โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 11 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 11 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 11 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 11 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 11 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 13 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 13 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 13 มิถุนายน 2557
โดย: -
วันที่: 13 มิถุนายน 2557
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12 ก.พ. 2556;12-02-2013
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 27 มีนาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
เรียนรู้วัฒนธรรมสุขภาพ ที่หอประวัติศาสตร์สุขภาพ
“มีอดีตในปัจจุบัน
มีจักรวาลในเรือนร่างมนุษย์
สิ่งสามัญให้กำเนิดสูงสุด
สิ่งสมมติดำรงอยู่คู่สัจธรรม”
วลีแรกในป้ายนิทรรศการที่ปะทะตรงหน้าผู้ชม เมื่อก้าวเข้าสู่ นิทรรศการถาวร “100 บุคคล ร้อยความคิด ร้อยสิ่งประดิษฐ์ ร้อยเรื่องราว” ของหอประวัติศาสตร์สุขภาพ ทำให้เริ่มลองคิดและตั้งคำถามกับเรื่องราวของสุขภาพที่มีหลากแง่หลายมุม ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว วิธีคิด ความเชื่อ ค่านิยม ที่แตกต่างก็ทำให้เกิดวัฒนธรรมเกี่ยวกับสุขภาพหลากหลายระบบ
พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้บอกเล่าความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงของความคิด ความเชื่อ วิถีปฏิบัติ ในระบบสุขภาพไทย โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 9 โซน ได้แก่ “จักรวาลภายใน จักรวาลภายนอก” “พหุลักษ์ทางการแพทย์” “ภูมิปัญญาสุขภาพ” “การแพทย์ในสถานการณ์วิกฤต” “สุขภาวะทางจิตวิญญาณ” “รอยเวลาเส้นทางสุขภาพไทย” “ความตายและวาระสุดท้ายของชีวิต” และ “สุขภาพกับสังคม” ผู้จัดทำนิทรรศการไม่ได้กำหนดลำดับการเดินชมก่อนหลัง ดั้งนั้นผู้ชมสามารถเลือกเดินเดินชมโซนใดก่อนก็ได้ ตามแต่ความสนใจ
ผู้เขียนขอนำเอาเรื่องราว เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย และดาวเด่นที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจในพิพิธภัณฑ์นี้มาบอกเล่า โดยไม่ได้เล่าเป็นโซนๆ ตามการจัดแสดง
“การยอมให้ผู้ชายทำคลอด” เดิม ในราชสำนักการแตะต้องตัวสตรีในราชสำนักถือเป็นเรื่องต้องห้าม แม้ในยามเจ็บป่วยเช่นในเวียดนาม หมอหลวงอาจตรวจชีพจรได้เพียงวางนิ้วมือบนข้อมือที่พันด้วยผ้าไหม ในไทยการทำคลอดแบบตะวันตก ได้รับการยอมรับเฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงในราชสำนักสยามก่อน ในสมัยหมอบรัดเลย์ ซึ่งมีผลให้วิทยาการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับและหยั่งรากลึกในสังคมไทยในเวลา ต่อมา
“กินกับให้มาก กินข้าวแต่พอควร”เพื่อวัฒนธรรมและ อนามัย คำโฆษณาในโปสเตอร์รณรงค์โครงการส่งเสริมอาหารของชาติ ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่รณรงค์ให้คนไทยเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติให้เป็นฝรั่งตั้งแต่หัวจรดเท้า ไม่เว้นแม้กระเพาะอาหาร เพราะเห็นว่าอาหารจำพวกผักจิ้มน้ำพริกไม่เพียงพอ ควรต้องดำเนินรอยตามหลักโภชนาฝรั่ง เน้นกินกับข้าวมากขึ้น มีไข่ในสำรับ ซึ่งวิธีคิดและความเชื่อของสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปยุคสมัย เมื่อปัจจุบันเราพบว่าอาหารพื้นบ้านของไทยหลายอย่างมีประโยชน์ ทานแล้วไม่อ้วน ไม่เป็นโรค
