หอเกียรติภูมิรถไฟ


ที่อยู่:
ถ.กำแพงเพชร 3 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์:
081-6155776
วันและเวลาทำการ:
ปิดดำเนินการ
ค่าเข้าชม:
ปิดดำเนินการ ย้ายของออกจากพื้นที่เดิม
อีเมล:
chulsiri_tui@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2533
สถานะ:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

หอเกียรติภูมิรถไฟ

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

มรดกอันหนักอึ้งแห่ง "วิริยศิริ"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1 กันยายน 2550

ที่มา: "จุดประกาย" กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

จุลศิริ วิรยศิริ “ผมไม่ได้รักรถไฟ”

ชื่อผู้แต่ง: เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ | ปีที่พิมพ์: 21 มกราคม 2553

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ปิดตำนาน 'หอเกียรติภูมิรถไฟ' ประวัติศาสตร์ที่จะสูญสลายของรถไฟไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22 มิถุนายน 2554

ที่มา: ASTVผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอเกียรติภูมิรถไฟ

หอเกียรติภูมิรถไฟกำเนิดขึ้นมาจากความร่วมมือและการรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมากมายที่รักในรถไฟ มีความฝังใจและความประทับใจเกี่ยวกับรถไฟ ภายใต้ชื่อ “ชมรมเรารักรถไฟ” โดยกว่าสี่สิบปีมาแล้ว ที่อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ แต่ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลง อาคารนี้จึงถูกทิ้งร้างไว้ กระทั่งคุณสรรพสิริ วิรยะศิริ และชาว “ชมรมเรารักรถไฟ” ได้ติดต่อขอใช้ประโยชน์เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยมีพิธีเปิด “หอเกียรติภูมิรถไฟ” อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2533

ทางชมรมเรารักรถไฟได้ตระเวนเก็บกู้ซากรถไฟที่ถูกทอดทิ้งแล้วนำกลับมาอนุรักษ์ให้คืนสภาพ ก่อนจะนำมาจัดแสดง ภายในจัดแสดงโบกี้รถไฟหลายแบบทั้งหัวรถจักรไอน้ำ หัวรถไฟดีเซลตัวแรกของประเทศไทย รถไฟพยาบาล(รถ รพ.และรถ จพ.หมายถึงรถจัดเฉพาะ) รถไฟห้องสมุด ฯลฯ ที่น่าสนใจคือ รถไฟพยาบาลที่สร้างจากไม้สักทองที่ร. 5 ทรงสั่งให้ต่อจากต่างประเทศโดยใช้ไม้สักทองจากบราซิลนำไปต่อรถไฟที่อังกฤษ ส่งมาทางเรือผ่านมลายูแล้วมาที่กรุงเทพฯ เพื่อใช้ออกไปรักษาประชาชนในต่างจังหวัดและตามหัวเมือง หมุดรถไฟอันแรกของไทยที่ขุดพบในช่วงที่มีการสร้างทางรถไฟใต้ดินที่สถานีหัวลำโพงก็มีให้ชมที่นี่ รวมถึงรถจักรไอนำรุ่น “10089” ที่ผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นเดินทางมาดูรถจักรไอน้ำ แล้วอุทานว่า “ดีสเมย์บี ดิ ลาสต์ สตีม โลโคโมตีฟ เอเว่อร์ บิลค์ แด็ท แฮส เนเว่อร์บีนยูสท์” และให้ข้อมูลว่า “10089” เป็นรถจักรไอน้ำรุ่นสุดท้ายที่บริษัทเกียวซานโกเกียวในญี่ปุ่นสร้างขึ้นก่อนเลิกกิจการ จากการถอดชิ้นส่วนออกมาตรวจโดยละเอียด พบว่าไม่มีริ้วรอยการใช้งาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตามความต้องการของบริษัทโรงงานน้ำตาลใช้ขนอ้อยจากไร่ป้อนโรงงานแต่ยังไม่ได้ถูกใช้งาน

ด้วยข้อจำกัดของสุขภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 คุณสรรพศิริได้มอบหมายให้คุณจุลศิริ ทายาทเป็นผู้ดำเนินงานในนาม “ชมรมเรารักรถไฟ” ปัจจุบันหอเกียรติภูมิรถไฟประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะเรื่องทุนรอนที่นำมาใช้ในกิจการของหอเกียรติภูมิซึ่งต้องอาศัยเงินจำนวนไม่น้อย ทั้งเรื่องการซ่อมบำรุง การดูแลรักษาความสะอาด ฯลฯ ซึ่งผู้ดูแลคงจะต้องต่อสู้ดิ้นรนต่อไปเพื่อรักษาประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของรถไฟไทยให้คงไว้เป็นอนุสรณ์ให้คนรุ่นหลังได้ร่วมภาคภูมิใจต่อไป

ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550

http://travel.sanook.com/bangkok/bangkok_08061.php วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551

หมายเหตุ ขณะนี้(มิ.ย.2554)หอเกียรติภูมิรถไฟกำลังจะปิดตัวลงเนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทยขอคืนพื้นที่ ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในกระทู้เว็บพันทิบ "ลุงตุ้ย ผู้พิทักษ์มรดกรถไฟไทย"
ชื่อผู้แต่ง:
-

รถไฟมาแล้ว !

ไม่ไกลจาก “เจเจ” หรือตลาดนัดสวนจตุจักร ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้า/สถานีรถใต้ดิน ไม่ไกลจากพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งกรุงเทพมหานคร ท่ามกลางหมู่ไม้ของสวนจตุจักร มีสิ่งก่อสร้างหลังใหญ่ตั้งอยู่อย่างสงบเสงี่ยม รูปร่างเหมือนโรงงาน โกดัง หรือไม่ก็สนามกีฬาในร่ม ถ้าผ่านในวันธรรมดาจะดูเหมือนอาคารร้างปิดตาย แต่ถ้าแวะไปใหม่ในวันเสาร์อาทิตย์ ย่อมต้องแปลกเปลี่ยนใจ เพราะที่นี่คือ หอเกียรติภูมิรถไฟ
ชื่อผู้แต่ง:
-