พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด


พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด ก่อตั้งขึ้นหลังการมรณภาพของท่านพระครูพิศาลสาธุวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าพูด เมื่อ พ.ศ. 2540 โดยคณะกรรมการของวัดได้มีมติให้จัดทำพิพิธภัณฑ์ของวัดขึ้นด้วยเกรงว่าวัตถุโบราณทั้งหลายจะสูญหาย โดยใช้หอไตรของวัดเป็นพิพิธภัณฑ์ ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ได้มีการรวบรวมโบราณวัตถุเก่าแก่และมีค่าที่เป็นวัตถุดั้งเดิมของวัด ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่จัดแสดงปัจจุบันมีอาคารจัดแสดง 3 หลังได้แก่ อาคารหลังแรก เดิมเป็นหอไตรของวัด เป็นอาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง ต่อมาดัดแปลงให้จัดแสดงสิ่งของทั้งชั้นบนและล่าง ของสำคัญอาทิ พระยานมาศ กระโถนถมปัทม์ กาน้ำชา และหัวเรือกัญญา ซึ่งเป็นสิ่งของที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานแด่หลวงพ่อรด เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดท่าพูด อาคารหลังที่สอง เดิมเป็นกุฏิของท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อน(พระครูพิศาลสาธุวัฒน์) เป็นอาคารไม้สองชั้น ชั้นล่างจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของพระครูพิศาลสาธุวัฒน์ เครื่องลายคราม ธนบัตร เปลือกหอย เถรอดเพล เป็นต้น โดยสิ่งของจำนวนหนึ่งได้ขนย้ายมาจากหอไตร เพื่อมาจัดแสดงไว้ที่อาคารหลังใหม่นี้ ส่วนชั้นบน เดิมนั้นเป็นนิทรรศการชั่วคราว จัดแสดงกิจกรรมต่าง ๆ ของทางพิพิธภัณฑ์ ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2548 ทางพิพิธภัณฑ์ได้ดัดแปลงชั้นบน เป็นคลังวัตถุของพิพิธภัณฑ์ อาคารหลังที่สาม เดิมเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัด ชั้นบนจัดแสดงตู้พระธรรมลายรดน้ำ ตาลปัตร หนังสือพิมพ์เก่าย้อนยุค รูปถ่ายเก่าของวัด เป็นต้น ส่วนชั้นล่าง จัดแสดง เครื่องมือทางการเกษตร

ชื่อเรียกอื่น:
พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด
ที่อยู่:
ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73170
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เข้าชมเป็นหมู่คณะกรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2540
ของเด่น:
พระยานมาศ,หัวเรือกัญญา,กระโถนถมปัดสมัยพระเจ้าตากสิน,พระพุทธรูป,ของสะสมของเจ้าอาวาสองค์ก่อน
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

90 ปี โรงเรียนวัดท่าพูด(นครผลประชานุกูล)

ชื่อผู้แต่ง: โรงเรียนวัดท่าพูด | ปีที่พิมพ์: 2547

ที่มา: นครปฐม: โรงเรียนวัดท่าพูด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ประวัติวัดท่าพูด

ชื่อผู้แต่ง: วัดท่าพูด | ปีที่พิมพ์: 2540

ที่มา: นครปฐม: วัดท่าพูด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ชื่อผู้แต่ง: สัญญา สุดล้ำเลิศ | ปีที่พิมพ์: ปีที่25ฉบับที่ 4 ต.ค. - ธ.ค. 2542

ที่มา: เมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคกลาง ชุมชนลุ่มน้ำนครชัยศรี: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม วัฒนธรรม พลวัตและท้าทาย

ชื่อผู้แต่ง: เสาวภา พรสิริพงษ์ | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

คนกลุ่มเล็กที่ไม่ธรรมดาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 09-03-2551

ที่มา: สยามรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"พิพิธภัณฑ์...กระบวนการก่อนตัดสินใจ" ใน พิพิธภัณฑ์บันทึก:ทบทวนบทเรียนจากการวิจัยและพัฒนพิพิธภัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: จุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธ์ | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"เมื่อของเคยใช้กลายเป็นของหวง" ใน พิพิธภัณฑ์บันทึก:ทบทวนบทเรียนจากการวิจัยและพัฒนพิพิธภัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: นวลพรรณ บุญธรรม | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"มือใหม่ใน(ภาค)สนาม" ใน พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม ประสบการณ์จากคนลองทำ

ชื่อผู้แต่ง: จุฑามาส ลิ้มรัตนพันธ์ | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"บท-เรียน-รู้-จัดแสดง กับพิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด"

ชื่อผู้แต่ง: ชาญวิทย์ ตีรประเสริฐ | ปีที่พิมพ์: 2551

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด

วัดท่าพูด ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า มีพี่น้องสองคนนั่งพิงอยู่ใกล้จอมปลวกใหญ่ พอพี่ชายนอนหลับไป น้องชายมองเห็นตัวแมงดาวเรืองคลานออกมาจากจมูกพี่ชาย และคลายหายเข้าไปในจอมปลวก ต่อมาตนเองก็นอนหลับแล้วฝันว่ามีภูติมาบอกที่ซ่อนขุมทรัพย์ แล้วขอให้ขุดเอามาขายเพื่อนำเงินมาสร้างวัด พอตื่นขึ้นมาสองพี่น้องจึงชวนกันมาขุดดูที่จอมปลวกและพบทรัพย์สมบัติมากมายจึงเอามาขายเพื่อนำเงินมาสร้างวัด และตั้งชื่อวัดว่า"วัดเจตภูติ" ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็น "วัดตะพูด" และวัดท่าพูดตามลำดับ 
             
