โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2551
ที่มา: เมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 30-10-2548
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16-05-2550
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ตลาดคลองสวน
ปัจจุบันกระแสความนิยมท่องเที่ยวตลาดโบราณได้เกิดขึ้น ส่งผลต่อหลายชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์บ้านเรือนเก่าไว้ กระทั่งบางแห่งถึงกับมีการสร้างใหม่ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเก่าโบราณ สำหรับตลาดคลองสวน 100 ปี เอ่ยได้ว่าคือตลาดเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ยังเก็บวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้อย่างแท้จริงตลาดแห่งนี้อยู่ในพื้นที่ระหว่าง 2 จังหวัดคือ จังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทรา เรือนแถวไม้ทอดยาวเรียงรายขนานไปกับลำคลอง ความยาวของตลาดทั้งฝั่งอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการและฝั่งอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมกันก็ประมาณครึ่งกิโลเมตร ร้านโชห่วยมากมาย ขายของกินของใช้ ร้านออกแบบตัดผม อาหารอร่อยที่เป็นที่รู้จัก อาทิเช่น เป็ดพะโล้ ขนมจีน ทอดมันปลากราย หอยจ๊อ ขนมเปี๊ยะ ร้านกาแฟโบราณ ขนมไชเท้าทรงเครื่อง เป็นต้น ป้ายหน้าร้านเป็นแบบตัวหนังสือสมัยก่อน สินค้าและบรรจุภัณฑ์ย้อนยุค บางร้านมีผู้สูงวัยนั่งอยู่ในร้าน ช้าลงไปตามวัยแต่ยังเบิกบานเวลามีลูกค้าเข้ามาซื้อของ
ความแตกต่างของตลาดสองฟากฝั่งจังหวัดที่แบ่งเขตปกครองกันที่สะพานข้ามคลองเล็กๆ ตรงที่ตลาดคลองสวน 100 ปีฝั่งจังหวัดสมุทรปราการ เป็นตลาดของเอกชนที่ไม่ได้เก็บค่าเช่ากับผู้อาศัยมากว่า 30 ปีแล้ว ท่านอาเสี่ยบรรจงกับคุณนายจรุง อัศวาณิชย์ เจ้าของกิจการค้าข้าว เจ้าของโรงสี ค้าขายน้ำมัน ขายยา คือบุคคลสำคัญที่มีจิตใจดีผู้นั้น คุณสมศักดิ์ พัฒนะพงศ์พร ได้เล่าประวัติของท่านทั้งสองด้วยความระลึกถึงและสำนึกในความเมตตา ก่อนที่ท่านจะจากไป ได้สั่งเสียลูกหลานไว้สี่ประการ หนึ่งเราจะใช้ระบบครอบครัวดูแลท่าน สองเราจะคิดว่าท่านเป็นญาติของเรา สามเราจะไม่แสวงหาประโยชน์จากท่าน สี่เราจะรักและผูกพันกับท่านตลอดไป
ในวันนี้ทายาทของท่าน คุณสุธีร์ อัศวาณิชย์ ได้รักษาคำมั่นสัญญาและได้ทำให้ตลาดแห่งนี้รุ่งเรืองขึ้นอีกครั้ง หลังจากสามสิบปีที่ผ่านมาตลาดได้ซบเซาจากยุคสมัยเปลี่ยนไป มีตลาดนัดเกิดขึ้นมากมาย การคมนาคมสะดวก วิถีชีวิตคนเปลี่ยนแปลง แต่แล้วการอนุรักษ์ได้เกิดผล เมื่อมีการจัดทำแผนพัฒนาตลาดคลองสวน โดยคุณสุธีร์ซึ่งเป็นเจ้าของตลาดและเป็นนายกเทศมนตรีคลองสวนในสมัยนั้น ตลาดคลองสวน 100 ปีจึงกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งในปี พ.