พิพิธภัณฑ์ดาวเทียม


พิพิธภัณฑ์ดาวเทียม ก่อตั้ังโดยบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดแสดงความรู้เกี่ยวกับอวกาศ และการสื่อสารผ่านดาวเทียม โดยเปิดให้คณะบุคคลต่างๆ สามารถเข้าเยี่ยมชมทัศนศึกษา รวมทั้งเปิดเป็นศูนย์ความรู้ทางดาวเทียม ให้แก่เยาวชนได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาหาความรู้ เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติในทุกๆ ปี ภายในห้องพิพิธภัณฑ์ดาวเทียมแบ่งออกเป็น 6 โซนที่สำคัญได้แก่ โซนที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับวงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbits) โซนที่ 2 ดาวเทียม จรวด และฐานยิงจรวดที่สำคัญ โซนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับดาวเทียมไทยคม เป็นโซนที่แสดงข้อมูลของดาวเทียมไทยคมทั้ง 3 ดวงได้แก่ดาวเทียมไทยคม 1A ดาวเทียมไทยคม 2 และดาวเทียมไทยคม 3 โซนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับไอพีสตาร์ เทคโนโลยีดาวเทียมบรอดแบนด์ที่ทันสมัยที่สุดในโลก และเป็นดาวเทียมดวงที่ 4 ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งถูกออกแบบให้รองรับการใช้งานด้านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โซนที่ 5 การประยุกต์ใช้งานดาวเทียม เป็นโซนที่ผู้เข้าชมจะได้ชมการสาธิตการประยุกต์ใช้งานดาวเทียมในด้านต่างๆ โซนที่ 6 โดมกลาง เป็นการแสดงโมเดลจำลองของดาวเทียมสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อการพาณิชย์ในวงโคจรค้างฟ้าจำนวนกว่า 223 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก

ที่อยู่:
บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) สถานีดาวเทียมไทยคม 41/103 หมู่ที่ 8 ถนนรัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์:
02-596-5060
วันและเวลาทำการ:
กรุณานัดหมายล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ของเด่น:
นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับดาวเทียม
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ร่วมวงโคจร ตามรอยดาวเทียม ที่ “พิพิธภัณฑ์ดาวเทียม”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 24 พฤษภาคม 2554

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ดาวเทียม

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ดาวเทียม (Satellite Museum) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นห้องจัดแสดงความรู้เกี่ยวกับอวกาศ และการสื่อสารผ่านดาวเทียมสำหรับเป็นวิทยาทานแก่บุคคลทั่วไป โดยเปิดให้คณะบุคคลต่างๆ สามารถเข้าเยี่ยมชมทัศนศึกษา รวมทั้งเปิดเป็นศูนย์ความรู้ทางดาวเทียม ให้แก่เยาวชนได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาหาความรู้ เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติในทุกๆ ปี ภายในห้องพิพิธภัณฑ์ดาวเทียมแบ่งออกเป็น 6 โซนที่สำคัญได้แก่

โซนที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับวงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbits) - เป็นการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวงโคจรที่สำคัญในรูปแบบของโมเดลจำลอง ประกอบด้วยวงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit) วงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit) วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit) วงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbit).

โซนที่ 2 ดาวเทียม จรวด และฐานยิงจรวดที่สำคัญ (Satellites, Rockets and Launch Sites)-เป็น โซนที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับดาวเทียมที่สำคัญของโลก จรวดรุ่นต่างๆ และฐานยิง โดยเป็นการนำเสนอในรูปของโมเดลจำลอง และ Software Presentation

โซนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับดาวเทียมไทยคม (Thaicom Satellite Systems -เป็นโซนที่แสดงข้อมูลของดาวเทียมไทยคมทั้ง 3 ดวงได้แก่ดาวเทียมไทยคม 1A ดาวเทียมไทยคม 2 และดาวเทียมไทยคม 3

โซนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับไอพีสตาร์ (iPSTAR Broadband Satellite System)- เป็นการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับไอพีสตาร์…เทคโนโลยีดาวเทียมบรอดแบนด์ที่ทันสมัยที่สุดในโลก และเป็นดาวเทียมดวงที่ 4 ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งถูกออกแบบให้รองรับการใช้งานด้านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต (Broadband Internet) นอกจากนั้นบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ยังมีบริการชุดอุปกรณ์ภาคพื้นดินของไอพีสตาร์ ที่สามารถใช้ร่วมกับระบบดาวเทียมปัจจุบัน โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ช่วงปลายปี 2544 ส่วนบริการไอพีสตาร์เต็มรูปแบบนั้นจะเริ่มขึ้นหลังจากดาวเทียมไอพีสตาร์ถูก ส่งขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศในปี 2546

โซนที่ 5 การประยุกต์ใช้งานดาวเทียม (Satellite Applications) --เป็นโซนที่ผู้เข้าชมจะได้ชมการสาธิตการประยุกต์ใช้งานดาวเทียมในด้านต่างๆ เช่น ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (Internet Turbo) ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมความเร็วสูง (Thaicom ProTrunk) ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมๆ ที่ใช้กับเทอร์มินอลของไอพีสตาร์ และระบบรับส่งรายการโทรทัศน์โดยตรงผ่านดาวเทียม หรือ Digital Direct-To-Home

โซนที่ 6 โดมกลาง - เป็นการแสดงโมเดลจำลองของดาวเทียมสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อการพาณิชย์ในวงโคจรค้างฟ้าจำนวนกว่า 223 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก

ข้อมูลจาก: http://www.thaicom.net/thai/about_satellite_museum.aspx [accessed 20090105]
ชื่อผู้แต่ง:
-

ร่วมวงโคจร ตามรอยดาวเทียม ที่ “พิพิธภัณฑ์ดาวเทียม”

มีใครรู้บ้างว่า ดาวเทียมสื่อสารที่เราใช้ดูโทรทัศน์กันอยู่ทุกวันนี้เป็นดาวเทียมดวงที่เท่าไรของไทย? และหลายคนคงยังจำกันได้ เมื่อไม่นานมานี้มีปรากฏการทีวีจอมืด ที่ทำเอาประชาชนผวากันทั้งชาติว่าเป็นสัญญาณของการเกิดปฏิวัติ แต่แล้วไม่นานทีวีก็กลับมาดูได้อีกครั้ง ทำเอาโล่งใจกันไปตามๆกัน จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ฉันจึงเกิดความสนใจใคร่รู้ในสิ่งที่เราผูกพันติดตามกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จึงได้เดินทางไปค้นหายังบริษัทไทยคม เพื่อไปศึกษาข้อมูลรายละเอียดต่างๆที่ “พิพิธภัณฑ์ดาวเทียม” (Satellite Museum) ถนนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี ใกล้ๆนี่เอง
ชื่อผู้แต่ง:
-