอาคารเก่าซึ่งเคยเป็นหอประชุมติโลกราช โดยได้รับการสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เริ่มต้นคือรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปะท้องถิ่น การละเล่นพื้นบ้านมาจัดแสดง รวมทั้งบุคคลสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ในรูปแบบประติมากรรมหรือรูปปั้นเหมือนจริง มีแบบจำลองเรื่องราวพื้นบ้านอันหลากหลาย เช่น การฟ้อนผีพิธีรดน้ำดำหัวพญามังราย ตำนานพระแก้วมรกต การบวชลูกแก้ว กาดหมั้นตลอดจนแสดงถึงวิธีการลงโทษเฆี่ยนตี ตัดคอ 
 
นอกจากนั้นชั้นที่สองของพิพิธภัณฑ์ยังได้มีการจัดแสดงหุ่นจำลองพระสงฆ์  เกจิอาจารย์ชื่อดังของล้านนา ได้แก่ ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่แหวนสุจิณโณ หลวงปู่หล้าตาทิพย์ หลวงพ่อเกษม เขมโก 
 
นอกจากนี้บริเวณชั้นสองได้มีการรวบรวมเรื่องราวในยุคทองของเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช สำหรับ คำว่า ติโลกราช นั้นคือพระนามของพระมหากษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์มังราย เรื่องราวของพระเจ้าติโลกราชถูกเล่าไว้ด้วยประติมากรรมลอยตัว และอีกส่วนอยู่บนฝาผนัง ทำเป็นภาพนูนต่ำขนาดใหญ่ โดยมีอาจารย์ภัทรา ผดงสุนทรารักษ์ เป็นผู้สร้างประติมากรรมดังกล่าว                
 
การนำเสนอนั้นใช้รูปแบบการปั้นรูปเล่าเรื่อง โดยได้มีค้นคว้าทั้งในประวัติศาสตร์ พงศาวดาร รวมทั้งเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในอดีต ผสมผสานจินตนาการออกมา แม้กระทั่งสีสันของ ผ้าซิ่น ซึ่งมีลายงดงามของเสื้อผ้าชาวบ้านนั้นก็ใกล้เคียงความเป็นจริง
 
การนำเสนอจัดแบ่งการแสดงออกเป็น 12 องก์ คือการโหมโรง ภาพก่อนขึ้นครองราชย์ ขึ้นครองราชย์ บุคคลสำคัญในยุคสมัยพระเจ้าติโลกราช  แผนที่สมัยอาณาจักรล้านนารุ่งเรือง สงครามล้านนากับอยุธยา การขยายอาณาเขต จารชนเศรษฐกิจ ตลอดจนภาชนะของใช้โบราณ และองก์สุดท้ายเป็นการแสดงแม่แบบลวดลาย สถาปัตย์ในสมัยนั้น  สมัยนั้นพุทธศาสนาก็มีความเจริญสูงสุด อันนำมาสู่การจัดสังคายนาพระไตรปิฎกในปี พ.ศ.๒๐๒๐ ณ วัดมหาโพธาราม(วัดเจ็ดยอด) นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๘ ของโลก ทรงสร้างวัดวาอารามหลายแห่ง อาทิ วัดมหาโพธาราม วัดราชมณเฑียร บูรณะต่อเติมเจดีย์หลวง แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตจากวัดพระธาตุลำปางหลวง มาประดิษฐานไว้ที่องค์พระเจดีย์หลวง
 
ภาพในจินตนาการอาจารย์ภัทรา ได้ปั้นช้างขนาดเท่าตัวจริง สีขาว บนหลังช้างมีพระแก้วมรกตจำลองจากองค์จริง มิได้ทรงเครื่องห่มจีวร มาประดิษฐานไว้อย่างดงามที่กลางห้องโถง
 
ข้อมูลจาก : http://www.matichon.co.th/adm/tour/template1.php?idn=&selectid=1776&sid=&select=
 
หมายเหตุ ปัจจุบัน(2554)อยู่ในระหว่างการปรับปรุง
ชื่อผู้แต่ง:
-