ศ. 2545 เสน่ห์ของตลาดโบราณซึ่งเป็นตลาดบกแห่งนี้อยู่ที่การเก็บรักษาบ้านไม้โบราณ วิถีชีวิตของคนในชุมชน คุณสมศักดิ์เองเป็นครอบครัวหนึ่งที่ได้อาศัยอยู่ในตลาดมาตั้งแต่อาเหล่าก๋ง ก๋ง แล้วก็มาสมัยเตี่ย คุณสมศักดิ์ เป็นรุ่นที่ 4 คุณสมศักดิ์ได้แนะนำการเที่ยวชมตลาดว่า ลองสังเกตดูในแต่ละร้าน เขายังเก็บของเก่าอยู่มาก หลายบ้านเก็บอยู่ในตู้เป็นตะเกียงโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 สิ่งของสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือจะเป็นโต๊ะกาแฟแบบอิตาลี
ด้านวิถีชีวิตที่นี่ยังเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันทั้งชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวพุทธ ชาวมุสลิม ขณะที่เดินเที่ยวชมตลาด มองไปเห็นสะพานไม้สูงข้ามคลองไปวัดคลองสวน ขณะเดียวกันก็สามารถได้ยินเสียงละหมาดดังมาจากมัสยิด
ความเปลี่ยนแปลงของตลาดจากอดีตมา คุณสมศักดิ์เล่าความทรงจำในวัยเด็ก เมื่อก่อนไม่ได้มีถนน การสัญจรไปมาใช้เรือ เวลาเขาไปโรงเรียนก็ไปทางเรือ พ่อค้าแม่ค้าเวลาจะซื้อของมาขายจะไปเรือเมล์ขาวของนายเลิศ ซึ่งมีอยู่เพียงลำเดียว กว่าจะถึงกรุงเทพฯ ก็ใช้เวลาเป็นวัน เรือจะแล่นจากประตูน้ำท่าถั่ว(ฉะเชิงเทรา) ผ่านตลาดคลองสวน แล้วแล่นเข้าสู่ประตูน้ำ(วังสระปทุม)กรุงเทพฯ การที่เรือแล่นช้ามาจากการที่ไปจอดแวะรับส่งสินค้าแต่ละจุดเป็นเวลานาน คนที่ไปกรุงเทพฯจะต้องไปพักค้างคืนที่กรุงเทพฯ การที่ตลาดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชน เพราะคนสมัยก่อนไม่ได้มีตู้เย็น เลิกจากการทำไร่ทำนา 3 ทุ่ม 4 ทุ่มก็ยังต้องมาซื้อของที่ตลาด
สิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจประการหนึ่งของชาวตลาด คือ การได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประเภทชุมชนพื้นถิ่นดีเด่น พ.ศ. 2547 โดยคุณสุธีร์ อัศวาณิชย์ เป็นผู้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และในปีพ.ศ. 2552 ยังได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับที่ 2 จากการโหวตของคนทั่วประเทศ จัดโดยโครงการ “9 Destinations Awards 2009”ของบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด(มหาชน) ผู้ผลิตหนังสือพิมพ์ Bangkok Post และโพสต์ทูเดย์ นับจากนั้นมาตลาดคลองสวน 100 ปี ได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
ในตลาดแห่งนี้คุณสุธีร์ อัศวาณิชย์ ได้จัดทำห้องพิพิธภัณฑ์ของชุมชน เปิดให้เข้าชมวันเสาร์-อาทิตย์ บ้านแห่งนี้คือบ้านเก่าของท่านเจ้าของตลาด ท่านอาเสี่ยบรรจงและคุณนายจรุง อัศวานิชย์ คุณสมศักดิ์ เล่าว่าตอนเป็นเด็ก เขากับเด็กๆเคยเข้ามาดูทีวีกันในบ้านนี้ โดยทีวีใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟ สภาพบ้านตอนนี้มีการเก็บรักษาสภาพเดิมของบ้านไว้เป็นอย่างดี
