พิพิธภัณฑ์เล่นได้ เป็นการดำเนินการอีกรูปแบบหนึ่งของกลุ่มคนเฒ่าคนแก่บ้านป่าแดด ที่ต้องการให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของท้องถิ่น ผ่านการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการทำของเล่นพื้นบ้านในแต่ละยุคสมัยให้แก่เด็กและผู้ที่สนใจ พิพิธภัณฑ์หลายแห่งมักจะห้ามจับสิ่งของ ห้ามนำอาหารเข้าไป แต่พิพิธภัณฑ์เล่นได้ถอดกติกาเหล่านั้นหมดสิ้น ให้ทุกคนได้เรียนรู้ผ่านการเล่นทางรูป รส กลิ่น สี เสียง และการสัมผัส ภายในพิพิธภัณฑ์มีของเล่นพื้นบ้านและของเล่นที่คิดประดิษฐ์ใหม่มากมายจัดแสดง และสามารถหยิบจับทดลองเล่นได้ทุกชิ้น พร้อมชื่อเรียกและคำอธิบายแบบง่าย อ่านสนุก บอกที่มาที่ไป วิธีการใช้ และแฝงความหมายที่มากกว่าของเล่น ที่ล้วนสะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงในสังคม พื้นที่ส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้แบ่งเป็นร้านขายของผลิตภัณฑ์จากชุมชน (หมายเหตุ: เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการขอใช้พื้นที่เดิม ปี 2560 คณะผู้จัดทำพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายที่ทำการไปที่แห่งใหม่ ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก โดยใช้ชื่อว่า "โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้"
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/2/2547
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ | ปีที่พิมพ์:
ที่มา: วีซีดี 1 แผ่น: กลุ่มคนเฒ่าคนแก่
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ | ปีที่พิมพ์:
ที่มา: วีซีดี 1 แผ่น: กลุ่มคนเฒ่าคนแก่
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วีรวัฒน์ กังวานนวกุล, วีระพงษ์ กังวานนวกุล และจริยา ติยัพเสน | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: เชียงราย: กลุ่มคนเฒ่าคนแก่
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: รุ่งนภา สุขมล | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข(สรส.)
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 29-07-2551
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: SUPAWADEE INTHAWONG | ปีที่พิมพ์: 18/12/2008
ที่มา: Bangkok Post
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วีรพงษ์ กังวานนวกุล | ปีที่พิมพ์: 2544;2001
ที่มา: สารคดี:ฉบับที่ 193 มีนาคม 2544
แหล่งค้นคว้า: ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
โดย: ศมส.
วันที่: 04 มีนาคม 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์? – เล่นได้?
หมายเหตุ: ใน ปี 2560 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการใช้พื้นที่ดำเนินการ พิพิธภัณฑ์เล่นได้จึงปิดตัวลง และได้ย้ายไปยังสถานที่ใหม่ ไม่ไกลจากเดิม โดยใช้ชื่อ "โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้"
----------------
พิพิธภัณฑ์เล่นได้ บ้านป่าแดด แหล่งเรียนรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านจากคนเฒ่าคนแก่ ที่ใช้ “ของเล่น” เป็นสิ่งที่บอกถึงสังคม วัฒนธรรมพื้นบ้าน และความสมบูรณ์ของป่า
จุดเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์เล่นได้ เริ่มจากอาคารเปล่าๆ ในที่ดินของวัดป่าแดด ที่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ งบประมาณในการก่อสร้างได้จากองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดด แต่ก่อนที่จะเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์เล่นได้ในทุกวันนี้ คุณวีระพงษ์ กังวานนรกุล (พี่เบิ้ม) ผู้ก่อตั้งกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ที่สนใจของเล่นพื้นบ้าน ได้ร่วมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนเฒ่าและเด็กภายในชุมชน กับคุณวีรวัฒน์ กังวานนรกุล (พี่ปุ๊) ทำให้คนเฒ่าคนแก่มีกิจกรรมและบทบาทในครอบครัวมากขึ้น รวมทั้งยังสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญา แนวคิดต่างๆ ผ่านของเล่นให้แก่เด็กๆ
พี่ปุ๊เล่าว่า พี่ปุ๊เป็นคนต่างถิ่น ตอนเข้ามาในชุมชนป่าแดดแรกๆ ไม่ได้มาบ้านป่าแดดเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ แต่มาหาคุณค่าในชีวิต สร้างชุมชนในอุดมคติ แรกเริ่มทำประเด็นสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูป่า และเริ่มเข้าไปหาผู้คนเฒ่าคนแก่ เพื่อผูกมิตรและสร้างความไว้ใจ จากนักสังเกตการณ์ในสังคมผู้สูงอายุ ทำให้เห็นปัญหาเด็กเล่นเกมส์ เด็กแย่งของ เด็กทะเลาะกัน จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า...แล้วเมื่อก่อนเด็กเล่นอะไรกันล่ะ? ของเล่นดีๆ ก็มีราคาสูง ของเล่นถูกๆ ก็อันตราย มีสารปนเปื้อน และได้พบคำตอบว่า...เมื่อก่อนคนทำของเล่นเล่นกันเอง
ส่วนพี่เบิ้มจากความสนใจส่วนตัวเรื่องของเล่นพื้นบ้าน พี่เบิ้มจึงนำของเล่นไม้ไผ่ของคนญี่ปุ่นมาให้คนเฒ่าคนแก่ดู และพบว่าคนเฒ่าคนแก่มีความรู้ในการทำของเล่นพื้นบ้าน ทำให้เกิดความตั้งใจที่จะรวบรวมของเล่นพื้นบ้าน และจัดตั้งเป็นกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ขึ้น แต่ความยากคือ คนเฒ่าคนแก่ไม่ได้ทำมานานแล้ว วัตถุดิบก็ไม่มี วิธีการทำก็จำไม่ค่อยได้ ต้องมารื้อฟื้น ซึ่งกว่าจะได้ของเล่นมาแต่ละชิ้น ต้องใช้วิธีการชวนคุย
ของเล่นชิ้นแรกที่ทำขึ้นมา คือ “แมลงปอ” ทำจากแขนงไม้ไผ่ ตัดแต่งรูปร่างตามจินตนาการ เพื่อใช้บอกเล่าวงจรชีวิตของแมลงปอ ชิ้นที่สอง “ลูกข่างสตางค์” สมัยก่อนใช้สตางค์มีรูมาทำลูกข่างให้เด็กๆ เล่น แต่ปัจจุบันสตางค์ไม่มีรูเลิกใช้แล้ว จึงเปลี่ยนมาใช้ไม้หรือลูกสะบ้าแทน ต่อมา “จานบิน หรือ คอปเตอร์ไม้ไผ่”ของเล่นที่สามารถทะยานขึ้นฟ้าได้ และเป็นของเล่นชิ้นโปรดของเด็กๆ
แรกๆ เด็กๆ ไม่เล่น เพราะรู้สึกว่าของเล่นพื้นบ้านเหล่านี้เชย แต่เมื่อเล่นจากส่วนเล็กๆ ก็กลายเป็นส่วนใหญ่ รายการทุ่งแสงตะวันมาขอทำรายการ และทำให้เกิดกระแสเรื่องของเล่นพื้นบ้าน พี่เบิ้มและพี่ปุ๊เริ่มสนุก จึงได้ขอทุนจากองค์กรต่างๆ มาทำงาน เกิดเป็นเครือข่าย เกิดความร่วมมือ มีกิจกรรมหลากหลายให้คนเฒ่าคนแก่เข้ามามีส่วนร่วม และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ มีการวางแผน มีการนำเงินทุนที่เก็บไว้ไปดูงาน โดยเชื่อว่ากระบวนการดูงานมีประโยชน์ สามารถเปิดมุมมองให้มีแนวคิดร่วมกัน แล้วอยากจะทำงาน และเริ่มปรับการนำเสนอหลายๆ อย่างในพิพิธภัณฑ์ เชื่อว่าการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีประโยชน์ นำไปสู่จัดรูปแบบการนำเสนอการเรียนรู้ผ่านการเล่น รูป รส กลิ่น สี เสียง และการสัมผัส โดยประกาศเป็นพื้นที่สีขาว ปลอดภัย ไม่มีความรุนแรง ไม่มีข้อห้าม แต่มีกติกากำหนดโดยเด็กๆ สร้างเด็กในชุมชนเป็นพี่เลี้ยง จนกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชน
