พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมูลเหล็ก ก่อตั้งโดยพระครูสุกิตติธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดมูลเหล็ก ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ท่านรวบรวมสิ่งของที่ได้รับตกทอดมาจากอดีตเจ้าอาวาส และสิ่งของที่ประชาชนมีมีจิตศรัทธาบริจาค ระยะแรกใช้กุฏิเจ้าอาวาสวัดมูลเหล็กเป็นพิพิธภัณฑ์ชั่วคราว ต่อมาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดมูลเหล็กได้เข้าร่วมโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และปรับปรุงอาคารโรงฉันเก่าเพื่อจัดแสดงสิ่งของ จากนั้นในปี พ.ศ.2555 ได้รับงบประมาณจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปรับปรุงอาคารไม้สองชั้นเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดมูลเหล็กจัดแสดงข้าวของอันเนื่องในพุทธศาสนาของวัดและสิ่งของที่ชาวบ้านบริจาค อาทิ ตู้ไม้โบราณ พระพุทธรูป เครื่องทองเหลือง เครื่องแก้ว เครื่องถ้วยชาม ผ้าทอลายโบราณของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดมูลเหล็ก
ตามประวัติวัดมูลเหล็กสร้างในปี พ.ศ. 2420 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีรายนามผู้ถวายที่ดินและวัตถุปัจจัยสำหรับสร้างวัดได้แก่ตระกูลรักษาพราหมณ์ อยู่อำไพ หุตางกูร ฉิมเรศ เจ้าอาวาสองค์แรกคือพระน้อย (พ.ศ. 2420 – 2465) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูสุกิติธรรมคุณ
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดมูลเหล็ก ตั้งอยู่ในวัดมูลเหล็ก ตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2518 สมัยพระครูสุกิตติธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดมูลเหล็กองค์ปัจจุบัน โดยได้เก็บรวบรวมสิ่งของที่ได้รับตกทอดมาจากอดีตเจ้าอาวาส และข้าวของที่ชาวบ้านบริจาค เมื่อมีสิ่งของเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ระยะแรกใช้กุฎิเจ้าอาวาสวัดมูลเหล็กเป็นพิพิธภัณฑ์ชั่วคราว แสดงสิ่งของเกี่ยวกับตู้โบราณ พระพุทธรูป ถาดทองเหลือง และเครื่องถ้วยชาม เป็นต้น
พ.ศ.2551 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดมูลเหล็กได้เข้าร่วมโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยคณะกรรมการวัด ขออนุญาตใช้อาคารโรงฉันเก่าสร้างอาคารจากเจ้าอาวาส ผู้ริเริ่มดำเนินการ คือ นายนิรัติ นาคชาตรี ประธานชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลท่าฉาง พ.ต.ท.ชวรวย ฉิมเรศ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าฉาง และนางมาลา ชื่นวิเศษ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการประจำอำเภอท่าฉาง และเครือข่ายวัฒนธรรมในทุกตำบล ในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ชาวท่าฉางที่อยู่ในพื้นที่และในต่างจังหวัด ได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคสิ่งของและเงินบริจาค โดยการจัดงานกฐินและผ้าป่าสามัคคีหลายครั้งทุกปี เงินที่ได้รับบริจาคได้นำมาปรับปรุงอาคารโรงฉันเก่าจากเดิมอาคารไม้ชั้นเดียว โดยไม่ได้รับเงินงบประมาณจากทางราชการ คณะกรรมการใช้เงินบริจาค ปรับปรุงซ่อมแซมมาเรื่อยๆ จนเป็นอาคารไม้สองชั้นในปัจจุบัน
พ.ศ.2554 นายนิรัติ นาคชาตรี ประธานโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนวัดมูลเหล็ก เสนอขอสนับสนุนโครงการจากกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการแนะนำให้เสนอโครงการของบประมาณสนับสนุนจากงบพัฒนาจังหวัดฯ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดมูลเหล็กจึงได้รับงบประมาณในการปรับปรุงอาคาร ในปี 2555
การจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดมูลเหล็ก จัดแสดงตู้โบราณ พระพุทธรูป ถาดทองเหลือง เครื่องแก้ว เครื่องถ้วยชาม ผ้าทอลายโบราณ และเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ฯลฯ โดยแบ่งเป็น 3 อาคาร
อาคารที่ 1 กุฎิเจ้าอาวาส ด้านบนเป็นพิพิธภัณฑ์ชั่วคราว แสดงสิ่งของเกี่ยวกับตู้โบราณ พระพุทธรูป เครื่องแก้วถาดทองเหลือง และเครื่องถ้วยชาม เป็นต้น ด้านล่างจัดเป็นศูนย์สารสนเทศและห้องสมุด จัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนให้แก่นักศึกษา กศน.
อาคารที่ 2 กุฎิเจ้าอาวาสหลังเก่า จัดแสดงเกี่ยวกับ ผ้าทอลายโบราณ เครื่องแก้ว และเครื่องถ้วยชาม
อาคารที่ 3 อาคารโรงฉันเก่า ด้านบนแสดงเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา ด้านล่าง แสดงเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา ตู้โบราณและเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ด้านหลังอาคารจัดเป็นห้องประชุม
นอกจากนั้น ลานกว้างด้านนอกอาคารจัดเป็นลานกีฬาเพื่อให้ชาวบ้านได้ออกกำลังกาย ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลตำบลท่าฉางและโรงพยาบาลท่าฉางตามโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ
ข้อมูลจาก:
http://m-culture.in.th/
http://www.me-fi.com/tourismdb/Seniortourists-ust/data_list.php?cateLv=3&cateID=66&subid=726
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พระพุทธรูป เครื่องทองเหลือง
สวนผีเสื้อสมุย
จ. สุราษฎร์ธานี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
จ. สุราษฎร์ธานี
หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
จ. สุราษฎร์ธานี