พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร


พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร ก่อตั้งโดยกรมวิชาการเกษตร เป็นพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกในประเทศไทย ภารกิจหลักคือเก็บรวบรวมและเก็บรักษาพรรณไม้ที่มีอยู่ในประเทศเพื่อการศึกษาวิจัย การสำรวจและรวบรวมพรรณไม้เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดย A.F.G.Kerr นายแพทย์ชาวไอร์แลนด์เป็นผู้วางรากฐานไว้ ปัจจุบันมีตัวอย่างพรรณไม้ประมาณ 60,000 ตัวอย่าง พิพิธภัณฑ์อยู่ที่ชั้นสอง มีตู้ไม้ขนาดใหญ่เท่าตู้เสื้อผ้าหลายใบวางเรียงอย่างเป็นระเบียบ ตู้เหล่านี้ใช้เก็บตัวอย่างแห้งของพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ มาเกือบ 90 ปี

ที่อยู่:
กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์:
0-2940-5628
โทรสาร:
02-940-5625 ต่อ 112
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 08.30-16.30 น
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
pvp@doa.go.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2463
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พรรณไม้หอมในสวนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ชื่อผู้แต่ง: วัชรี ประชาศรัยสรเดช(บรรณาธิการ) | ปีที่พิมพ์: 2547

ที่มา: กรุงเทพฯ:กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หนังสือที่ระลึกในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร

ชื่อผู้แต่ง: วัชรี ประชาศรัยสรเดช(บรรณาธิการ) | ปีที่พิมพ์: 2544

ที่มา: กรุงเทพฯ:กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช กรมวิชาการเกษตร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ถั่ว สารพัดประโยชน์

ชื่อผู้แต่ง: ทิพย์พรรณ สดากร | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: กรุงเทพฯ:กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช กรมวิชาการเกษตร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ผักพื้นเมืองเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 50 พรรษา 2 เมษายน 2548

ชื่อผู้แต่ง: วัชรี ประชาศรัยสรเดช(บรรณาธิการ) | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: กรุงเทพฯ:กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พรรณไม้ต้นแบบในพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพฯ เล่ม 1 : วงศ์ ACANTHACEAE ถึง วงศ์ BEGONIACEAE

ชื่อผู้แต่ง: ทิพย์พรรณ สดากร (บรรณาธิการ) | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: กรุงเทพฯ:กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ความหลากหลายของพืชพื้นเมืองในประเทศไทย ชุดที่ 1 พืชสกุลมะเขือ

ชื่อผู้แต่ง: วินัย สมประสงค์ (บรรณาธิการ) | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: กรุงเทพฯ:กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เรียนรู้พืชพรรณที่ "พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร"

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 13 พฤษภาคม 2553

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร

พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพเป็นพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกในประเทศไทย ภารกิจหลักคือเก็บรวบรวมและเก็บรักษาพรรณไม้ที่มีอยู่ในประเทศเพื่อการศึกษาวิจัย การสำรวจและรวบรวมพรรณไม้เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดย A.F.G.Kerr นายแพทย์ชาวไอร์แลนด์เป็นผู้วางรากฐานไว้ ปัจจุบันมีตัวอย่างพรรณไม้ประมาณ 60,000 ตัวอย่าง 

พิพิธภัณฑ์อยู่ที่ชั้น 2 ของอาคารพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธรซึ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นห้องสมุดซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้ ส่วนชั้น 3 มีห้องทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในฐานะองค์ประธานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของประเทศไทย ห้องประชุม ห้องรวบรวมตัวอย่างเมล็ดแห้ง ห้องเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในสารเคมี ห้องรวบรวมตัวอย่างดองของพืช สำหรับนักวิจัยเข้ามาศึกษาค้นคว้า อีกห้องหนึ่งเป็นห้องจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านที่ทำจากพืชซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ

พิพิธภัณฑ์เป็นห้องกว้างครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของชั้น มีตู้ไม้ขนาดใหญ่เท่าตู้เสื้อผ้าหลายใบวางเรียงอย่างเป็นระเบียบ ตู้เหล่านี้ใช้เก็บตัวอย่างแห้งของพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆมาเกือบ 90 ปี จัดแบ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่ และพืชเมล็ดเปลือย นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างบางส่วนที่ดองไว้ในขวดใส สำหรับพรรณไม้ต้นแบบ (type specimens)ถูกแยกเก็บไว้ในห้องปรับอากาศ พืชกลุ่มนี้มีคุณค่าเพราะเป็นตัวอย่างอ้างอิงแรกในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อเหล่านี้เกือบทั้งหมดพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว บางตัวอย่างเก็บโดย A.F.G.Kerr โดยมีลายมือของท่านบันทึกไว้ด้วย ตัวอย่างพันธุ์พืชแต่ละชนิดที่เก็บจะมีการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ชื่อวิทยาศาสตร์ สถานที่ที่พบ ลักษณะทางนิเวศวิทยาหรือสภาพแวดล้อม ชื่อพื้นเมือง และการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชนั้นๆ 

