พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญา บ้านกู่กาสิงห์


พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญา บ้านกู่กาสิงห์ ตั้งอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ (กู่) ก่อตั้งเมื่อปี 2548 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน โดยการจัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ซึ่งเป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายและเจริญในช่วงสมัยวัฒนธรรมขอม โดยจะนำเสนอเนื้อหาในด้านต่าง ๆ อาทิ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประเพณี วัฒนธรรม โครงสร้างเครือญาติ การทำกสิกรรม ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น เป็นต้น รวมถึงยังมีแหล่งเรียนรู้เครือข่ายพิพิพิธภัณฑ์ในชุมชนอีกด้วย เช่น แหล่งโบราณสถานดอนปู่ตา ศูนย์ผ้าไหม สวนเกษตร เป็นต้น

ที่อยู่:
วัดสว่างอารมณ์(กู่) เลขที่ 79 หมู่ 2 บ้านกู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด 45150
โทรศัพท์:
084-7897006
วันและเวลาทำการ:
กรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
เข้าชมทั่วไปตามกำลังศรัทธา เข้าชมเป็นหน่วยงาน 500 บาท
อีเมล:
Kru_amkha@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2548
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญา บ้านกู่กาสิงห์

พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญา บ้านกู่กาสิงห์ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สร้างสำนึกของคนในชุมชนให้เป็นพลังในการพัฒนาชุมชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านในตำบลกู่กาสิงห์ได้ร่วมกันบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ในอดีตมาจัดแสดงที่ศาลาการเปรียญ วัดสว่างอารมรณ์(กู่) และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548

การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์มีเนื้อหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประเพณีวัฒนธรรม โครงสร้างเครือญาติ การทำนา หัตถกรรมสินค้าจากชุมชน และยังมีแหล่งเรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในชุมชน เช่น โบราณสถาน ดอนปู่ตา ศูนย์ผ้าไหม สวนเกษตร เป็นต้น

วัตถุจัดแสดงที่น่าสนใจของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต เครื่องมือการเกษตร และผ้าไหม

นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2548 พิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญาได้เข้าร่วมโครงการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นพิพิธภัณฑ์เครือข่ายอัตลักษณ์ร่วมของชาวทุ่งกุลาร้องไห้ และปี พ.ศ. 2555 ได้รับโครงการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2 โครงการ คือ โครงการออกแบบตกแต่งภายใน และโครงการสร้างการเรียนรู้รักประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์เป็นต้นแบบอัตลักษณ์ชุมชนและการเรียนรู้ในทุ่งกุลาร้องไห้

------------------------------------------
วริสรา แสงอัมพรไชย / สรุป
ข้อมูลจาก :การประชุมเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อวันที่ 24 - 25 เมษายน 2555  ณ โรงแรมตักศิลา จ.มหาสารคาม
ชื่อผู้แต่ง:
-