วัดท่าพูดมีประวัติที่พอจะสืบสาวได้ว่า เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา หลังกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 มีผู้คนกลุ่มหนึ่งอพยพมาตั้งรกรากที่บริเวณนี้ โดยมีพระภิกษุมาด้วยรูปหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "พระอาจารย์รด" เป็นที่นับถือและศูนย์รวมทางจิตใจของชาวบ้านในแถบนั้น

ส่วนพิพิธภัณฑ์วัดท่าพูดนั้น ก่อตั้งขึ้นหลังการมรณภาพของท่านพระครูพิศาลสาธุวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดท่าพูด  เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540  โดยคณะกรรมการของวัดได้มีมติให้จัดทำพิพิธภัณฑ์ของวัดขึ้นด้วยเกรงว่าวัตถุโบราณทั้งหลายจะสูญหาย  โดยใช้หอไตรของวัดเป็นพิพิธภัณฑ์ชั่วคราว และเปิดให้ประชาชนเข้าชมครั้งแรกในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นวันพระราชทานเพลิงศพอดีตเจ้าอาวาส   ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ได้มีการรวบรวมโบราณวัตถุเก่าแก่และมีค่า นำมาทำทะเบียนและเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
                 
พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูดมีอาคารจัดแสดงทั้งสิ้น 3 หลัง
                 
อาคารหลังแรก เดิมเป็นหอไตรของวัด เป็นอาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง ต่อมาดัดแปลงให้จัดแสดงสิ่งของทั้งชั้นบนและล่าง ชั้นล่าง สิ่งของสำคัญที่นำมาจัดแสดงไว้ได้แก่ พระยานมาศ กระโถนถมปัทม์ กาน้ำชา และหัวเรือกัญญา ซึ่งเป็นสิ่งของที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานแด่หลวงพ่อรด เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดท่าพูด พระพุทธรูป จารึกตัวอักษรไทยบนอิฐมอญที่ใช้ก่อสร้างพระอุโบสถ เป็นต้น ส่วนชั้นบนจัดแสดงพระพุทธรูป   สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านนำมาถวายวัด อาทิ ตะเกียง ถ้วย ชาม เครื่องจักสาน เป็นต้น 
             
อาคารหลังที่สอง เดิมเป็นกุฏิของท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อน(พระครูพิศาลสาธุวัฒน์) ชื่อกุฏิประชาชโนปถัมภ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2502 และทำการบูรณะใหม่เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ บูรณะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2543 เป็นอาคารไม้สองชั้น ชั้นล่างจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของพระครูพิศาลสาธุวัฒน์ เครื่องลายคราม ธนบัตร เปลือกหอย เถรอดเพล เป็นต้น โดยสิ่งของจำนวนหนึ่งได้ขนย้ายมาจากหอไตร เพื่อมาจัดแสดงไว้ที่อาคารหลังใหม่นี้ ส่วนชั้นบน เดิมนั้นเป็นนิทรรศการชั่วคราว จัดแสดงกิจกรรมต่าง ๆ ของทางพิพิธภัณฑ์ ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2548 ทางพิพิธภัณฑ์ได้ดัดแปลงชั้นบน เป็นคลังวัตถุของพิพิธภัณฑ์
             
อาคารหลังที่สาม เป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง เดิมเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัด ต่อมาดัดแปลงเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด ชั้นบนจัดแสดงตู้พระธรรมลายรดน้ำ ตาลปัตร หนังสือพิมพ์เก่าย้อนยุค รูปถ่ายเก่าของวัด เป็นต้น ส่วนชั้นล่าง จัดแสดง เครื่องสูบน้ำ รุ่นต่าง ๆ ที่ใช้วิดน้ำเข้านา ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเลิกใช้แล้ว จึงนำมาถวายให้วัด เพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์
                   
พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูด เปิดให้เข้าชมทุกวัน โดยต้องติดต่อล่วงหน้า เพื่อทางพิพิธภัณฑ์จะได้เตรียมวิทยากรนำชม ซึ่งปัจจุบันมีการฝึกเยาวชนจากโรงเรียนวัดท่าพูด เพื่อเป็นมัคคุเทศน์น้อย เยาวชนท้องถิ่นกลุ่มนี้ ยังเข้ามามีส่วนร่วมในงานพิพิธภัณฑ์ด้านการทำทะเบียนและงานอนุรักษ์วัตถุ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม ของการร่วมมือกันระหว่างพิพิธภัณฑ์วัดท่าพูดและศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในโครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่หวังจะให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นไม่ใช่แค่โกดังเก็บของเก่า แต่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ขณะเดียวกันก็แสดงวิถีแห่งตัวตนให้กับคนข้างนอกได้ทำความรู้จักและเรียนรู้ด้วยเช่นกัน
 
ข้อมูลจาก: 
1. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).  ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม ปีพุทธศักราช 2546(ฉบับเนื้อหาสังเขป)
2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคกลาง - ตะวันตก) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร    26 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2546  ณ โรงแรมริเวอร์  จังหวัดนครปฐม
3. โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ระยะที่ 2
ชื่อผู้แต่ง:
-