ก่อนที่จะเป็นตัวอย่างพืชที่เก็บไว้ในตู้เหล่านี้ แต่ละตัวอย่างจะต้องผ่านขั้นตอนตามมาตรฐานตามหลักวิชาการ เริ่มตั้งแต่การเลือกส่วนที่แสดงลักษณะของพืชนั้น เช่นมีดอกสมบูรณ์หรือมีผล เมื่อนักวิจัยเก็บตัวอย่างพืชในธรรมชาติมาแล้วจะต้องทำให้แห้งโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ขึ้นราและรักษาสีให้ใกล้เคียงสภาพเดิมมากที่สุด โดยนำตัวอย่างมาวางระหว่างแผงอัดพันธุ์ไม้ สอดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษซับ คล้ายกับการทำแซนวิช แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง ถ้าไม่มีแดดอาจใช้เตาหรือตะเกียง หรือเข้าเตาอบ ต่อจากนั้นต้องนำมาชุบน้ำยาซึ่งเป็นพิษ เมื่อน้ำยาแห้งแล้วจึงนำไปติดหรือเย็บบนกระดาษซึ่งเป็นกระดาษแบบมาตรฐานที่ใช้กันในพิพิธภัณฑ์พืชทั่วโลก แล้วจึงนำไปเก็บในตู้ แต่เนื่องจากเมืองไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น มีแมลงรบกวนมาก การรักษาตัวอย่างพืชไม่ให้เสื่อมสภาพและกำจัดแมลงจะต้องนำตัวอย่างพืชสลับกันไปแช่แข็งเป็นระยะ ตู้แช่แข็งของที่นี่อุณหภูมิถึง -40องศาเซลเซียส

พืชบางชนิดที่ไม่สามารถเก็บในรูปของตัวอย่างแห้งจะถูกดองเก็บไว้ในขวดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมหลักวางเรียงกันอยู่บนชั้นแยกตามวงศ์ เช่น พืชวงศ์ขิง วงศ์กล้วยไม้ วงศ์ชาฤาษี และวงศ์นกกระทุง เป็นต้น ในส่วนนี้มีพันธุ์ไม้แปลกที่ถูกดองเอาไว้ เช่น “พืชกินซาก” เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่หาดูได้ยากตามธรรมชาติ เพราะมักขึ้นอยู่ในป่าลึก บางชนิดไม่มีใบหรือใบลดรูปเป็นเกล็ดเล็ก เป็นพืชที่ไม่มีสารคลอโรฟิลที่ช่วยในการสังเคราะห์แสง ไม่สามารถผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองได้ จึงใช้วิธีดูดอาหารจากพืชอื่น นอกจากนี้ยังมี “พิศวงแดง” พืชพบใหม่ พบในป่าดิบชื้นเฉพาะบริเวณคาบสมุทรมลายู ชั้นสูงประมาณ 8 เซนติเมตร ดอกสีขาวแกมเหลืองคล้ายระฆัง ปลายกลีบเรียวยาว

ด้านนอกอาคารปลูกต้นไม้เต็มพื้นที่ มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด รวมถึงไม้หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ หรือบางชนิดคาดว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปจากป่าธรรมชาติในประเทศไทยแล้ว เช่น ”โสกระย้า” ดอกสีแดงส้มเป็นช่อห้อยระย้าคล้ายโคมไฟแชนดาเลีย ความยาวของช่อตั้งแต่ 50-90 เซนติเมตร เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มโปร่ง ขยายพันธุ์ได้ยาก จัดว่าเป็นต้นไม้ที่มีดอกสวยที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ต้นโสกระย้าที่นำมาปลูกในกรุงเทพฯมีประวัติย้อนไปได้ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จเยือนพม่าในปี พ.ศ.2415 ผู้ติดตามได้นำต้นไม้ชนิดนี้กลับมาด้วย สำหรับต้นที่อยู่ด้านข้างอาคารพิพิธภัณฑ์มาจากการเพาะเมล็ด ผู้สนใจสามารถมาชมดอกของโสกระย้าได้ในช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน

ยังมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจอีกหลากหลายชนิด เช่น “ลำดวนแดง” มีกลิ่นหอม ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงเมษายน สำหรับต้นที่อยู่บริเวณหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปลูกไว้เมื่อเสด็จฯ มาทรงเปิดอาคารแห่งนี้ ในสวนด้านขวามี “ต้นจันทน์กะพ้อ” ซึ่งเป็นไม้โบราณที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ดอกสีขาวถึงเหลืองอ่อนมีห้ากลีบ ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ และยังมีส่วนไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีดอกหอมอีกหลายชนิด เช่น “ต้นกันเกรา”เป็นไม้เนื้อแข็ง “ต้นกระทิง” ดอกสีขาวเป็นช่อเกสรสีเหลือง เนื้อไม้มีความทนทาน ใช้ทำหมอนรถไฟ น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคคันตามผิวหนัง “ต้นพะยอม”ออกดอกเป็นช่อใหญ่ สีขาวครีม มีกลิ่นหอมแรง เป็นต้นไม้สารพัดประโยชน์ ลำต้นใช้ทำเสาบ้าน หมอนรถไฟ “ว่านเพชรหึง”หรือ”ว่านหางช้าง” เป็นกล้วยไม้ใหญ่ที่สุดในโลก ลำต้นยาว1-2 เมตร ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30ดอกขึ้นไป มีทั้งช่อตั้งและช่อห้อย สีเหลืองถึงเหลืองอมเขียวแต้มน้ำตาลหรือม่วง ส่วนอีกด้านหนึ่งของอาคารมี ”ต้นมหัศจรรย์” ผลของไม้ชนิดนี้กินแล้วสามารถเปลี่ยนรสเปรี้ยวให้เป็นหวานได้เพราะมีสารมิราคูลินที่ส่งสัญญาณให้ต่อมรับรสเปรี้ยวไม่ทำงาน ประเทศญี่ปุ่นสั่งนำเข้าเพื่อสกัดเป็นสารแทนน้ำตาล ใช้ลดความอ้วน 

คุณทิพย์พรรณ สดากร ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลพืชทั้งหมดที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ในส่วนของข้อมูลของพันธุ์ไม้ต้นแบบสามารถค้นหาได้จากเว็บไซด์ของกองคุ้มครองพันธ์พืช นอกจากนี้ยังมีโครงการเพิ่มพื้นที่เพื่อจัดทำศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับพืช ซึ่งจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพืชอนุรักษ์ พืชหายาก และพืชใกล้สูญพันธุ์ให้มากขึ้น

ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์มีทั้งเด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป เนื่องจากกองคุ้มครองพันธุ์พืชมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับพืชต่างๆด้วย เช่น พ่อค้าหรือนักลงทุนบางรายต้องการข้อมูลของพืชนำเข้า-ส่งออก หรือพืชน้ำมัน บางครั้งกรมศุลกากรส่งตัวอย่างพืชมาให้ตรวจวิเคราะห์ว่าจัดอยู่ในพืชประเภทไหน เพราะอัตราภาษีของพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน สำหรับการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ควรติดต่อล่วงหน้า เพราะต้องมีเจ้าหน้าที่นำชม เนื่องจากที่นี่ไม่ได้จัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการที่ผู้เข้าชมจะสามารถเดินอ่านจากบอร์ดนิทรรศการได้เอง

ผู้เขียน: เกสรา จาติกวณิช

ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 26 มีนาคม 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-

เรียนรู้พืชพรรณที่ "พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร"

ในช่วงวันพืชมงคล ฉันจึงนึกอยากที่จะมาศึกษาเกี่ยวกับพืชพรรณของไทยเราที่ "พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ" หรือชื่อในปัจจุบันว่า "พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร" ที่ภายในพิพิธภัณฑ์ได้มีการเก็บตัวอย่างพืชที่ค้นพบใหม่ๆมากมายจากการสำรวจตามพื้นที่ป่าธรรมชาติทั่วประเทศแล้วนำมาจัดรวบรวมไว้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป โดยพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพเริ่มขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับงานด้านพฤกษศาสตร์ และการเกษตรที่ได้เจริญพัฒนารุดหน้า สมควรมีผู้ดูแลและขยายการสำรวจพรรณพฤกษาชาติให้มากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมตรวจพันธุ์รุกขชาติขึ้น เมื่อปีพ.ศ. 2463
ชื่อผู้แต่ง:
-