ชื่อผู้แต่ง: อุทิศ เมืองแวง | ปีที่พิมพ์: 10/18/2546
ที่มา: พระครูสุธรรมวรนาถ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุริยา สมุทคุปติ์และพัฒนา กิติอาษา | ปีที่พิมพ์: 2545
ที่มา: นครราชสีมา: ห้องไทยศึกษานิทัศน์,สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชวนากร จันนาเวช | ปีที่พิมพ์: 2553
ที่มา: เอกสารวิชาการ ลำดับที่ 14 โครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: นายอุทิศ เมืองแวง | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: โรงพิมพ์ประสานการพิมพื อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นท่าม่วง
บ้านท่าม่วงเป็นชุมชนขนาดใหญ่ แบ่งการปกครองเป็น 3 หมู่บ้าน มีประมาณ 300 ครัวเรือน ชาวบ้านเล่าว่า บรรพบุรุษของชุมชนวัดท่าม่วง อพยพมาจากบ้านนาพังสวนมอน แขวงเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อประมาณปี พ.ศ.1990 สาเหตุการอพยพสืบเนื่องมาจากสงครามและความวุ่นวายในขณะนั้น ทำให้ประชาชนได้หลบหนีสงครามเข้ามายังฝั่งขวาแม่น้ำโขงในฝั่งไทยปัจจุบัน ระยะแรกได้สร้างบ้านเรือนอยู่ฝั่งขวาของลำน้ำชี ประมาณ 120 ปี ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อย ๆ และเป็นคุ้งน้ำ น้ำกัดเซาะเป็นประจำทุกปี จึงได้อพยพข้ามฝั่งลำน้ำชีมาสร้างบ้านเรือนอยู่ที่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ดอนสูงน้ำท่วมไม่ถึง เดิมเรียกว่า โนนหนามแท่ง โดยการนำของสุด-อำแดง และแก้ว-บัพภา ต้นตระกูลสุทธิประภาในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีคนอีกกลุ่มที่มีนามสกุลสิริธร เดิมเป็นนามสกุลของข้าหลวงใหญ่สมัยนั้น ซึ่งชาวบ้านท่าม่วงเคารพนับถือ และได้มาก่อสร้างวัดที่สำคัญ 3 วัด คือวัดป่าหรือวัดศักดาราม วัดเหนือปัจจุบันร้างไปแล้ว และวัดท่าม่วง ซึ่งก่อสร้างในปี พ.ศ.2114ของที่สะสมไว้จำนวนมากที่วัดท่าม่วง คือคัมภีร์ใบลานและสมุดข่อยโบราณ ซึ่งห่อไว้ด้วยผ้าซิ่นห่อคัมภีร์ มัดเชือกเป็นเปลาะ ๆ ด้วยเทคนิคดั้งเดิม เป็นคลังต้นฉบับหนังสือโบราณที่มีจำนวนมาก และได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี ภายใต้การดูแลของท่านพระครูสุธรรมวรนาถ เจ้าอาวาสวัดท่าม่วง หลวงพ่อเป็นคนในท้องถิ่น แต่มาเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ และเคยทำงานมาหลายอย่างก่อนในหลายจังหวัด ก่อนที่จะกลับมาบวชที่บ้านเดิม
ท่านอธิบายว่า ท่านเกิดความคิดว่า คนมีความรู้ไม่เคยมาสร้างบ้านตัวเอง มีแต่หนีเข้าเมือง ท่านจึงได้ตัดสินใจที่จะสร้างความก้าวหน้าให้กับบ้านเกิด การเก็บคัมภีร์ใบลาน เป็นส่วนหนึ่งของการพยายามสร้างความรู้หลายอย่างให้กับชุมชนของท่าน ท่านเจ้าอาวาสจัดการคลังเก็บหนังสือโบราณด้วยตัวของท่านเอง คัมภีร์ใบลานที่เก็บไว้ท่านได้จัดทำระบบทะเบียนไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในอนาคต และบางส่วนได้ทำไมโครฟิล์มเก็บไว้ นอกจากนี้ยังมีผ้าผะเหวดผืนงามประจำวัด ที่มีขนาดใหญ่ยาวหลายสิบเมตรอีกด้วย อย่างไรก็ดีห้องคัมภีร์แห่งนี้ไม่ได้เปิดให้เข้าชมโดยทั่วไป กรุณาแจ้งความจำนงค์และสอบถามกับทางวัดก่อน
ปัจจุบัน(2554) ทางวัดและชุมชนได้ทำอนุรักษ์และทะเบียนคัมภีร์ใบลาน มีการแบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ เช่น พิธีกรรม ประเพณี โหราศาสตร์ ตำรายา ลำนิทานต่างๆ ฯลฯ พร้อมกับถอดผ้าห่อคัมภีร์ออกมาอนุรักษ์และแยกเก็บไว้อีกส่วนหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อการศึกษา อนึ่ง เพื่อให้คนในชุมชนและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านอักษรธรรมหรืออักษรโบราณ การประยุกต์ใช้เรื่องราวในคัมภีร์ใบลานเพื่อการสืบทอดความรู้ในท้องถิ่น ทางวัดและชุมชนได้ร่วมกันจัดทำกิจกรรมต่างๆ โดยใช้คัมภีร์ใบลานเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ พร้อมๆ ไปกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่น และโครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยังเข้ามาช่วยในการปริวรรตและเรียบเรียงใบลานของวัด และในปี 2553 ได้พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ 2 เล่ม คือ "ตำรายา วัดท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เล่มที่ 1 และเล่มที่ 2"
ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนาม วันที่ 30 สิงหาคม 2546 และวันที่ 10 กันยายน 2554
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ตำรายา วัตถุธรรม คัมภีร์ใบลาน ผ้าผะเหวด วัดท่าม่วง ผ้าห่อคัมภีร์
พิพิธภัณฑ์เกวียน วัดบ้านโหรา
จ. ร้อยเอ็ด
เฮือนวัฒนธรรมพื้นบ้าน โรงเรียนพลาญชัยพิทยาคม (เดิม)
จ. ร้อยเอ็ด
พิพิธภัณฑ์ของเก่าโบราณ วัดโคกร้าง
จ. ร้อยเอ็ด