โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/30/2546
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 11/26/2547
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 11/25/2547
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: กฤช เหลือลมัย | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.2547)
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: จวน เครือวิชฌยาจารย์ | ปีที่พิมพ์: พ.ศ. 2548
ที่มา: กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง | ปีที่พิมพ์: พ.ศ. 2547
ที่มา: ราชบุรี: ศูนย์มอญศึกษา
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: มหาวิทยาลัยศิลปากร | ปีที่พิมพ์: 2535
ที่มา: มหาวิทยาลัยศิลปากร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ปีที่พิมพ์: ปีที่24ฉบับที่ 11 ก.ย. 2546
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศรีศักร วัลลิโภดม | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 10 ฉบับ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2527)
ที่มา: เมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์ | ปีที่พิมพ์: ปีที่13ฉบับที่ 2 ธ.ค. 2534
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: เอกรินทร์ พึ่งประชา | ปีที่พิมพ์: 24/11/2547 หน้า 33-34
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ปรานี วงษ์เทศ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 (ต.ค. 2543)
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 26/02/36 หน้า 26
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง
ด้วยความร่วมมือระหว่างวัดม่วง ชาวบ้านม่วง และมหาวิทยาลัยศิลปากร ในการรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2536 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สิบกว่าปีที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง ได้ให้บริการความรู้เรื่องมอญ ทั้งแก่ชุมชนบ้านม่วงและชุมชนโดยรอบในละแวกใกล้เคียงทั่วลุ่มน้ำแม่กลอง รวมถึงนักท่องเที่ยวที่สนใจ อย่างไรก็ดีหลังจากสร้างและเปิดพิพิธภัณฑ์แล้ว มีชาวบ้านเห็นคุณค่าและความสำคัญจึงนำเอาโบราณวัตถุทั้งทางโบราณคดีและชาติพันธุ์มาอุทิศให้กับทางวัด เพื่อให้เก็บไว้จัดแสดงอีกมากมาย จึงเกิดปัญหาที่จะต้องก่อสร้างและต่อเติมอาคาร รวมทั้งเพิ่มเติมเนื้อหาการจัดแสดงสอดคล้องกับสิ่งของที่ได้รับมา จึงมีการปรับปรุงการจัดแสดงเนื้อหาในพิพิธภัณฑ์ ควบคู่ไปกับขยายความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็น "ศูนย์มอญศึกษา" ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์ และบริษัทมติชน
โดยทางวัดได้สร้างอาคารสองชั้นหลังใหม่ขึ้น เชื่อมกับอาคารพิพิธภัณฑ์เดิม การจัดแสดงที่ปรับปรุงใหม่จึงเป็นการเชื่อมโยงระหว่างประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมและมอญศึกษา มีทั้งข้าวของต่าง ๆ แผนที่ ภาพเขียน งานกราฟฟิก โดยเนื้อหาหลักที่ปรับปรุง คือ อาคารชั้นบนเป็นเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติมอญและอารยธรรมมอญที่มีมิติลึกและความกว้างทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติมมากไปกว่าเรื่องของการศึกษาท้องถิ่น ขณะที่ชั้นล่างจัดเป็นห้องประชุมสัมมนาและห้องสมุด เพื่อรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมอญ ซึ่งการจัดแสดงในชั้นบนอาจแบ่งออกเป็น 6 เรื่องใหญ่ ๆ ด้วยกันได้แก่
โดยเล่าถึงความเป็นมา และความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างบ้านแปลงเมืองกับพระเกศธาตุ(ผม) จากตำนานหรือนิทานอันเป็นที่ยอมรับมาแต่โบราณกาล รวมไปถึงพุทธทำนายเรื่องหงส์คู่เล่นน้ำ มันเป็นที่มาของนครหงสาวดี เป็นต้น
