ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชตำบลทรายขาว แต่เดิมตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดทรายขาว ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จากนั้นวัดทรายขาวได้ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ ภายในวัดเป็นอาคารสองชั้น และเปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2560 ภายในมีนิทรรศการเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 สถานที่สำคัญของตำบลทรายขาว อาทิ มัสยิดนัจมุดดิน มัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี จุดเด่นของมัสยิดโบราณแห่งนี้คือ การผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยและมุสลิมมลายูพื้นถิ่นเข้าด้วยกัน ไม่เหมือนกับมัสยิดที่หลายคนคุ้นเคย โดยมัสยิดจะเป็นอาคารไม้คล้ายกับศาลาการเปรียญ หลังคามุงด้วยกระเบื้องอิฐแดง มีความงดงามตามแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มัสยิดแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของคำภีร์อัลกุรอ่านโบราณ ซึ่งตัวอักษรในคำภีร์ถูกจารึกด้วยลายมือ เป็นของสำคัญคู่มัสยิด นอกจากนี้ยังแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของวัดและของที่ชุมชนได้บริจาคมา อาทิ กริช ดาบ เครื่องใช้ภายในครัวเรือน
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชตำบลทรายขาว
บ้านทรายขาวออก เดิมชาวบ้านเรียกว่า บ้านที่พลู คนกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานมา และสร้างบ้านเรือนอาศัยไปทางทิศตะวันออกจากชุมชนเดิมบริเวณวัดทรายขาวหรือ “บ้านทรายขาวออก” ในระยะหนึ่งได้เรียกว่าบ้าน “ที่พลู” เนื่องจากเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีการปลูกพลูไว้มากเพื่อกินกับหมาก ซึ่งเป็นที่นิยมของคนโบราณ สภาพเดิมเป็นป่าและทุ่งหญ้าแต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสวนยางพารา สวนผลไม้ และนาข้าว ฯลฯ บ้านทรายขาวที่ชื่อเสียงด้านทุเรียนในนาม “ทุเรียนทรายขาว”
วัดทรายขาว ตั้งอยู่ที่บ้านทรายขาว หมู่ที่ 3 ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นวัดที่ราบเชิงเขาตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่บ้าน มีกำแพงวัดล้อมรอบ วัดทรายขาวสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2300 โดยมีท่านภักดีชุมพล (นายเพ็ง) ได้อพยพครอบครัวมาจากรัฐเคดาห์ หรือเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ได้มาตั้งบ้านเรือนที่นี่ ต่อมาได้บริจาคที่ดินพร้อมกับบ้านที่อยู่อาศัยสร้างเป็นวัดแล้วนิมนต์พระมาอยู่จำพรรษา วัดทรายขาว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2432 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 204 เมตร ยาว 230 เมตร ผูกพันธสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2435 เกี่ยวกับการศึกษา เนื่องจากวัดมีที่ดินมาก จึงจัดที่ดินภายในเขตวัดส่วนหนึ่งตั้งเป็นโรงเรียน และได้เปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ.2460 เป็นต้นมา
พระอธิการหมานเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เจ้าอาวาสที่ได้รับการเคารพศรัทธาจากคนในพื้นที่ปัตตานีและใกล้เคียงคือ พระครูธรรมกิจโกศล (อาจารย์นอง ธมฺมภูโต) เจ้าอาวาสลำดับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 ถึง พ.ศ.2542 ท่านได้พัฒนาเสนาสนะต่างๆ บูรณะซ่อมแซมอุโบสถ สร้างวิหารอดีตเจ้าอาวาส สร้างวิหารจตุรมุขหลวงพ่อหินอ่อน สร้างกุฏิที่พักสงฆ์ สร้างมณฑป สร้างหอสมุด และถาวรวัตถุอีกหลายอย่างทั้งภายในและภายนอกวัด ปัจจุบันผู้ที่ไปวัดทรายขาวนิยมมาสักการะรูปแกะสลักหินอ่อนพระครูธรรมกิจโกศล ที่ตั้งอยู่ในวิหารทรงจตุรมุขที่ออกแบบและตกแต่งไว้อย่างงดงาม
เล่ากันว่าอาจารย์นอง หรือ พระครูธรรมกิจโกศล เป็นพระเถระที่มีจริยวัตรงดงาม และเป็นอริยสงฆ์ที่ได้เข้าร่วมปลุกเสกพระเครื่องหลวงปู่ทวด ปี พ.ศ. 2497 พร้อมพระอาจารย์ทิมแห่งวัดช้างให้ เป็นผู้สืบทอดตำนานพระเครื่องสมเด็จหลวงทวดเหยียบน้ำทะเลจืดต่อจากอาจารย์ทิม หลังจากท่านได้ละสังขารไปแล้ว ภารกิจอันสำคัญนี้อาจารย์นองได้ปฏิบัติสืบต่อมาเนิ่นนานจนละสังขารไป
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชตำบลทรายขาว แต่เดิมตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดทรายขาว ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จากนั้นวัดทรายขาวได้ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ ภายในวัดเป็นอาคารสองชั้น และเปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2560 ภายในมีนิทรรศการเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 สถานที่สำคัญของตำบลทรายขาว อาทิ มัสยิดนัจมุดดิน มัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี จุดเด่นของมัสยิดโบราณแห่งนี้คือ การผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยและมุสลิมมลายูพื้นถิ่นเข้าด้วยกัน ไม่เหมือนกับมัสยิดที่หลายคนคุ้นเคย โดยมัสยิดจะเป็นอาคารไม้คล้ายกับศาลาการเปรียญ หลังคามุงด้วยกระเบื้องอิฐแดง มีความงดงามตามแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มัสยิดแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของคำภีร์อัลกุรอ่านโบราณ ซึ่งตัวอักษรในคำภีร์ถูกจารึกด้วยลายมือ เป็นของสำคัญคู่มัสยิด นอกจากนี้ยังแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของวัดและของที่ชุมชนได้บริจาคมา อาทิ กริช ดาบ เครื่องใช้ภายในครัวเรือน
ข้อมูลจาก:
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำข้อมูลพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ สนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) 2564.
https://www.viriyah.co.th/th/content/article.php?page=334
https://www.paaktai.com/longtai/detail/112
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ชายแดนภาคใต้ เครื่องทองเหลือง กริช
พิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น
จ. ปัตตานี
พิพิธภัณฑ์เครื่องจักสานย่านลิเภาและเครื่องถมทอง โรงแรมซีเอสปัตตานี
จ. ปัตตานี
หอนิทรรศน์สานอารยธรรมจังหวัดปัตตานี (พิพิธภัณฑ์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว)
จ. ปัตตานี