ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางพลี ร.ร.บางพลีราษฎร์บำรุง


ที่อยู่:
ร.ร.บางพลีราษฎร์บำรุง 154 หมู่ 8 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์:
0-2751-1504-7
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 08.30-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2540
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางพลี ร.ร.บางพลีราษฎร์บำรุง

ศูนย์วัฒนธรรมที่นี่เป็นตัวอย่างของการดำเนินงานตามความริเริ่มของนโยบายรัฐ ให้มีศูนย์วัฒนธรรมอำเภอ แต่ในขณะเดียวกันนโยบายของรัฐบาล ได้รับการตอบรับจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์พบเห็นความเปลี่ยนแปลงของชุมชนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง
 
ศูนย์วัฒนธรรมของโรงเรียนบางพลี มีลักษณะไม่ต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยข้าวของ และกิจกรรมให้เด็กนักเรียนทำโครงการหาข้อมูลกันอย่างคึกคักนั้น มีผู้ดูแลอาจารย์สุทธิดา คุ้มภู  ท่านเป็นคนปากน้ำ และหลังจากไปสอนในจังหวัดอื่นได้ย้ายมาประจำที่บางพลี อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ย้ายมาอยู่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ได้เห็นชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่แรกที่เริ่มมาสอนนั่งเรือมาทำงาน มองเห็นมีทุ่งนาสองฝั่งคลอง ต่อมาทุ่งนาหายไปเกือบหมดจนในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงผืนเล็ก ๆ ผืนเดียวเท่านั้น 
 
อาจารย์จึงอยากจะเก็บรักษาชีวิตท้องถิ่นที่หมดสิ้นสูญหายไปเกือบหมดแล้วไว้ โดยเริ่มให้เด็กไปหาของ หรือขอบริจาคสิ่งของในบ้านจากผู้ปกครอง และนำมาจัดไว้ให้นักเรียนใช้เรียน ความสนใจของอาจารย์สุทธิดา ได้รับการตอบส่งเสริมจากผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งได้ทราบถึงโครงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอำเภอ และต้องการจะทำให้โรงเรียนเป็นที่ตั้งของศูนย์วัฒนธรรม จึงได้อนุมัติให้ใช้สถานที่และงบประมาณของโรงเรียน  และสนับสนุนให้ใช้ศูนย์วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรวิชาต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางพลี โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2540)
 
ในปัจจุบันศูนย์วัฒนธรรมได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโรงเรียน และดูจะยังคงขยายตัวต่อไปอีก ไม่นานมานี้ การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ชาวบ้านที่เคยทำนาขายที่ และย้ายไปที่อื่น ทิ้งเครื่องมือเครื่องใช้เก่าที่เคยใช้ทำนาหรือมีเก็บไว้ในบ้าน เช่น คันไถ ล้อเกวียน ไว้เป็นจำนวนมาก อาจารย์และนักเรียนได้ไปช่วยกันขนมาเก็บไว้บางส่วน
 
การจัดแสดงแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบน นำเสนอภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในอดีตที่มีการแลกเปลี่ยนผสมผสานกันระหว่างคนไทย มอญ ลาว จีน และมุสลิม รวมทั้งในการค้าระหว่างชุมชน อาทิ คนไทยนำต้นแสมมาทำเป็นฟืนไปแลกโอ่งของชาวมอญ นอกจากนั้นยังนำเสนอภูมิปัญญาของชาวน้ำริมคลอง จัดแสดงอุปกรณ์จับสัตว์น้ำชนิดต่างๆ  และเครื่องดักสัตว์ ในพื้นที่ที่จัดเป็นกระท่อมจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของชนชาติ เช่นที่ทำทองม้วนของไทย ทำขนมเปี๊ยะของจีน เตาดินปั้นโอ่งของมอญ เครื่องมือทอผ้าของชาวลาว ที่น่าสนใจคือผ้าเข็มทองทอมือ 2 ผืนอายุราว 200 ปี รวมทั้งการนำเสนอภาพวิถีชีวิตชาวบ้านในด้านต่างๆ  ผ่านเครื่องใช้ในบ้าน เครื่องดนตรี เงินตรา 
 
ชั้นล่าง จัดแสดงแบบจำลองวิถีชีวิตชาวบ้าน อาทิ ขบวนเรือในคลองสำโรงแห่งหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ ในประเพณีรับบัว ตลาดน้ำที่มีการใช้เรือต่างๆ ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 90 ปี และเรือเครื่องลำแรกในคลองสำโรง พร้อมเครื่องมือจับปลาพื้นบ้าน
 
ข้อมูลจาก : 
การสำรวจภาคสนาม วันที่ 11 สิงหาคม 2546
แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 123.
ชื่อผู้แต่ง:
-