พิพิธภัณฑ์หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ


ที่อยู่:
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 18/18 ถ.บางนา-ตราด กม.18 ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์:
0-2312-6300 ต่อ 1339,1346 คุณกชพร ขวัญทอง
โทรสาร:
02-312-6387
วันและเวลาทำการ:
วันจันทร์–ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น. ถ้าขอเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะกรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
depofms@hcu.ac.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2537
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

ป่อเต็กตึ้ง: บนเส้นทางประวัติศาสตร์ไทย

ชื่อผู้แต่ง: กรรณิการ์ ตันประเสริฐ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ร้อยคำบอกเล่าเรื่องมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง

ชื่อผู้แต่ง: กรรณิการ์ ตันประเสริฐ | ปีที่พิมพ์: 2544

ที่มา: พิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 90 ปี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รายงานการวิจัยเรื่อง 90 ปี มูลนิธิปอเต็กตึ้งบนเส้นทางประวัติศาสตร์ไทย

ชื่อผู้แต่ง: กรรณิการ์ ตันประเสริฐ และคนอื่น ๆ | ปีที่พิมพ์: 2543

ที่มา: พิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 90 ปี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ความสัมพันธ์ไทยจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ชื่อผู้แต่ง: วรรธนา งามฉาย | ปีที่พิมพ์: ปีที่22ฉบับที่ 1 ม.ค. - มี.ค. 2539

ที่มา: เมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สมุดภาพรำลึกรอยพระบาทยาตรา

ชื่อผู้แต่ง: สวนีย์ วิเศษสินธุ์ และคนอื่น ๆ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: พิมพ์เป็นที่ระลึกในวาระครบรอบ 10 ปี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

1. บทนำ
       

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เขตจังหวัดสมุทรปราการ บริเวณกิโลเมตรที่ 16  ของถนนสายบางนา-ตราด ลักษณะของอาคารมีลักษณะแบบศิลปะร่วมสมัยไทย-จีน (Contemporary) อาคารประกอบด้วยพื้นที่ 3ส่วน คือ 1)ส่วนลานวัฒนธรรมซึ่งเป็นสวนหย่อมประดับอาคาร 2)ส่วนสวนจีนหรือสวนอภิรมย์ ตกแต่งตามอย่างเมืองซูโจว และ 3)อาคารเฉลิมพระเกียรติ (ตัวพิพิธภัณฑ์) เป็นอาคาร 3 ชั้น  ชั้นล่างเป็นส่วนนิทรรศการ ส่วนซ้อมการแสดงและจัดกิจกรรมของนักศึกษา และห้องนิทรรศการ ชั้นที่ 2เป็นห้องจัดแสดง และชั้นที่ 3เป็นอาคารสำนักงาน ห้องชมรมสำหรับฝึกซ้อม ดนตรีไทย ดนตรีจีน นาฏศิลป์ไทย และการแสดงหุ่นคนของนักศึกษา  (ศูนย์วัฒนธรรม,2554)

 
2.ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์
 

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษา (University Museum) ก่อตั้งขึ้นมาพร้อมๆ กับกำเนิดของมหาวิทยาลัยด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของมูลนิธิป่อเต๊กตึ้ง และประธานมูลนิธิคือ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยเริ่มต้นจากการเป็นโรงเรียนผดุงครรภ์ (พ.ศ.2485-2524) มาสู่วิทยาลัยหัวเฉียว (พ.ศ.2524-2534)และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ.2535-ปัจจุบัน) ตามลำดับ เมื่อแรกก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนั้นก็มีนโยบายทางด้านพันธกิจด้านการบำรุงศิลปวัฒนธรรมควบคู่มาพร้อมๆ กัน ด้วยเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรมีหน่วยงานที่ส่งเสริมและดูแลด้านความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมไทย-จีน จึงได้จัดให้มีการก่อสร้างรวมไปถึงจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติขึ้นที่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัย

       

พันธกิจสำคัญของศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้คือ 1)การส่งเสริม ศึกษา และเผยแพร่ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรรมและภูมิปัญญาไทย-จีน การบริหารงานภายในศูนย์เองประกอบด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมแก่นักศึกษาใน 6ด้าน คือ กลุ่มดนตรีไทย กลุ่มดนตรีจีน กลุ่มนาฏศิลป์ไทย กลุ่มเชิดหุ่นคน กลุ่มละครสร้างสรรค์ และกลุ่มนาฏศิลป์ร่วมสมัย 2) การบริการให้คำปรึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมแก่นักศึกษาและผู้สนใจ 3)การจัดกิจกรรมโครงการศิลปวัฒนธรรม ภารกิจในด้านนี้ทางศูนย์วัฒนธรรมได้ขยายพื้นที่ออกไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนในหลายๆ กิจกรรม อาทิ ประเพณีรับบัว การแท่เทียนพรรษา ประเพณีสงกรานต์ โครงการกฐินพระราชทาน และโครงการวัฒนธรรม 2แผ่นดิน ไทยจีน เป็นต้น 4)การให้บริการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ความสัมพันธ์ไทย-จีน อาคารแห่งนี้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24มีนาคม พ.ศ.2537พร้อมๆ กับการเปิดมหาวิทยาลัย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธี (ศูนย์วัฒนธรรม, 2554)

