พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองไชยา


ที่อยู่:
16 หมู่ 4 วัดเวียง ต.ตลาดไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
โทรศัพท์:
0-7743-1071, 08-1891-5014 , 08-1719-3182
วันและเวลาทำการ:
ทุกวัน เวลา 8.30-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2543
ของเด่น:
หลักศิลจารึกจำลองหลักที่ 3, พระโพธิสัตว์
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ตั้งพิพิธภัณฑ์วัดเวียงเมืองสุราษฎร์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 4/28/2545

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

นำชมวัฒนธรรมเมืองไชยาของล้ำค่าที่พิพิธภัณฑ์วัดเวียง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/2/2545

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองไชยา


ไชยาเป็นเมืองท่าโบราณมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18 นักโบราณคดีสันนิษฐานเป็นเมืองศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย ปรากฏร่องรอยหลักฐานทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ร่วมสมัยจำนวนมาก และเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพระเวียง และเป็นที่มาของชื่อวัดเวียง วัดเก่าแก่ที่สำคัญของวัดหนึ่งของเมืองไชยา

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองไชยา ตั้งอยู่ในวัดเวียง ก่อตั้งโดยพระครูศรีปริยัติชยาภรณ์(รุ่งเรือง ธมมปวโร) เจ้าอาวาสวัดเวียงและเจ้าคณะอำเภอไชยา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 และเปิดให้ชมเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2544โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการรักษาและฟื้นฟูมรดกอันล้ำค่าของบรรพชนไว้มิให้สูญหาย ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสภาวัฒนธรรมอำเภอไชยา

ในปี พ.ศ. 2546 พิพิธภัณฑ์ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เป็นศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ตำบลไชยา แรกเริ่มก่อตั้งนั้นเจ้าอาวาสวัดเวียงอนุญาตให้ใช้กุฏิเจ้าอาวาสหลังเก่าที่ว่างอยู่เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ กุฏิหลังนี้งดงามด้วยสถาปัตยกรรมฝีมือสกุลช่างไชยาที่ยังหลงเหลืออยู่และสมควรอนรักษ์ไว้ เป็นอาคารใต้ถุนสูง อายุร้อยกว่าปี แต่เมื่อของที่ได้รับบริจาคจากประชาชนมีมากขึ้น จำเป็นต้องสร้างอาคารหลังที่ 2 อีกหลัง ด้วยเงินงบประมาณที่คณะทำงานต้องจัดหากันเองมูลค่ากว่า 200,000 บาท และได้ขออนุญาตเจ้าอาวาสวัดเวียงนำกุฎิเก่าโบราณปรับปรุงเป็นอาคารหลังที่ 3 เพื่อขยายพื้นที่ให้กว้างขวางต่อไป

การจัดแสดงแบ่งเป็น 3 อาคาร ได้แก่
1. อาคารหอฉัน 2 ชั้น ชั้นบนจัดแสดงสิ่งทอทางพุทธศาสนา เครื่องจักสาน วิถีชีวิต ห้องครัว ห้องนอน ห้องรับแขก ชั้นล่างจัดแสดงของทั่วไป เช่น สมุดดำสมุดขาว เอกลักษณ์อำเภอไชยา เครื่องมือก่อสร้าง เครื่องลายคราม ของส่วนใหญ่เป็นของวัด
2. อาคารชั้นเดียว เป็นอาคารสร้างใหม่ จัดแสดงครกสี/ฝัด/ตำข้าว เครื่องมือจับสัตว์น้ำ
3. กุฏิเก่า ซึ่งกำลังจะปรับปรุงและวางแผนจะจัดแสดงประวัติบุคคลสำคัญของอ.ไชยา

การจัดแสดงมีคำบรรยายประกอบเฉพาะวัตถุสิ่งของที่สำคัญ ๆ และมีวิทยากรนำชม เมื่อได้รับการแจ้งว่ามีผู้มาดูงานเป็นคณะ โดยวิทยากรสามารถบรรยายนำชมทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ นอกเหนือจากการจัดแสดงแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในวันสำคัญอยู่เสมอ โดยจัดแสดงนิทรรศการในงานประจำปีของอำเภอไชยา เช่น วันของดีเมืองไชยา วันวิสาขบูชา เพื่อแนะนำให้ประชาชนและผู้ที่สนใจ มีความรู้และเห็นสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองไชยา และร่วมสาธิตจัดนิทรรศการแนะนำความรู้แก่นักเรียนในงานแสดงนิทรรศการของสำงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 จ.สุราษฎร์ธานี การบริหารจัดการตั้งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการดำเนินงาน และคณะวิทยากร จากหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในท้องถิ่น แม้พิพิธภัณฑ์จะได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่งบประมาณทางวัดจึงต้องหาเงินด้วยตัวเองโดยวิธีการทอดกฐินและรับบริจาคการผู้มีจิตศรัทธา

ข้อมูลจาก:
1. ประวัติวัดเวียง (เอกสารอัดสำเนา)
2. โครงการปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เมืองไชยา (เอกสารอัดสำเนา)
3. แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองไชยา
4. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 19 มกราคม 2547
5. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคใต้) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้แต่ง:
-