ของเล่นพื้นบ้านที่นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์จากวัสดุจากธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน กะลามะพร้าว เมล็ดพืช หรือวัสดุที่เหลือใช้ต่างๆ เช่น เศษไม้ เชือก อุปกรณ์ในการทำของเล่นพื้นบ้าน เช่น มีดต่างๆ ชนิดของมีดมีการใช้งานที่ต่างกัน ดังนั้นความหมายของเล่นพื้นบ้านจึงประกอบด้วย “วัสดุท้องถิ่น” “เครื่องมือ” และ “จินตนาการ”
ภายในพิพิธภัณฑ์เล่นได้ จัดของเล่นพื้นบ้านต่างๆ ออกเป็น 7 ตู้การเรียนรู้ ให้เด็กๆ มานั่งเล่นเรียนรู้ สร้างจินตนาการ และสนุกไปกับของเล่น เริ่มจากตู้ใบแรก “ฝูงสัตว์มีชีวิตด้วยจินตนาการ” ฝึกสร้างจินตนาการด้วยของเล่นที่ใส่กลไกในสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์ล้อ สัตว์วิ่ง และสัตว์ชัก
ตู้ที่ 2 “ลูกข่างไม้หลากหลากชนิด” ของเล่นที่โปรดปรานของเด็กผู้ชาย หมุนได้โดยอาศัยการปั่น เช่น
ลูกข่างโว้ ลูกข่างสตางค์ ลูกข่างสะบ้า
ตู้ที่ 3 “ทั้งหมุน ทั้งบิน” ของเล่นที่อาศัยการสังเกตมาประดิษฐ์ เช่น กำหมุน จานบิน โหวด
ตู้ที่ 4 “ตีลังกา ลีลาเยี่ยม” ของเล่นที่มีท่าทางการกระโดดตีลังกาไปมา เช่น อมรเทพ บาร์สูง
ตู้ที่ 5 “เกมส์เชาวน์ปัญญาฝึกไหวพริบ” ของเล่นที่เล่นจนลืมเวลาเช้าเวลาเย็น เช่น พญาลืมแลง
พญาลืมงาย
ตู้ที่ 6 “เรียงร้อย สร้อยโมบาย ได้สมาธิ” ของเล่นที่ฝึกหัดการร้อยเชือกจากไม้แกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ
และตู้ที่ 7 “จำลองวิถีชีวิตในอดีต” ของเล่นที่เล่าเรื่องราววิถีชีวิต เช่น ครกมอง ควายกินหญ้า และ
คนเลื่อยไม้
ปัจจุบันของเล่นพื้นบ้านจากกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนด้วย นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์เล่นได้มีการสร้างร่วมมือกับชุมชนป่าแดดและชุมชนบริเวณรอบๆ สร้างเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับเด็กๆ ทั้งหมด 6 แหล่งเรียนรู้ ดังนี้
1. พิพิธภัณฑ์เล่นได้ กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ แหล่งเรียนรู้เพื่อการสืบสานและถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำ
ของเล่นพื้นบ้าน และเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก
2. ศูนย์อนุรักษ์และเพาะพันธุ์แมลงปีกแข็ง แหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาวงจรชีวิตของด้วงกว่าง เพื่อ
อนุรักษ์และขยายพันธุ์แมลงต่อไป
3. ศูนย์ศึกษาป่าชุมชน แหล่งเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมประเพณี การดูแลรักษาป่า การจัดการทรัพยากร
เพื่อความยั่งยืน
4. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง แหล่งเรียนรู้เพื่อศึกษาวิถีแห่งความพอดีและการพึ่งพาตนเองดำเนินชีวิต
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. กลุ่มทอผ้า แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตด้านการทอผ้า เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมใช้ผ้าพื้นเมือง
6. โบราณสถานและพิพิธภัณฑ์ดอยเวียงดอยวง แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ 3,000 ปี
วริสรา แสงอัมพรไชย / เขียน
ข้อมูลจาก สำรวจภาคสนาม เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558
รีวิวของพิพิธภัณฑ์เล่นได้
พิพิธภัณฑ์เล่นได้ เป็นการดำเนินการอีกรูปแบบหนึ่งของกลุ่มคนเฒ่าคนแก่บ้านป่าแดด ที่ต้องการให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของท้องถิ่น ผ่านการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการทำของเล่นพื้นบ้านในแต่ละยุคสมัยให้แก่เด็กและผู้ที่สนใจ พิพิธภัณฑ์หลายแห่งมักจะห้ามจับสิ่งของ ห้ามนำอาหารเข้าไป แต่พิพิธภัณฑ์เล่นได้ถอดกติกาเหล่านั้นหมดสิ้น ให้ทุกคนได้เรียนรู้ผ่านการเล่นทางรูป รส กลิ่น สี เสียง และการสัมผัส