 
3.ห้องจัดแสดง
       

ห้องจัดแสดงประกอบด้วยพื้นที่หลัก 2ชั้น

 

3.1ชั้นล่างประกอบด้วยนิทรรศการและส่วนจัดแสดงที่แบ่งออกตามเนื้อหาได้ 3ส่วน คือ

 

ส่วนแรก นิทรรศการความสัมพันธ์ไทย-จีน การจัดแสดงนี้มีทั้งเนื้อหาที่เป็นบอร์ดแสดงภาพและตัวอักษรที่ตั้งอยู่ติดกับทางเดินเข้าสู่โถงพิพิธภัณฑ์ เล่าประวัติการเข้ามาตั้งถิ่นฐาของชาวจีนในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมากระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และนิทรรศการภาพเกี่ยวกับความสัมพันธุ์ไทย-จีน ที่ขยายไปในส่วนของรัฐบาล และราชวงศ์ และส่วนจัดแสดงอื่นๆ ที่กระจายอยู่ทั่วชั้น 1คือมุมนิทรรศการวิถีชีวิตจีนในสยาม อาทิ มุมร้านขายยาจีน ศาลเจ้า กี่กระตุกและการทำสวนผัก ร้านขายน้ำชา และเครื่องดนตรีจีน เป็นต้น

 

ส่วนที่สอง เป็นนิทรรศการ 100ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเดินเข้าสู่โถงอาคาร ภายในนิทรรศการเป็นเนื้อหาเล่าความเป็นมาและกำเนิดของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะเก็บศพไร้ญาติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2453 ภายใต้ชื่อ “คณะเก็บศพไต้ฮงกง”และจดทะเบียนเป็นมูลนิธิฮั่วเคี่ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง มีทุนจดทะเบียน 2,000บาท เพื่อการทำงานสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือผู้มีชีวิตที่ยากไร้ และประวัติเมื่อเริ่มขยายมาสู่การเป็นโรงเรียนผดุงครรภ์ (ในส่วนนี้ได้จัดแสดงโต๊ะทำงานของครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน นำเข้าจากอังกฤษโดยห้างแบดแมน (ชื่อเต็มว่า แฮร์รี่ เอ. แบดแมน แอนด์ โก) และภาพถ่ายการเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

ส่วนที่สาม หอประวัติ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ กินพื้นที่บริเวณตอนกลางของห้องจัดแสดงชั้นล่าง และมีการปิดกั้นนิทรรศการเป็นสัดส่วน ภายในเล่าเรื่องประวัติ ความสามารถ และผลงานของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ อดีตประธานมูลนิธิป่อเต๊กตึ๊ง ทั้งทางด้านธุรกิจ การศึกษา การแพทย์ และกิจการด้านสาธารณกุศล ภายในยังจัดแสดงห้องทำงานจำลอง ส่วนพักผ่อน และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวของท่านอีกหลายอย่างไว้

 

3.2 ชั้นสองประกอบด้วยนิทรรศการหลัก 2 ส่วน ดังนี้

 

ส่วนแรก นิทรรศการต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ตั้งอยู่ด้านหน้าบันไดทางขึ้นประกอบด้วยรูปหล่อพระบรมรูปครึ่งพระองค์ ทำด้วยโลหะผสมรมดำ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปั้นโดย พ.ท.นภดล สุวรรณสมบัติ และภาพถ่ายเมื่อครั้งเสด็จมาเป็นประธานเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียว พร้อมพระราชทานทุนการศึกษาจำนวน 5,000,000 บาท จัดตั้งเป็นกองทุนรางวัลกาญจนาภิเษกมอบให้แก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น

 

ส่วนที่สอง นิทรรศการรูปปั้นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มาจากการเชิญชวนชาวจีนในประเทศไทยและผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนในการก่อตั้งจำนวน 100ล้านบาท ในส่วนนี้ผู้ที่บริจาคเงินตั้งแต่ 10ล้านบาทขึ้นไป จะได้รับเกียรติให้มีการจัดปั้นรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ จำนวน 56รูป และเป็นภาพถ่ายสำหรับคนที่บริจาคจำนวน 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท

 
4. การบริหารจัดการ
       

ในแง่ของการบริหารจัดการอาจเรียกได้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่ใฝ่ฝันของนักพิพิธภัณฑ์หลายๆ คน เนื่องมาจากมีการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงานต้นสังกัด (มหาวิทยาลัยหัวเฉียว) ด้วยมีงบประมาณเพื่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมผ่านศูนย์วัฒนธรรมเป็นประจำทุกปี สำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ และในส่วนของการดูแลรักษา ซ่อมแซมวัตถุจัดแสดง ส่วนจัดแสดง หรืออาคารจัดแสดงนั้นสามารถตั้งเป็นงบประมาณพิเศษได้อีกต่างหาก เหตุนี้ทำให้ส่วนจัดแสดงดูจะได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะยังมีพื้นที่ว่างบางส่วนอยู่

       

ส่วนของกิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์มีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบนั้น สามารถแบ่งออกได้ 2กลุ่ม คือ ชุมชนที่เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอง มีการเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อทำกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมหลายประเภท ด้วยเหตุที่ว่าอาคารพิพิธภัณฑ์คือที่ทำการของศูนย์วัฒนธรรมและชมรมเกี่ยวกับดนตรี –นาฎศิลป์ ของไทย-จีน หลายครั้งจึงมีการออกไปทำกิจกรรมของนักศึกษาภายนอกมหาวิทยาลัยภายใต้ชื่อศูนย์วัฒนธรรม พร้อมๆ กับการนิทรรศการของพิพิธภัณพ์ออกไปเผยแพร่ด้วย และชุมชนอีกประเภท คือชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ที่ทางพิพิธภัณฑ์มีกิจกรรมประจำปีร่วมกับชุมชนอยู่เสมอ อาทิ เทศกาลประเพณีรับบัว ในช่วง ออกพรรษา อันเป็นกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวไทย-จีน-มอญ ในเขต อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

 
การเดินทาง
       

การเดินทางด้วยรถยนต์ไปตามถนนสายบางนา-ตราด (มุ่งหน้าออกไป จ.ชลบุรี) ที่บริเวณกิโลเมตรที่ 16จะพบกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เลี้ยวซ้ายเข้าประตูหมายเลข 2จะมองเห็นอาคารที่สองทางขวามือ มีรูปหล่อบุคคล คือ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ และลานปูด้วยกระเบื้องสีน้ำตาล อยู่ด้านหน้า คืออาคารที่ทำการหอวัฒนธรรม รวมถึงพิพิธภัณฑ์

 
อ้างอิง

ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คู่มือนำชมพิพิธภัณฑ์. ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ,2554.
 


อุดมลักษณ์ ฮั่นตระกูล / เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 18 กันยายน 2555

ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พิพิธภัณฑ์หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งขึ้นด้วยปณิธานของมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผสานกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยในการมีส่วนร่วมบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการวิจัยเพื่อชุมชน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงมีทั้งกิจกรรม โครงการต่างๆ รวมทั้งการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เนื้อหาหลักนิทรรศการ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย - จีน ในด้านต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยนิทรรศการเรื่องพระบรมโพธิสมภาร นิทรรศการ 90 ปี มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง (เนื้อหามาจากผลงานการวิจัย) โรงพยาบาลหัวเฉียว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นอกจากนั้นทางพิพิธภัณฑ์ฯมีโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรปราการ

โถงทางเข้าพอพิพิธภัณฑ์ ติดตั้งป้ายจารึกอักษรภาษาจีน ขยายจากฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อ่านว่า "ฉงเซิ่นเป่าเต๋อ" หมายถึงเฉลิมพระเกียรติสนองพระคุณ ด้านล่างเป็นพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ อ่านว่า "ซือหลินทง" หมายถึงผู้เชี่ยวชาญเรื่องหยกและบทกวี จากนั้นเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางไทย - จีน ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการค้าทางเรือสำเภา การอพยพของชาวจีนสู่ประเทศไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การจำลองร้านขายยาแผนโบราณ การแพทย์ การรักษาสุขภาพ แผนที่และภาพแสดงชุมชนการค้าเก่าของชาวจีนย่านสำเพ็ง ภูมิปัญญาของชาวจีนด้นการทอผ้าด้วยกี่กระตุก ศิลปกรรม วรรณกรรมที่แปลจากภาษาจีน เครื่องดนตรี ความเชื่อ ศาสนา จนถึงภาพการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีส่วนของ "พิพิธภัณฑ์สมุทรปราการ" จัดแสดงของที่ได้รับจากชุมชน เช่น สามล้อ เรือ หมวก เครื่องสีฝัดข้าว อุปกรณ์ทำนา ฟืมสำหรับทอเสื่อจากอาคารชั้นนี้มีส่วนเชื่อมต่อกับสวนจีนภายนอก ชั้นที่ 2 เรียกว่า Hall of Fame แสดงเรื่องพระบรมโพธิสมภาร ประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงพระราชประวัติ และป้ายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปิดมหาวิทยาลัย พระปรมาภิไธย และอุปกรณ์ที่ทรงปลูกต้นโพธิ์ และรูปปั้นผู้ก่อตั้ง



ข้อมูลจาก : แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 124.
ชื่อผู้แต่ง:
-