เนื่องจากพิพิธภัณฑ์เล่นได้ ที่ตั้งอยู่หน้าวัดป่าแดด มีเหตุจำเป็นบางประการต้องปิดตัวลงในสถานที่ทำการเดิม คณะผู้ก่อตั้งนำโดยคุณวีรวัฒน์ กังวานนวกุล ได้หาพื้นที่ใหม่ที่ไม่ไกลจากที่เดิม และได้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ในชื่อใหม่ที่เรียกว่า "โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้" แต่ยังคงแนวคิดเดิมคือการเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ผ่านของเล่นที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ และของเล่นพื้นบ้านที่ผลิตโดยผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ด้วยเชื่อว่า ของเล่นสร้างการเรียนรู้ได้ และการเล่นทำให้เกิดการค้นพบ โดยนำบทเรียนจากการทำงานในพิพิธภัณฑ์เล่นได้กว่าสิบปี มาปรับรูปแบบใหม่เป็นโรงเล่น มีสามเรื่องที่สนใจคือ "สร้างพื้นที่เล่น รักษาของเล่นเก่า และพัฒนาของใหม่" ซึ่งโจทย์ใหม่ในการทำงาน จากทีมงานรุ่นใหม่ในนาม "young maker" ที่ต้องการนำความรู้ด้านการประดิษฐ์และงานกลไกที่สนใจ มาพัฒนาต่อยอด ทำให้ของเล่นที่คุ้นเคยแบบเดิมมีชีวิตชีวา และตื่นตาตื่นใจมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ของเล่นอยู่ได้ยั่งยืน ไม่สูญหายไปพร้อมคนเฒ่าคนแก่ โรงเล่นยังจัดกิจกรรมเวิร์คช้อปหลากหลายผ่านการเล่น และการประดิษฐ์ของเล่น
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ของเล่น การเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ
ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลเวียงเหนือ
จ. เชียงราย
ศูนย์ภูมิปัญญาเวียงเชียงรุ้ง
จ. เชียงราย
บ้านทรงพันธ์ ผ้าฝ้ายตระกูลไตและเซรามิกส์
จ. เชียงราย