“ขาวไว้ก่อนใครสอนไว้” ค่านิยมเรื่องความขาวเป็นมรดกยุคล่าอาณานิคม ทำให้คนไทยเชื่อว่าความขาวคือความศิวิไลซ์แบบหนึ่ง โฆษณาผงซักฟอกรินโซ่ในยุคหนึ่งชุด “เสื้อขาวงานก้าวหน้า” ที่พูดถึงหญิงคนหนึ่งใช้ผงซักฟอกรินโซ่ เสื้อผ้าเธอจึงขาว ทำให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ค่านิยมเรื่องความขาวดังดำรงอยู่อย่างเหนียวแน่นในปัจจุบัน ทั้งผิวขาว วงแขนขาว
“ตรอก(หมอ)เพชร(หมอ)พลอย” ย่านสี่พระยา ตรอกเพชรพลอย อาจเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นแหล่งร้านค้าเพชรพลอยที่สำคัญในกรุงเทพฯ แต่แท้ที่จริงแล้วคำว่า เพชร-พลอย ในที่นี้มาจากชื่อ “หมอเพชร-หมอพลอย” หมอฝาแฝดผู้เป็นตำนานการแพทย์แผนไทย ต้นตระกูล “แพทยานนท์” ได้รับการยกย่องอย่างสูงในวงการแพทย์แผนไทยและในหมู่คนทั่วไป บ้านของหมอเพชร-หมอพลอย จึงกลายเป็นชื่อเรียกตรอกหมอเพชรหมอพลอย
“หมอพระ ผู้เยียวยาความป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ”วัด ถือเป็นศูนย์กลางความรู้ของชุมชน เป็นทั้งห้องสมุด ห้องเรียน โรงทาน โรงพยาบาล สมุดไทย ตำรายาต่างๆ ถูกจารและเก็บไว้กับวัดจำนวนไม่น้อย ปัจจุบันยังมีหลายวัดที่ยังสืบทอดหน้าที่ดังกล่าว เช่น วัดหนองหญ้านาง จ.อุทัยธานี พระครูอุปการพัฒนากิจ เปิดวัดเป็นสถานที่บำบัดผู้ป่วย จนกระทรวงสาธารณสุขเห็นคุณค่า มาจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านไทยขึ้น ในปี พ.ศ. 2547
“ยายเนียม หมอตำแยคนสุดท้ายเมืองชาละวัน” ใน ยุคที่ยังไม่มีสูตินารีแพทย์ หมอตำแยเป็นผู้ที่ขาดไม่ได้ในทุกหมู่บ้าน การเป็นหมอตำแยไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องสืบทอดความรู้ต่างๆ จากครู และครูเห็นว่ามีความรู้และคุณธรรมมากพอที่จะรับผิดชอบชีวิตแม่และเด็กได้ “ยายเนียม อินปรางค์” หมอตำแยคนสุดท้ายของเมืองพิจิตร สืบทอดอาชีพหมอตำแยจากผู้เป็นพ่อ ความเก่งกาจของยายเนียมคือไม่เคยมีใครตายคามือสักคนเดียว แต่เมื่อการแพทย์เจริญก้าวหน้าหน้าที่ของหมอตำแยอย่างยายเนียม จึงค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคม
“ตู้พระฤาษี” ตั้งอยู่กลางห้องในส่วนโซนภูมิปัญญาสุขภาพ มีเครื่องสักการะอยู่รายล้อมด้านนี้ โดยทางพิพิธภัณฑ์เปิดพื้นที่ให้ผู้นับถือสามารถเข้ามาเข้ามาสักการะได้ ภายในตู้พระฤาษีมีรูปปั้นของพ่อปู่ชีวก พระฤาษี 9 ตน และลูกกรอก ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์ได้รับมอบมาจากทายาทรุ่นหลานของหมอเพชร
“ลูกระเบิดอังท้อง” ที่ เกาะปอ จ.กระบี่ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมีระเบิดถูกทิ้งไว้จำนวนมากตามชายหาด ระเบิดบางลูกเกลี้ยงคล้ายหิน ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นระเบิดที่ด้านแล้ว จึงนำมาใช้แทนหินก้อนเส้าหลังคลอดบุตร เหตุผลที่ใช้ระเบิดมาแทนหิน เพราะคุณสมบัติที่ร้อนนานกว่า ไม่ต้องคอยแกะห่อผ้ามาอังไฟบ่อยๆ และมีขนาดพอเหมาะ หญิงเคราะห์ร้ายเข้าใจว่าระเบิดลูกนี้ไม่ทำงานแล้ว แต่ในที่สุดก็เกิดโศกนาฏกรรมขึ้น
“หนังสือแสดงเจตนาการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต” เป็น แนวคิดมาจากตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960-1970 เน้นสิทธิในการกำหนดชีวิตตัวเอง พร้อมๆ กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการยื้อชีวิต แต่เรื่องนี้ก็มีการถกเถียงกันมาก ในระยะหลังได้มีการเสนอให้ใช้ “การวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า” เข้ามาแก้ปัญหาเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆ อันเกิดจากการรับหรือปฏิเสธการรักษา
