อุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ป้อมพระจุลจอมเกล้า


อุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ เป็นการดำเนินการของกองทัพเรือในการพัฒนาพื้นที่บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า และจัดทำพื้นที่แสดงวิวัฒนาการของทหารเรือไทยในการป้องกันประเทศ ภายในแบ่งพื้นที่เป็น 5 ส่วน คือ 1.พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้าและเหตุการณ์ ร.ศ.112 2.ส่วนจัดแสดงปืนเสือหมอบ ซึ่งเป็นปืนหลุมที่มีประสิทธิภาพสูงในช่วงเวลานั้น 3.พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงแม่กลอง เป็นเรือรบประจำการที่มีอายุการใช้งานนานที่สุดของกองทัพเรือ ซึ่งใช้งานกว่า 60 ปี 4.อุทยานปืนกลางแจ้ง จัดแสดงเนื้อหา การจัดวาง และตั้งแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งส่วนประกอบต่าง ๆ และ 5.เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน

ที่อยู่:
ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290
โทรศัพท์:
0-2475-6202
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 08.00-20.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ป้อมพระจุลจอมเกล้า

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง "เรือครู" ลำแรกของไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 29-07-2540 หน้า 9

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ป้อมพระจุลจอมเกล้า

ป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือที่เรียกขานกันทั่วไปว่า "ป้อมพระจุล" อดีตปราการด่านพิทักษ์ทางทะเลที่สำคัญของประเทศที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี แห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในต้น พ.ศ. 2427 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2436 เนื่องจากทรงมีพระราชปรารภว่าป้อมต่างๆ ที่เมืองสมุทรปราการ ซึ่งใช้เป็นที่มั่นในการป้องกันและตั้งรับข้าศึกที่จะเข้ามาทางทะเลนั้น ล้วนแต่เป็นป้องเก่าล้าสมัยและชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่สามารถใช้ในการป้องกันบ้านเมืองได้ โดยเฉพาะในภาวะที่บ้านเมืองกำลังเผชิญหน้ากับลัทธิล่าอาณานิคม จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้ปรับปรุงและซ่อมแซมป้อมเก่าๆ และสร้างป้อมปราการที่ทันสมัยอีกแห่งหนึ่งบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ และหลังจากที่สร้าง "ป้อมพระจุลฯ" เสร็จเพียง 3 เดือน ก็เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 จึงอาจกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัจฉริยภาพและสายพระเนตรที่กว้างไกลอย่างยิ่ง หลังจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ก่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนากองทัพเรือไทยให้ทันสมัยทัดเทียมตะวันตก
 
การจัดแสดงภายในอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือฯ ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว และอาคารนิทรรศการ
ส่วนที่ 2 จัดแสดงปืนเสือหมอบ จำนวน 7 กระบอก แสดงให้เห็นอาวุธปืนหลุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงเวลานั้น
ส่วนที่ 3 พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงแม่กลอง เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จัดขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯถวาย เพื่อเฉลิมพระเกียรติในปีกาญจนาภิเษก ในพ.ศ.2539 นับเป็น 1 ใน 7 โครงการที่กองทัพเรือได้จัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์เรือรบไทย ภายในลำเรือ

จัดแสดงห้องต่างๆ ไว้ให้ประชาชนทั่วไป เข้าเยี่ยมชม อาทิ ห้องสะพานเดินเรือหรือห้องควบคุมหรือห้องควบคุมการทำงานของเรือซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากที่สุด ห้องที่จัดตกแต่งไว้อย่างสวยงามที่สุดในเรือ คือห้องโถงนายทหารชั้นสัญญาบัตร  ภายในห้องจัดแดงเรื่องราวประวัติศาสตร์และรายนามผู้บังคับการเรือในอดีต ห้องเรียนในอดีตสำหรับเรียนวิชาการเรือของนักเรียน นายทหาร จัดแสดงประวัติความเป็นมาและประวัติการใช้งานของเรือหลวงแม่กลอง 

ส่วนที่ 4 อุทยานปืนกลางแจ้ง นอกจากจะจัดแสดงเนื้อหา การจัดวางและตั้งแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทหารเรือ เพื่อแสดงวิวัฒนาการของกองทัพเรือในการปกป้องอธิปไตยของประเทศตั้งแต่ในอดีตจนถึงบทบาทการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลในปัจจุบัน อาวะยุทโธปกรณ์ที่จัดแสดงประกอบด้วย กลุ่มปืนและอาวุธในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 กับการแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โดยเน้นกลุ่มอาวุธของเรือหลวงพระร่วงและการจัดหาเรือหลวงพระร่วงของรัชกาลที่ 6 รวมทั้งยุทโธปกรณ์อื่นๆในสองรัชสมัยมาจัดแสดง กลุ่มปืนและอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และยุทธนาวีที่เกาะช้าง และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการจัดแสดงข้อมูลของอาวุธชนิดต่างๆ และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ประกอบ
 
กลุ่มปืนและอาวุธที่กองทัพเรือมีใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งการจัดวางอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในยุทธการต่างๆ รวมทั้งยุทธการของหน่วยปฏิบัติตามลำน้ำโขงที่ดอนแดง
 
นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือในยามสงบ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล อาทิ ฐานะขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในทะเลจำลอง และเรือประมงพร้อมข้อมูลประกอบ
 
ส่วนที่ 5 เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน เหมาะสำหรับเดินชมพันธุ์ไม้ป่าชายเลน อาทิ โกงกาง ฝาดทะเล ตะบูน แสมดำ และชีวิตเล็ก ฯที่พึ่งพาอาศัยป่าชายเลน 
 
ข้อมูลจาก : แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 116.
ชื่อผู้แต่ง:
-