ภายในพิพิธภัณฑ์มีของเล่นพื้นบ้านและของเล่นที่คิดประดิษฐ์ใหม่มากมายจัดแสดง และสามารถหยิบจับทดลองเล่นได้ทุกชิ้น พร้อมชื่อเรียกและคำอธิบายแบบง่าย อ่านสนุก บอกที่มาที่ไป วิธีการใช้ และแฝงความหมายที่มากกว่าของเล่น ที่ล้วนสะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงในสังคม อาทิ ลูกข่างสตางค์ ที่มีคำอธิบายว่า "สมัยที่สตางค์มีรู ปู่ย่านำเหรียญมามัดกันทำเป็นลูกข่าง สมัยนี้ไม่มีสตางค์รู ก็เหลาไม้ใส่แทน…" ลูกข่างโว้ ลูกข่างสะบ้า สัตว์ล้อต่าง ๆ สัตว์ชัก พญาลืมแลง พญาลืมงาย เต่ากระต่ายวิ่ง กำหมุน จานบิน โหวด อมรเทพ ครกมอง ควายกินหญ้า งู คนตำข้าว ถึ่มถึ้ม กังหันลม เป็นต้น
พื้นที่ส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้แบ่งเป็นร้านขายของผลิตภัณฑ์จากชุมชน อาทิ ของเล่นของกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ ผ้าพันคอ ผ้าขาวม้า กระเป๋า เสื้อยืด โปสการ์ด พวงกุญแจ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น รายได้ส่วนหนึ่งแบ่งมาเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์
ข้อมูลจาก:
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ของเล่นป่าแดด พิพิธภัณฑ์ปี"55
พิพิธภัณฑ์ของเล่นที่บ้านป่าแดด อ.แม่ สรวย จ.เชียงราย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สวนกระแสพิพิธภัณฑ์กระแสหลักที่ของสำคัญค่า สูงล้ำห้ามแตะ ห้ามยุ่ง แต่พิพิธภัณฑ์เล่นได้เต็มไปด้วยของเล่นที่วางเรียงรายละลานตา ทุกชิ้นจับหยิบ ลูบคลำ และนำมา "เล่น" ได้ตามใจเรียกร้อง มนุษย์อยู่คู่กับการเล่น อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่ก็ชอบของเล่น ลูกแมวลูกสุนัขซนๆ ก็ชอบเล่นของเล่น การเล่นทุกชนิดช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ มากมายบ้านป่าแดด"พิพิธภัณฑ์เล่นได้"ความสุขไร้กาลเวลา
เคยคิดเล่นๆกันบ้างไหมว่าเมื่อแก่แล้วเราจะดำเนินชีวิตในบั้นปลายกันอย่างไร? จะอยู่ให้ลูกหลานเลี้ยงดู จะนอนเล่นอยู่กับบ้าน จะออกไปร่วมแสดงพลังขับไล่รัฐบาลโจรกับพันธมิตรฯ หรือว่าอาจต้องระเห็จไปอยู่บ้านพักคนชรา เพราะปัญหาเศรษฐกิจยุคข้าวยากหมากแพง ผู้คนนิยมอยู่แบบสังคมเดี่ยวมากขึ้น ทำให้มีพ่อแก่แม่เฒ่าจำนวนไม่น้อยที่ต้องกลายเป็นภาระสังคม แต่ปัญหาเหล่านี้คงไม่มีทางเกิดขึ้นกับ กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ของ "บ้านป่าแดด" อ.แม่สรวย จ.เชียงราย อย่างแน่นอน เพราะผู้เฒ่าผู้แก่ที่นี่ไม่ปล่อยให้สังขารอันร่วงโรยมาเป็นอุปสรรค ไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยผ่านไปรอเพียงวันสุดท้ายมาถึง ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงได้ร่วมมือกันใช้ความรู้ควบคู่ไปกับภูมิปัญญาพื้นบ้านผนวกประสบการณ์ที่สั่งสมมาทั้งชีวิต สร้างของเล่นในสมัยคุณตาคุณยายยังเด็ก ให้กับลูกหลานและอนุชนคนรุ่นหลังได้เล่น ได้เรียนรู้ จนเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตนาม "พิพิธภัณฑ์เล่นได้" ขึ้นมาแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา ของเล่น กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ของที่ระลึก เครื่องเล่น
พิพิธภัณฑ์ทหารจังหวัดทหารบกเชียงราย บ้านจอมพล ป.พิบูลสงคราม
จ. เชียงราย
พิพิธภัณฑ์ชุมชนดอยเวียง-ดอยวง
จ. เชียงราย
ซุ้มดินศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ชนเผ่าบ้านจะแล
จ. เชียงราย