พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสาขลา


ที่อยู่:
วัดสาขลา หมู่ 3 ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

สัมผัสประวัติศาสตร์ ดื่มด่ำธรรมชาติ ตามหาแผ่นดินที่หายไปใน “บ้านสาขลา”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 6 ธ.ค. 2556;06-12-2013

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มกราคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสาขลา

 

1.บทนำและประวัติของพิพิธภัณฑ์
               

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ก่อตั้งและบริหารจัดการโดยวัดสาขลา ก่อตั้งโดยเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระปลัดสันทาน ธมฺมสนฺทโน ซึ่งเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2551 อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นศาลาการเปรียญที่แต่เดิมเคยตั้งอยู่บริเวณหน้าวัด แต่ถูกย้ายมาอยู่ด้านใน (ที่ตั้งในปัจจุบัน) ตั้งแต่ก่อนการเข้ามาของพระปลัดสันทาน ในปัจจุบันปัญหาจากน้ำท่วมทำให้ทางวัดต้องยกและดีดศาลาหลังนี้ขึ้นไปบนยกพื้น 2ชั้น

               

ประวัติของอาคารพิพิธภัณฑ์มีอายุกว่า 80 ปีแล้ว สร้างขึ้นสมัยพระครูนาท (เจ้าอาวาสรูปเดิม) ด้วยเหตุที่ตัวท่าน (พระครูนาท) เป็นช่างท่านจึงเป็นคนสร้างศาลาหลังนี้เองโดยออกไปล่องซุงจากที่อื่นมาตามลำคลอง ต่อมาเมื่อพระปลัดสันทานเข้ามาเป็นเจ้าอาวาสเห็นว่าทางวัดมีโบราณวัตถุอยู่เป็นจำนวนมาก ก็เริ่มเก็บรวบรวมเก็บไว้ที่หอเรียน หลังจากบูรณะศาลาการเปรียญเรียบร้อยแล้วจึงนำวัตถุทีเก็บไว้มาจัดแสดงพร้อมๆ กับขอรับบริจาคเครื่องมือเครื่องใช้จากชาวบ้านมาจัดแสดงไว้ร่วมกัน

 
2.ห้องจัดแสดงและวัตถุจัดแสดง
               

มีเพียงห้องเดียวจัดในโถงกลางของพิพิธภัณฑ์ (ศาลาการเปรียญเดิม) ที่ด้านนอกชานมีจัดแสดงเรือและภาชนะดินเผา (ตุ่ม) อยู่ด้วย การจัดแสดงในโถงกลางนั้นมีความพยายามจัดหมวดหมู่ของวัตถุตามลักษณะและหน้าที่ในการใช้งาน จากการสัมภาษณ์เจ้าอาวาสการจัดแบ่งดังกล่าวมาจากตัวท่านเอง ปัญหาคือวัตถุหลายประเภทโดยเฉพาะพระพุทธรูปนั้นท่านไม่ทราบอายุสมัยที่แน่ชัด รวมไปถึงประวัติของวัดก็ไม่มีการบันทึกที่ชัดเจนทำให้ขาดเรื่องเล่าในส่วนของประวัติและวัตถุที่จะช่วยกำหนดอายุของวัดไปอย่างน่าเสียดาย และยังไม่มีการทำทะเบียนวัตถุอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ การดูแลของทางวัดต่อวัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะของการทำความสะอาด มากกว่าจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ ด้วยเหตุว่าขาดแคลนบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยดูแล

 

วัตถุที่จัดแสดงอยู่สามารถแบ่งออก ประเภท ดังนี้

               

วัตถุเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ส่วนใหญ่เป็นวัตถุที่มีอยู่เดิมจากในวัดที่สะสมกันมายาวนานทั้งจากที่ชาวบ้านเคยนำมาถวายวัด วัตถุในกลุ่มนี้ได้แก่ พระพุทธรูป (มีทั้งรูปแบบศิลปะอยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะรัชกาลที่ 3)ที่บางส่วนเป็นวัตถุทีได้จากการก่อสร้างและขุดพบภายในวัด บางส่วนพบอยู่บนเพดานอุโบสถ และได้มาจากซุ้มจระนำของเจดีย์เก่า หีบพระคัมภีร์ หีบพระธรรม ลงรักปิดทอง และตะลุ่มไม้ลงรักปิดทอง

               

โบราณวัตถุ เป็นของที่ได้จากภายในวัดเอง พบระหว่างก่อสร้างอาคารต่างๆ อาทิ ใบเสมาหิน กระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์เก่า (กระเบื้องกาบกล้วย) ภาชนะดินเผา อิฐแบบโบราณ และระฆังเก่าของวัด เป็นต้น

               

วัตถุทางวัฒนธรรม ข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านเป็นเครื่องใช้ที่ชาวบ้านนำมาบริจาค แบ่งได้เป็น