“...ถึงที่สุดแล้วจะจากไปเพราะ เหตุใดก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า มีชีวิตอยู่อย่างไร และพร้อมเผชิญความตายอย่างมีสติแค่ไหน นี่ต่างหากคือบทเรียนที่สำคัญที่สุด...” พระไพศาล วิสาโล
หอประวัติศาสตร์สุขภาพ ยังมีข้าวของและเรื่องราวที่น่าสนใจ น่าขบคิด เกี่ยวกับระบบสุขภาพอีกมาก ซึ่งสะท้อนพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ในอีกแง่มุม หากสนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม สามารถขอใช้บริการได้ที่ "หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย" ซึ่งเป็นหน่วยงาน "หลังบ้าน" ของหอประวัติศาสตร์สุขภาพ ที่ได้รวบรวม เก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุและวัตถุพยานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับระบบสุขภาพไทย ทั้งจากส่วนบุคคล ภาครัฐ ภาคประชาชน อาทิ ชุดเอกสารของศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม พ่อทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ เอกสารและวัตถุของมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กองสุขศึกษา ฯลฯ นอกจากนี้จัดพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สุขภาพ และที่เกี่ยวข้องอีกมาก
ปณิตา สระวาสี :เขียน
ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556
แผ่นพับประชาสัมพันธ์หอประวัติศาสตร์สุขภาพ
รีวิวของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทยมีการพัฒนาควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมไทยตั้งแต่อดีต ในระบบดั้งเดิมของสังคมสยาม สุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่ผสมผสานวัฒนธรรมแบบพุทธ พราหมณ์ ผี และประเพณีวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆภายใต้ระบบศักดินา ความเจ็บป่วยในราชสำนักถูกจัดการด้วยหมอหลวง ส่วนไพร่หรือสามัญอาศัยยากลางบ้าน หรือหมอเชลยศักดิ์ ผสมผสานกับการเยียวยาตามศรัทธาความเชื่อท้องถิ่น จวบจนการเข้ามาของแพทย์แผนปัจจุบันที่ทำให้เกิดระบบบริการสุขภาพสมัยใหม่ขึ้น อาจจะกล่าวได้ว่า การที่แพทย์ตะวันตกได้รับการเผยแพร่เข้าสู่สังคมไทยควบคู่กับการที่จักรวรรดินิยมตะวันตก ได้กดดันและคุกคามต่อรัฐไทยในยุคนั้น ก่อให้เกิดการขยายบทบาทและอำนาจของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการจัดหาบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ผลการพัฒนาดังกล่าวนั้นได้ทำให้การแพทย์กลายเป็นปริมณฑลของความรู้ตะวันตก และที่สำคัญได้ทำให้ระบบวิธีคิดทางการแพทย์ของสังคมไทยค่อยๆเปลี่ยนจากเดิมไปตลอดระยะเวลากว่าร้อยปีของกระทรวงสาธารณสุขนั้น มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น นับว่าเป็นประวัติศาสตร์และพัมนาการของระบบสุขภาพประเทศที่ทรงคุณค่าแก่การเรียนรู้ แม้ว่าการเรียนรู้ ความเข้าใจ และสำนึกทางประวัติศาสตร์จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่ในช่วงที่ผ่านมา ความสนใจที่จะศึกษาและการเรียนรู้จากอดีตยังมีอยู่อย่างจำกัด ความรู้ทางประวัติศาสตร์จะเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดไว้แต่ในด้านการแพทย์สาธารณสุข ทั้งยังมีลักษณะหยุดยิ่ง ความสนใจในมิติทางประวัติศาสตร์สุขภาพอื่นๆ เช่น พัฒนาการของวัฒนธรรมสุขภาพไทย ประวัติศาสตร์การแพทย์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคมของโรคและความเจ็บป่วย ประวัติศาสตร์การเมืองของสาธารณสุขของไทย ประวัติศาสตร์จากมุมมองของชาวบ้าน หรือการบันทึกชีวประวัติของบุคคลสำคัญในวงการสาธารณสุข ล้วนแต่ยังมีการดำเนินการน้อย ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นกับระบบสุขภาพไทย เช่น การปฏิรูประบบสุขภาพ การกระจายอำนาจการปฏิรูประบบราชการและนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ ก็จำเป็นต้องมีการศึกษาจดบันทึกและตีความในเชิงประวัติศาสตร์ทั้งในอนาคตทั้งสิ้น