แสดงเรื่องราวของมอญในยุคต่าง ๆ ตั้งแต่ มอญยุคสุวรรณภูมิ ซึ่งความเป็นมอญและคนมอญ ยังซ้อนทับอยู่กับการเป็นคนกลุ่มหนึ่งในรัฐใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในประเทศพม่า มอญยุครามัญเทศ ซึ่งเป็นยุคที่มีรัฐมอญมั่นคงอยู่ท่ามกลางรัฐของกลุ่มชนชาติอื่น ๆ ไทยพม่า ไทยใหญ่ โดยมีเมืองหงสาวดีเป็นศูนย์กลาง และมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมยิ่งกว่าสมัยใด ๆ มอญยุคผู้ชนะสิบทิศ อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งรุ่งเรืองที่สุดในสมัยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ภาษามอญและจารึกมอญ (Mon Language and Inscription)
ในบรรดาจารึกต่าง ๆ ในไทยและพม่า ภาษามอญถือเป็นภาษาสำคัญเก่าแก่ของผู้คนในสังคมที่เป็นเมืองและรัฐ เพราะเป็นทั้งภาษาศักดิ์สิทธิ์ ภาษาทางราชการ และภาษากลาง ที่ใช้พูดจาสื่อสารในกลุ่มชนทุกระดับ ของที่จัดแสดงอาทิ แผ่นคัมภีร์ ฝีมือช่างมอญสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับอิทธิพลจากจีนและมุสลิม แผนคัมภีร์และไม้ประกับคัมภีร์ รูปลายทองสัตว์หิมพานต์ สมัยอยุธยาตอนปลาย คัมภีร์ใบลาน เป็นต้น
จัดแสดงเรื่องราว ประเพณี 12 เดือน ของคนมอญในประเทศไทย ซึ่งอยู่บนหลักความเชื่อทางพุทธศาสนาและการนับถือผี และและจัดแสดงข้าวของ เครื่องมือเครื่องใช้อันเกี่ยวเนื่องกับประเพณีและวัฒนธรรมมอญ อาทิ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ เครื่องทองเหลือง ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายห่อคัมภีร์ ผ้าฝ้ายทอพื้นบ้านห่อคัมภีร์ของชาวบ้านม่วง พระบฎ เครื่องแต่งกาย เป็นต้น
จัดแสดงแผนที่และเรื่องราวการอพยพมาสู่ไทยของคนมอญ 9 ระลอก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จนทำให้มอญกลายเป็นประชากรส่วนสำคัญของประเทศไทยมาจนทุกวันนี้ โดยคนมอญมักตั้งถิ่นฐานอยู่ริมน้ำ โดยเฉพาะจะหนาแน่นบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
จัดแสดงประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตและประเพณีของมอญในไทย อาทิ มอญสามโคก มอญสมุทรสาคร มอญบ้านโป่ง-โพธาราม มอญพระประแดง ในส่วนผู้นำทางวัฒนธรรม จัดแสดงภาพวาดและเรื่องราวของผู้นำทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มกษัตริย์หรือผู้นำในอดีต อาทิ พระเจ้าอโนรธา พระเจ้าจันสิทธา มะกะโท พระเจ้าราชาธิราช บุเรงนอง หลวงพ่ออุตตมะ พระครูวรธรรมพิทักษ์(อาจารย์ลม อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วง)
นอกจากนี้ทางพิพิธภัณฑ์ยังจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวทั้งจากภายในและภายนอกขึ้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่จะเป็นประโยชน์แก่คนทั่วไป อาทิงาน "สืบสานประเพณีกินอยู่อย่างมอญในลุ่มน้ำแม่กลอง" ที่จัดขึ้น ณ วัดม่วง ในช่วงวันลอยกระทงเมื่อปี 2547 ที่ผ่านมา ด้วยการนำเสนอกิจกรรม การละเล่น และประเพณีในรอบปีของกลุ่มคนมอญในลุ่มน้ำแม่กลอง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวิถีชีวิตคนมอญมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้ชมและศึกษาผ่านจากงานนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์
ข้อมูลจาก:
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
“พิพิธภัณฑ์วัดม่วง” ชวนท่องแม่กลอง เที่ยวบ้านมอญย้อนอดีต
วันนี้ "ศุภศรุต" จะขออนุญาตนำเที่ยวเองขอรับ หลังจากปล่อยให้ถูกใครก็ไม่รู้สมอ้างชื่อมานานแล้ว อดรนทนไม่ไหว เลยขอเชิญชวน ชาว Blog OKnation ที่ยังไม่ตัดสินใจจะไปเที่ยวที่ไหน ลองแวะมาเที่ยวที่ "บ้าน" ของศุภศรุต ที่ "บ้านม่วง" อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อันเป็นบ้านของชุมชนชาว "มอญ เตลง เมง รามัญ" ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา คัมภีร์ มอญ ชาติพันธุ์วิทยา วัดม่วง รามัญ
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา
จ. ราชบุรี
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน
จ. ราชบุรี
อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
จ. ราชบุรี