1)เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน เช่น เครื่องมือทำนาเกลือ ถือได้ว่าเป็นวัตถุที่โดดเด่นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เนื่องจากในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านทั่วๆ ไปมักจัดแสดงเครื่องมือในการทำเกษตรกรรม (ทำนา) แต่ที่นี่แสดงเครื่องมือการทำนาเกลือ วัตถุเด่นคือ รั่ว มีลักษณะคล้ายพลั่ว แต่ทำจากไม้ทั้งอันใช้ทำร่องน้ำนาเกลือ กะทา เป็นเครื่องมือสำหรับทำกองเกลือ ไม้มือ เครื่องมือที่ใช้ในการตักเกลือ ระหัดวิดน้ำ กระบุงและคานหาบเกลือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ คือ ลอบตั้งและลอบนอนใช้ในการดักกุ้ง สลักแทงปู (ปูทะเล และปูแสม) และตะเกียงแก๊ซใช้เวลาออกไปแทงปู

2) เครื่องใช้ทั่วไปในบ้าน ประเภทเครื่องเคลือบ เครื่องลายคราม ป้านน้ำชา เรือ

 

สัตว์สตัฟฟ์ ชิ้นส่วนหรือสัตว์สตัฟฟ์ ที่ถูกนำมาจัดแสดงปรากฏอยู่คือ กระโหลกและเขาควาย กระดองเต่า ปูสตัฟฟ์ งูสตัฟฟ์ เปลือกหอย ในจำนวนนี้มีฟอสซิลของปูที่ได้มาจากทะเลซึ่งชาวบ้านนำมาถวายจัดแสดงไว้ด้วย สาเหตุที่มีปูสตัฟฟ์อยู่ด้วยก็เพราะชาวบ้านบางครัวเรือนมีอาชีพในการทำสัตว์สตัฟฟ์เป็นของที่ระลึกขาย

 
4.การบริหารจัดการ
               

ตัวพิพิธภัณฑ์ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีการสนับสนุนเส้นทางการท่องเที่ยวจากหลายๆ หน่วยงาน ทำให้ในช่วงวันหยุดที่คนนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว และลอดโบสถ์เพื่อความเป็นสิริมงคล ในแต่ละสัปดาห์จึงมีผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์อาจถึงหลักพัน

               

ในแง่ความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบมักจะมาในรูปของการบริจาคข้าวของเครื่องใช้ และการพาลูกหลานมาเยี่ยมชมรวมไปถึงอธิบายประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว

 
การเดินทาง
               

 เดินทางด้วยรถยนต์ไปจากทางด่วนพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ลงที่ถนนสุขสวัสดิ์มุ่งหน้าไป อ.พระสมุทรเจดีย์ (ปากอ่าวไทย) ไปจนสุดถนนจะพบสามแยก เลี้ยวขวาตามป้ายที่บอกทางไปป้อมพระจุลจอมเกล้า วิ่งตามถนนไปประมาณ 3กิโลเมตร จะพบสะพานข้ามคลองสรรพสามิตเมื่อข้ามสะพานไปแล้วจะเห็นทางแยกที่บริเวณคอสะพาน เลี้ยวขวาตามป้ายที่เขียนว่าไปป้อมพระจุลจอมเกล้า วิ่งตามถนนไปประมาณ 10 กิโลเมตร จะเห็นป้ายบอกทางไปบ้านสาขลา จนกระทั่งถนนเริ่มเข้าสู่ชุมชนบ้านสาขลา ข้ามสะพานข้ามคลองขนาดเล็กไปจะพบกับวัดสาขลา พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในวัดใกล้กับที่จอดรถสามารถถามจากเจ้าหน้าที่ของวัดได้


อุดมลักษณ์ ฮั่นตระกูล /เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 19 กันยายน 2555 


 
ชื่อผู้แต่ง:
-

สัมผัสประวัติศาสตร์ ดื่มด่ำธรรมชาติ ตามหาแผ่นดินที่หายไปใน “บ้านสาขลา”

บ้านสาขลา ตั้งอยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ สมัยก่อนเรียกว่า “บ้านสาวกล้า” ที่เรียกว่า บ้านสาวกล้า เพราะสมัยสงคราม 9 ทัพ สตี เด็ก และคนชรา ร่วมกันจับอาวุธ ต่อสู้กับพม่าอย่างกล้าหาญเพื่อปกป้องแหล่งเสบียงสำคัญไทยในยามที่ชายชาติทหารในหมู่บ้านต้องไปออกศึกสงคราม แล้วได้รับชัยชนะทำให้กองลาดตระเวนของพม่าต้องถอยทัพกลับไป ตั้งแต่นั้นมาผู้คนจึงยกย้องและเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านสาวกล้า”แต่ได้เรียกเพี้ยนมา จนกลายมาเป็น “บ้านสาขลา”
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-