พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง


พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างเป็นอาคารกุฏิเดิมของพระครูนนทวัตรวิบูลย์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและร่วมกับชาวบ้านบางอ้อยช้างในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ราว พ.ศ. 2542 ลักษณะเด่นของพิพิธภัณฑ์คือ ยังใช้เป็นอาคารฉันท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่ชั้นล่างขออาคาร ซึ่งได้มีการให้อาคารเป็นเรือนปูน ส่วนในชั้นที่ 2 และ 3 เป็นบริเวณจัดแสดงวัตถุข้าวของของพิพิธภัณฑ์ ตัวอาคารเป็นเรือนไม้ที่มีมุขด้านหน้ายื่นจากส่วนหลัก และเป็นบันไดขึ้นสองทาง ภายในพิพิธภัณฑ์ทั้ง 3 ชั้นได้รวบรวมมรดกของเก่าล้ำค่าไว้มากมาย เช่น สมบัติมีค่าอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เครื่องถ้วยชามของจีนในสมัยราชวงศ์ชิงและสมุดข่อยโบราณ ชุดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวสวนเมืองนนท์ เช่น หม้อไว้เพาะทุเรียน หม้อหุงข้าว ไห โอ่งทำมือยุคแรกของจีนมีสีเขียวหยก เป็นต้น

ที่อยู่:
79 บ้านบางอ้อยช้าง หมู่ที่ 2 ซ.บางกรวย-ไทรน้อย 29 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
โทรศัพท์:
0-2447-5124, 08-1268-1723, 02-883-7203
วันและเวลาทำการ:
เปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-13.00 น. หากต้องการเจ้าหน้าที่นำชมกรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2541
ของเด่น:
เครื่องถ้วยชามของจีนในสมัยราชวงศ์ชิงและสมุดข่อยโบราณ
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 18 มิถุนายน 2555

โดย: -

วันที่: 18 มิถุนายน 2555

ไม่มีข้อมูล

"วัดบางอ้อยช้าง" มรดกล้ำค่าแห่งเมืองนนท์

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 23 มีนาคม 2554

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เที่ยวชม'พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง'กราบพระพุทธบาทอายุกว่า 200 ปี

ชื่อผู้แต่ง: ธันสิตา จินากุล | ปีที่พิมพ์: ​เสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2554

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้าน​เมือง

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง

พิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างเป็นอาคารกุฏิเดิมของพระครูนนทวัตรวิบูลย์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและร่วมกับชาวบ้านบางอ้อยช้างในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ราว พ.ศ. 2542 พิพิธภัณฑ์มีวัตถุประสงค์สำคัญสำหรับเป็นสถานที่เก็บรักษาสมบัติ วัตถุโบราณที่มีอยู่กับวัด และชุมชนบางอ้อยช้าง ลักษณะเด่นของพิพิธภัณฑ์คือ ยังใช้เป็นอาคารฉันท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่ชั้นล่างขออาคาร ซึ่งได้มีการให้อาคารเป็นเรือนปูน ส่วนในชั้นที่ ๒ และ ๓ เป็นบริเวณจัดแสดงวัตถุข้าวของของพิพิธภัณฑ์ ตัวอาคารเป็นเรือนไม้ที่มีมุขด้านหน้ายื่นจากส่วนหลัก และเป็นบันไดขึ้นสองทาง


ในชั้นที่หนึ่งของอาคาร มีกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาที่มาจากการบริจาคของชาวบ้าน และห้องจัดแสดงที่ทำงานร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร คุณธีรวัฒน์ กลีบผึ้ง ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องราวการทำงานร่วมกับนักศึกษา


ห้องนี้ครับเป็นความทรงจำและความภาคภูมิใจที่ทำร่วมกับ นศ. ศิลปากร คือห้องที่ นศ. ศิลปากร จัดนิทรรศการหลังจากที่เรียนหนังสือแล้ว คือการย่อชุมชนและวัดมาอยู่ในห้องนี้ ห้องเดียว จะบอกวิถีชีวิต การทำขนมรับใช้พระราชวังมีอะไรบ้าง เช่น เครื่องอัดผ้าที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิตของขุนนาง


นศ. ศิลปากร เข้ามาไม่เต็มเทอมเมื่อ พ.ศ. 2549-2553สูตรขนมนี้เป็นผลงานของนักศึกษา ที่ได้ถ่ายทำต้นตำรับขนมที่หายสาบสูญไปแล้ว เช่น ช่อม่วง พระและขุนนางที่คิดว่าฉันจำเจ แล้วไม่อยากฉัน  ทำอย่างไรก็ได้ให้ฉันได้มากขึ้น ก็เลยปั้นเป็นขนมประดิษฐ์ขึ้นมา โดยตัวแป้งและไส้ เป็น 'ขนมช่อม่วง' เราได้ขอจดไว้ เพราะคนที่เป็นต้นตำรับสืบตระกูลมา ปัจจุบันอายุเก่าสิบกว่า จะเสียชีวิต และได้ถ่ายทอดให้กับบุคคลบางคนเท่านั้นเอง เราก็จดไว้ก่อน


นี่เป็นฝาประตูวิหาร แล้วดัดแปลงไปทำอย่างอื่น ผมได้เก็บมา ต้องเข้าใจว่าวัดชนบทพัฒนาตามวิถีของชาวบ้าน


ถ้วยชามที่พบที่วัดบางอ้อยช้าง เป็นการค้าขายหรือแลกเปลี่ยนกับจีนโดยตรง ร้อยเปอร์เซ็นต์ อยู่ในช่วงของราชวงศ์ชิงกับหมิง ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ แล้วก็ถ้วยคาวหวาน ซึ่งวัดได้ติดต่อกับจีนโดยตรง


ส่วนอันนี้ สำคัญ สามง่าม” [แสดงอาวุธที่เรียกว่าสามง่าม หรือ โตมร] แสดงให้เห็นว่าเราไปร่วมรบกับพระเจ้าตาก หลายครั้งเวลาผมเล่า นักท่องเที่ยวหรือนักศึกษามองว่าตลก แต่เมื่อเราทดสอบแล้วอายุไม้หรือสามง่ามแล้ว เป็นร้อยปี อาวุธสามง่ามในปัจจุบัน เราเจอของปลอม ที่เขาทำใหม่  แต่นี่เป็นของดั้งเดิม ที่เจ้าของบ้านไม่ได้ถามหาแล้ว เราเจอปอกที่เป็นสำริดที่ยังคงอยู่ และที่สำคัญ เราพออาวุธ ที่บอกว่าคนไทยมีแสนยานุภาพทีเดียว รบกับพม่าสามแสน รบชนะได้อย่างไรโดยพระเจ้าตาก


นั่นคือการเปลี่ยนบุคคลคนหนึ่งให้เป็นได้ทั้งสามทัพ คือ ทัพเดินเท้า ทัพบนหลังม้า บนหลังช้าง คือการใช้อาวุธอันเดียว เพื่อจะสู้กับดาบ หรือปลดดาบได้ พอเข้าเปลี่ยนเป็นทัพม้า ต้องเปลี่ยนเป็นทัพม้า โดยฉับพลัน [แสดงให้เห็นการแยกส่วนประกอบของอาวุธ] อันนี้เป็นตัวดั้งเดิมซึ่งหายาก

ส่วนอันนี้เป็นดาบปลายปืนของฝรั่งเศส ชาวบ้านเอาไปเสียบไว้ที่ยอดไม้สอยมะม่วง ผมเป็นคนเจอ อยู่ใต้ถุนบ้านเลยเก็บมา ผมไปเอามาตั้งแต่ 2542 ส่วนอันนี้เป็นตำรายา แล้วยังมีอีกไม่น้อย แล้วยังมีฉบับหลวง และทศชาติชาดกปลายรัชกาลที่สาม สี่ ยังมีคำสวดพระมาลัยที่ทรุดโทรมกว่าอันนี้มาก ตามสภาพ จนเรามาพบจึงได้แยกออกมา


