พิพิธตลาดน้อย


พิพิธตลาดน้อยตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาในชุมชนตลาดน้อยหรือ “ตั๊กลักเกี้ย” ในภาษาจีนแต้จิ๋ว เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนภายใต้การดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง มีจุดมุ่งหมายเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของผู้คนในย่านตลาดน้อย หนึ่งในย่านเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มต้นจากแนวคิดในการปรับปรุงพื้นที่ราชพัสดุที่ไม่ใช้งานแล้วอย่างโรงกลึงร้าง โดยกรมธนารักษ์ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งนักออกแบบ นักวิชาการ และคนในพื้นที่ สำหรับการออกแบบยังคงลักษณะทางสถาปัตยกรรมเดิมไว้ ทั้งได้นำวัสดุไม้จากโรงกลึงกลับมาใช้ใหม่ อีกทั้งอาคารแห่งนี้ได้รับรางวัล อาคารสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ที่สมควรเผยแพร่ จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2562 ริเริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567 ภายในพิพิธภัณฑ์มีพื้นที่จัดแสดงประมาณ 250 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้น 1 เป็นพื้นที่นิทรรศการหมุนเวียน ร้านขายของที่ระลึก และห้องประชาสัมพันธ์ ชั้น 2 จัดแสดงเรื่องราววิถีชีวิตของชาวตลาดน้อยผ่านสิ่งของ ภาพถ่าย และสื่อประสม ส่วนชั้น 3 เป็นพื้นที่ฉายวีดิทัศน์ประวัติศาสตร์ชุมชน ตามรอบทุก ๆ 30 นาที นอกจากนี้บริเวณสวนศิลป์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หน้าพิพิธภัณฑ์ยังเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการพบปะ พูดคุย และจัดกิจกรรมของคนในชุมชนและผู้มาเยือน

ชื่อเรียกอื่น:
พิพิธภัณฑ์ตลาดน้อย, สวนศิลป์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (พิพิธภัณฑ์ชุมชนตลาดน้อย)
ที่อยู่:
ท่าเรือภาณุรังษี เลขที่ 722/2 ซอยภาณุรังษี ซอยทรงวาด แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
โทรศัพท์:
02 233 7390 (พิพิธภัณฑ์), 02 233 7391 (สำนักงาน)
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันอังคาร–วันศุกร์ เวลา 08.30–16.30 น., วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00–18.00 น. หยุดทุกวันจันทร์
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
pipittaladnoi@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2567
ของเด่น:
นิทรรศการเล่าเรื่องความเป็นมาและรูปแบบวิถีการใช้ชีวิตชาวชุมชนตลาดน้อย (ตั๊กลักเกี้ย) ในอดีต เช่น สถาปัตยกรรม ศิลปะ ภูมิปัญญา พิธีกรรมความเชื่อ และอาหารการกิน, ชีวประวัติบุคคลสำคัญของตลาดน้อย, ป้ายไม้รูปโจวซือกง เป็นเทพประธานของศาลเจ้าโจวซือกงตลาดน้อย, ปออุ่ง ม้วนกระดาษสวดคาถามงคล ใช้สำหรับไหว้ขอพรและฝากดวงชะตาที่ศาลเจ้าโจวซือกง
จัดการโดย:

พิพิธตลาดน้อย

โดย: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

วันที่: 22 พฤษภาคม 2568

พิพิธตลาดน้อย

โดย: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

วันที่: 22 พฤษภาคม 2568

พิพิธตลาดน้อย

โดย: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

วันที่: 22 พฤษภาคม 2568

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวิพิพิธตลาดน้อย

พิพิธตลาดน้อย หรือ พิพิธภัณฑ์ชุมชนจีนริมเจ้าพระยา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567 ชุมชนตลาดน้อย เป็นชุมชนจีนริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เติบโตจากสำเพ็งตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ในอดีตชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนบ้านโรงกระทะ บ้านช่างหลอม ศูนย์ซ่อมบำรุงเรือ รวมไปถึงศูนย์รวมอะไหล่เก่าเซียงกง สะท้อนให้เห็นถึงความชำนาญด้านงานโลหะเป็นอย่างยิ่ง และเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย ศาลเจ้า วัดพุทธ วัดคริสต์ วัดญวน และอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบฝรั่ง พร้อมด้วยเทศกาลต่างๆ เช่น หย่วนเซียว (ไหว้เต่า) ไหว้พระจันทร์ ถือศีลกินเจ และงานแห่พระรูปพระเยซูในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ของจีนคริสตังที่วัดแม่พระลูกประคำ(กาลหว่าร์) รวมไปถึงสำเนียงภาษาและอาหารจีนฮกเกี๊ยน ฮากกา ไหลหลำ กวางตุ้ง แต่จิ๋ว มรดกวัฒนธรรมที่กล่าวมานี้ทำให้ พิพิธตลาดน้อย หรือ “ตั๊กลักเกี๊ย” ได้กลายเป็นสถานที่รวบรวมและบันทึกเรื่องราวของชุมชน จากความร่วมมือของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง และชาวบ้านชุมชนตลาดน้อย ร่วมกันเปลี่ยนพื้นที่โรงกลึงเก่าให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยยังคงสร้างเลียนแบบอาคารเดิมเพื่อเป็นการรักษาเอกลักษณ์ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้น 1 พื้นที่สำหรับประชาสัมพันธ์ ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหรียญและของที่ระลึก ที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนหรือกิจกรรม ชั้น 2 พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนย่านตลาดน้อย เช่น ข้อมูลบรรพชนคนตลาดน้อย (The Ancestors of Talad Noi Community) ข้อมูลภาษาและอาหารในตลาดน้อย ชั้น 3 พื้นที่ฉายวีดิทัศน์ประวัติศาสตร์ชุมชนย่านตลาดน้อย นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ลานกิจกรรมกลางแจ้งบริเวณท่าน้ำภานุรังษี สำหรับการพักผ่อน จัดกิจกรรมและเทศกาลต่างๆ ของชาวชุมชนตลาดน้อยและสาธารณชนทั่วไป
ชื่อผู้แต่ง:
-