ส่วนหน้าบ้านเป็นแบบร้านค้า มีตู้กระจกเก็บสินค้าแบบสมัยโบราณ โปสเตอร์โฆษณา ที่หนีบกลีบผ้า ปิ่นโต กล่องไม้ขีด บุหรี่ สิ่งของเหล่านี้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมมามอบให้จัดแสดง กลางห้องมีแบบร่างโมเดลตลาดคลองสวน 100 ปี จัดทำโดย ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาตลาดคลองสวนในเชิงอนุรักษ์ โดยในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดงานสัมมนากันในบ้านนี้ หัวข้อเรื่องการอนุรักษ์ตลาดเก่าใกล้เมือง การจัดทำโครงการผู้ที่ทำการประสานงานอย่างทุ่มเทคือคุณปวริศ สุขวัฒน์ รองนายกเทศมนตรีตำบลคลองสวนในขณะนั้น
ส่วนด้านหลังของบ้านเป็นห้องโถงโล่งโอ่อ่า จากแสงสว่างที่ผ่านเข้ามามองเห็นพื้นกระเบื้องแบบโบราณสวยงามสมัยรัชกาลที่ 5 ในสภาพดี คุณสมศักดิ์ได้เปิดห้องให้ดูตู้เซฟขนาดใหญ่ เขาจำได้ว่า อาเสี่ยบรรจงนั่งอยู่ตรงนี้ อาเสี่ยกับคุณนายมาแจกเงินเดือน โดยมีคนงานเป็นร้อยคนมารอรับ
ตลาดคลองสวน 100 ปีในปัจจุบัน เปิดตลาดทุกวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวได้ทุกวัน ในวันเสาร์-อาทิตย์กับวันนักขัตฤกษ์คนจะเยอะ ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติก็นิยมมา เนื่องจากใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิ สำหรับผู้ที่สนใจอยากนั่งเรือชมทิวทัศน์ของคลองประเวศบุรีรมย์ แวะชมของโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดเทพราช ทางเทศบาลตำบลคลองสวนได้จัดเรือหางยาวมาบริการไว้ที่ท่าน้ำ
หลังจากเดินชมตลาดฝั่งจังหวัดสมุทรปราการ เพียงข้ามสะพานเล็กๆ ก็ถึงตลาดคลองสวน 100 ปีฝั่งจังหวัดฉะเชิงเทรา จุดสังเกตประการหนึ่งของตลาดฝั่งนี้คือจะไม่แขวนโคมแดงแบบจีนไว้ตลอดทางเหนือทางเดิน การบริหารจัดการของตลาดฝั่งนี้มีหลายเจ้าของและมีการเก็บค่าเช่า แต่โดยภาพรวมของตลาด บรรยากาศร้านค้า ไม่ได้มีความแตกต่างกัน ตลาดฝั่งนี้มีร้านกาแฟแป๊ะหลี ซึ่งเป็นร้านดังเป็นที่รู้จัก ภายในร้านกาแฟโบราณมีเรื่องราวมากมาย หน้าร้านของแป๊ะหลีมีภาพถ่ายสมัยอดีตให้ลูกค้าได้เปิดชม ทุกวันแป๊ะหลียังคงต้อนรับลูกค้าด้วยตนเอง ในงานสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์ตลาดเก่าใกล้เมืองเมื่อปี 2550 แป๊ะหลี แซ่แต้ในวัย 84 ปี ยังได้รับเชิญขึ้นเวทีเล่าเรื่องราวในอดีตด้วย
เมื่อเดินไปจนสุดทางของเรือนไม้ ผ่านร้านขายของใช้ของกินมากมาย ตรงสะพานไม้สูงจะข้ามไปยังวัดคลองสวน มี “บ้านของเก่า” หน้าร้านมีร้านขายขนมครก ป้ายที่สะดุดตาเขียนว่า เก็บวันนี้พรุ่งนี้ก็เก่า ภายในร้านมีชั้นวางของที่มีสินค้าแบบโบราณจัดวางไว้อย่างมากมาย บางส่วนจัดอยู่ในตู้ มีมุมพระเครื่องและพระพุทธรูป