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยขึ้น โดยมีสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เป็นสำนักบริการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมจัดเก็บเอกสารที่มีคุณค่า อันเป็นแหล่งความรู้และสำนึกทางประวัติศาสตร์สุขภาพของไทย และเป็นแหล่งที่ให้การสนับสนุนการศึกษา วิจัยค้นคว้า เพื่อสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์และมิติทางสังคมของระบบสุขภาพ การแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งเผยแพร่ให้ความรู้ เพื่อให้สังคมการแพทย์สาธารณสุข สถาบันการศึกษาและการวิจัย ตลอดจนสาธารณชนได้ศึกษาเรียนรู้และเกิดความเข้าใจในรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของระบบสุขภาพไทย หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ตามมติของคณะกรรมการอำนวยการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ระบบสุขภาพไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและทำนุบำรุงรักษา เอกสาร สื่อ ตลอดจนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาการของระบบสุขภาพไทย มิให้เสื่อมสลายหรือสูญหายไป
2. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของระบบสุขภาพไทย ตลอดจนพัฒนาการด้านสังคม การเมืองที่เกี่ยวข้อง เพื่อปลูกฝังและสร้างความรู้ ความเข้าใจในมิติทางสังคม ประวัติศาสตร์และสุขภาพ
3. เพื่อดำเนินการวิจัยและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า เพื่อการเรียนรู้จากอดีต ตลอดจนเพื่อสร้างความร่วมมือกับสถาบันต่างๆ ในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ความเข้าใจในมิติทางสังคมของสุขภาพและการแพทย์
4. เพื่อสร้างสรรค์และปลูกฝังสำนึกและความภาคภูมิใจต่อความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ อันจะเป้นการบ่มเพาะความรักและความภาคภูมิใจในการทำงานเพื่อสร้างระบบสุขภาพไทยให้เข้มแข็ง ซึ่งในปัจจุบันหอจดหมายเหตุและ
พิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ใช้อาคารในการดำเนินงาน 3 แห่ง คือ
1. หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย เป็นสถานที่รวบรวม จัดเก็บเอกสาร หอจดหมายเหตุ และให้บริการสืบข้อมูล ตั้งอยู่ที่ อาคาร 10 ชั้น 3 สถาบันบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
2. สำนักบริการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ตั้งอยู่ที่ อาคารคลังพัสดุ ชั้น 3 ซ.สาธารณสุข 6 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
3. ส่วนจัดแสดงนิทรรศการและห้องสมุดประวัติศาสตร์สุขภาพไทย ตั้งอยู่ที่ ชั้น 1 อาคารศูนย์การสร้างและการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ (อาคารสุขภาพแห่งชาติ) ซึ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จและให้บริการแก่ผู้สนใจได้ในปี พ.ศ. 2554
สรุปความโดย วริสรา แสงอัมพรไชย
ข้อมูลจาก: แผ่นพับประชาสัมพันธ์หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี สุขภาพ การแพทย์และสาธารณสุข จดหมายเหตุ การสาธารณสุข
พิพิธภัณฑ์วัดต้นเชือก
จ. นนทบุรี
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี โรงเรียนนนทบุรีพิทยาคม
จ. นนทบุรี
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดชมภูเวก
จ. นนทบุรี