ส่วนบนชั้น 2 ของอาคาร ข้าวของหลักๆ จะเป็นตู้พระธรรมลายรดน้ำ และข้าวของอีกหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจการของวัด คุณธีรวัฒน์ยกตัวอย่างหลายจุดที่น่าสนใจ


“[ภาพเขียน perspective] อาจารย์ประพัฒน์เขียนไว้ สมัยนั้น ถ้านับอายุ ตกเจ็ดสิบปี การเขียนแบบนี้ ไม่มีใครเขียนเท่าไร ซึ่งภาพแสดงให้เห็นถึงแปลนวัด อาคารนี้เป็นหอฉัน ซึ่งเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ หอระฆังอยู่นี่กุฏินี้ยังไม่มี แล้วยังมาศาลาพักเป็นขวาง อันนี้ศาลาเรียนหนังสือ อันนี้เป็นกุฏิห้าห้อง ทรงไทยทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันไม่มีแล้ว เอาไม้มาทำอาคารอื่นหมด ตอนนั้น อยู่ไม่ได้ต้องรื้อ ศาลาอันนี้ยังอยู่อายุร้อยปี ที่มีภาพเขียนบนฝ้าเพดาน ตอนนี้ เราไม่ได้เปิดแบบทางการ หากมีคณะใหญ่ๆ มาชม เราก็เปิดให้


วัดบางอ้อยช้าง เป็นวัดพุทธศาสนาจริงๆ ไม่มีพุทธพาณิชย์ ไม่ทำพระเครื่อง ไม่มีงานมหรสพ อาคารที่ทำพิธีกรรมของสงฆ์ ก็ไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเมื่ออดีต


ขึ้นมาชั้นบนเจอตาลปัตรของรัชกาลที่ห้า กรมพระยานิริศฯ เป็นคนออกแบบ ในพิธีรัชมังคลาภิเษกที่อยุธยา ในประเทศไทยน่าจะมีสิบห้าด้าม เป็นตรานารายณ์ทรงครุฑ เป็นตราประจำรัชกาลที่ห้า ซึ่งน่าจะเป็นตาลปัตรชนิดเดียวที่ใช้ตราประจำพระองค์มาอยู่ที่ตาลปัตร ซึ่งโดยปกติไม่ทำ แต่น่าเสียดายที่วัดบางอ้อยช้างถูกโจรกรรมทองคำกับงาช้างไปแล้ว ทำให้ตาลปัตรทรุดโทรม ทองคำ เป็นองค์ประกอบของกระจังหน้า งาช้าง เป็นส่วนที่คอกับที่ฐาน แต่ตาลปัตรนี้สำหรับพิธี ไม่ใช่ตาลปัตรหลวง เพราะหากเป็นตาลปัตรหลวง ด้ามจะเป็นงาช้างทั้งหมด เราถือว่าหลวงเหมือนกันแต่เป็นหลวงพิธี

แล้วมีเสื้อนาคของหลวงปู่ นั่นคือ พ่อแม่จะได้บุญใหญ่ที่สุดคือการบวชลูกที่เป็นผู้ชาย การทำของสำหรับบวช ซึ่งอีสานยังทำอยู่ ไม่จะเป็นจีวร เสื้อนาคแม่ต้องเย็บเอง พอลูกอายุสิบเจ็บสิบแปดก็เย็บเสื้อ


ส่วนอีกอันหนึ่งคือตะลุม ซึ่งเป็นศิลปะมอญแล้วมาถ่ายทอดให้คนนนทบุรี ซึ่งในปัจจุบัน จดลิขสิทธิ์เป็นของคนนนทบุรีไปแล้ว ที่วัดบางอ้อยช้างมีมากที่สุดถึงหกใบ


จากนั้น คุณธีรวัฒน์พาไปสังเกตลายตู้พระธรรม ลวดลายแสดงเรื่องราวการค้าขายกับจีน ล้อเลียนอย่างนี้เลย แล้วก็ชาวยุโรป ตู้อื่นมีหนังสือทั้งหมด แต่ตู้นี้ มีหนังสือหลายเล่มสำคัญมาก ราชกิจจานุเบกษาสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรุดโทรมพอสมควร


จากนั้นคุณธีรวัฒน์ยังนำไปบริเวณอื่นๆ ที่น่าสนใจภายในวัด เช่น รอยพระพุทธบาท พระประธานในพระอุโบสถ จุดที่น่าสนใจที่ไม่ควรพลาด หากได้มีโอกาสมาเยือนวัดบางอ้อยช้างนี้ คือศาลาการเปรียญ


ปัจจุบันใช้งานน้อยมาก ยกเว้นวันพระสำคัญ ภาพในกรอบของเหม เวชกรที่อยู่ทศชาติชาดก ที่นี่ อาจารย์หลายคนว่า เก็บไว้ให้ดี อันนี้ เราทราบว่าลพบุรีมีแต่ใหม่กว่านี้ ผมว่าถ้าอันนี้จดทะเบียนน่าจะเก่าแก่กว่าวัดโพธิ์


ภาพพระพุทธบาท [บนฝ้าเพดาน] กล่าวถึงพระไตรปิฎกทั้งฉบับ  เพราะเราพบตัวเลข การวาดแบบดอกไม้ น่าจะเป็นช่างคนเดียวกับช่างที่วาดที่วัดสระบัว เป็นงานช่างเพชรบุรี ที่เราทราบว่าเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก เพราะจำนวนกลีบของบัวที่เป็น สี่ แปด สิงสอง ซึ่งถือเป็นตัวเลขตามสมาธิของพระพุทธเจ้า


ภาพตรงกลาง ภาพสำเร็จ แต่ภาพติดกันบอกว่า พระพุทธเจ้าก่อนที่จะสำเร็จต้องตัดกิเลสจากมารทั้งเก้า สัญลักษณ์ที่แทนใช้วงกลมทั้งเก้าวง แล้วมีวงกลมกลาง รวมทั้งกลีบดอกไม้ ตามจำนวนสมาธิขึ้นสุดท้าย พระพุทธเจ้าเหยียบทั้งสามโลก เราไม่เห็นในโลกต่ำ ส่วนโลกที่เราอยู่เห็นที่ไหนก็ได้ แล้วก็โลกสูงเราไม่เห็น แล้ววาดพระพุทธบาทที่อยู่บนสวรรค์บนฝ้าเพดาน
----------------------------------------------------
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ /ผู้เขียน
ข้อมูลจาก  :  สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่  5 เดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2554

ชื่อผู้แต่ง:
-

"วัดบางอ้อยช้าง" มรดกล้ำค่าแห่งเมืองนนท์

"บางอ้อยช้างโอ้ช้างที่ร้างโขลง มาอยู่โรงรักป่าน้ำตาไหล พี่คลาดแคล้วแก้วตาให้อาลัย เหมือนอกไอยราร้างฝูงนางพัง ฯ" ......โดยสุนทรภู่ ที่ฉันนำกลอนบทนี้มาเปิดเรื่อง ก็เพราะอยากจะพาพี่น้องย้อนเวลากลับไปในอดีตในสมัยอยุธยา ชุมชน "บางอ้อยช้าง" แห่งนี้เคยมีต้นอ้อยช้างอยู่มาก โดยต้นอ้อยช้างไม่เหมือนกับต้นอ้อยธรรมดา แต่เป็นต้นไม้ยืนต้นมีใบคล้ายใบโพธิ์ มีกิ่งเป็นชั้นๆ เป็นไม้เนื้ออ่อนคล้ายต้นงิ้ว มีรสหวานเจือรสฝาด เป็นที่ชื่นชอบของช้าง ซึ่งช้างจะกินเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรค อีกทั้งต้นอ้อยช้างนี้ยังใช้เป็นที่รองพระที่นั่งบนหลังช้าง เวลาออกทัพไกลๆอีกด้วย ชุมชนนี้จึงมีหน้าที่ส่งส่วยอ้อยขึ้นไปเลี้ยงช้างหลวงที่กรุงศรีอยุธยา เดิมจึงเรียกชุมชนบางอ้อยช้างว่า "บ้านส่วยช้าง"
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-