ในรอบปีหนึ่งตลาดคลองสวน 100 ปี ได้จัดงานสืบสานตำนานตลาดคลองสวน 100 ปี ถือเป็นการสร้างสัมพันธ์ของหน่วยงานท้องถิ่นและภาคเอกชน โดยการสนับสนุนของ ททท. เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดคลองสวน 100 ปี ตลาดโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 ให้คงอยู่ เพื่อที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศวิถีชุมชนที่เป็นมรดกตกทอดมา เป็นการเกื้อกูลหล่อเลี้ยงกัน
----------------------------------------------------
สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 20 เดือนกันยายน พ.ศ. 2555
----------------------------------------------------
การเดินทาง : ขับรถจากกรุงเทพฯมาตามเส้นมอเตอร์เวย์ พอถึงช่วงคลังสินค้าลาดกระบังก่อนถึงทางออก ฉะเชิงเทราจะมีป้าย เขียนว่าอ่อนนุชก็เลี้ยวซ้าย พอถึงสามแยกก็เลี้ยวขวาอีกที แล้วตรงไปตลอด มีป้ายบอกตลอดทางว่าไปตลาดคลองสวน 100 ปี
หรือว่าจะนั่งรถทัวร์ ขึ้นที่สถานีขนส่งเอกมัย ถามคนขายตั๋วว่าสายที่ผ่านตลาดเก่าคลองสวน100 ปีสายไหน บอกคนขายตั๋วว่าขอนั่งสายที่ผ่านตลาดคลองสวน 100 ปี (ตลาดคลองสวน 100 ปี อยู่ห่างจากวัดหลวงพ่อโสธรประมาณสิบกว่ากิโลเมตรเท่านั้น)
-----------------------------------------------
อ้างอิง : ข้อมูลการสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 20 เดือนกันยายน พ.ศ. 2555
ข้อมูลท่องเที่ยว-จังหวัดสมุทรปราการ.(2553).งานสืบสานตำนานตลาดคลองสวน 100 ปีครั้งที่ 2.ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2555,จาก http://wwwthailandholidayclub.com/index.php?topic=317.5;wap2
งานสัมมนา “โครงการพัฒนาตลาดคลองสวนในเชิงอนุรักษ์”เรื่อง การอนุรักษ์ตลาดเก่า ใกล้เมือง.(2553).ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2555,จาก http://www.thaiblogoonline.com/sodpichai.blog?PostID=12273
ตลาดคลองสวน 100 ปี.(2551).ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2555,จาก http://www.sawasdee_padrew.com/Teenee8riew-klogSoun.html
แผ่นพับประชาสัมพันธ์ตลาดคลองสวน 100 ปี โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เทศบาลตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์ตลาดคลองสวน
ห้องแถวไม้สองชั้นเรียงเข้าแถวยาวขนานไปกับคลองประเวชบุรีรมย์ในย่านตลาดคลองสวน มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี เฉพาะฝั่งที่เทศบาลคลองสวนดูแล สร้างขึ้นบนที่ดินของอาเสี่ยบรรจง และคุณนายจรุง อัศวาณิชย์ เมื่อเวลาผ่านกรรมสิทธิ์ที่ดินตกทอดมาถึงลูกหลาน สิ่งที่คงอยู่คือคำสั่งสอนให้ดูแลชาวคลองสวนเหมือนเครือญาติ รวมถึงให้สิทธิ์อยู่อาศัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พระพุทธรูป พระเครื่อง สถาปัตยกรรม ตลาดคลองสวน วิถีชีวิต เครื่องปั่นไฟ กระเบื้อง
พิพิธภัณฑ์ปลากัด บ้านสวนบางกระเจ้า
จ. สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ
จ. สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม
จ. สมุทรปราการ