โดย:
วันที่: 26 มีนาคม 2555
ช่วง ปี พ.ศ.2539 - 2540 นั้น ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในตำบลโคกพุทราได้มารวมกลุ่มกันผลิตข้าวซ้อมมือ ใช้วิธีสีข้าวแบบวิธีดั้งเดิม เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เครื่องสีด้วยมือนี้ เมื่อสีข้าวไปได้ประมาณ 1 เกวียนก็จะหมดสภาพ หลายๆ เครื่องเข้า กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มนักเรียนที่ช่วยกันทำนั้นก็เห็ฯว่า เครื่องสีที่หมดสภาพเหล่านี้ไม่ควรทิ้งน่าจะเก็บไว้ให้เด็กๆรุ่นหลังได้ทำ ความรู้จักกันน่าจะดี ก็เลยนำเรื่องนี้ไปคุยกันทางเทศบาลตำบลโคกพุทราว่าจะจัดทำพิพิธภัณฑ์ชุมชม ขึ้น ทางเทศบาลตำบลโคกพุทรายินดีให้การสนับสนุน ก็จัดงบประมาณเพื่อใช้ในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ แม้ว่ารูปร่างของอาคารจะไม่เหมาะสมในการทำพิพิธภัณ์ฑนัก แต่ว่าก็ได้ช่วยกันจัดรูปแบบ และการจัดวางวัตถุจัดแสดงให้ดูเข้าท่ามากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานวัฒนธรรมความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกหลานในชุมชน และเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ด้านวิถีชีวิตของชาวนาในเขตชนบทภาคกลางซึ่งวัตถุ ประสงค์เหล่านี้ เพราะในเขตพื้นที่ตำบลโคกพุทรานั้นแต่เดิมก็เป็นพื้นที่ทำนา อาชีพหลักของชาวบ้านคือ การทำนา ช่างฝีมือต่างๆ และอาชีพหาปลา สำหรับปัจจุบันนี้อาชีพหลักก็มีการรับจ้างตามโรงงานต่างๆ เข้ามาอีก ทำให้วิถีชีวิตแบบชาวนา การหาอยู่หากินแบบเดิมค่อยๆ หายไป เด็กๆ รุ่นหลังจะไม่รู้จักกัน จึงน่าจะเกิดกิจกรรมหรือแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวิถีชีวิต ของชาวโคกพุทราเกิดขึ้นนั่นเอง หลังจากที่ได้อาคารมาเรียบร้อยแล้วนั้นโดยอาศัยพื้นที่ของวัดโคกพุทรา เมื่อจะเริ่มจัดแสดงครั้งแรกก็มีเพียงเครื่องมือของกลุ่มชมรมที่ใช้สี ข้าวกล้อง แต่ภายในชุมชนก็ยังมีเครื่องมือเหล่านี้วางทิ้งไว้ในบ้านอยู่ จึงได้ประกาศออกไปสู่ชุมชนว่า ทางชมรมผู้สูงอายุจะจัดทำพิพิธภัณฑ์จะขอรับบริจาคข้าวของที่เก็บไว้ไม่ได้ ใช้แล้ว ภายในเวลาแค่ 3 วัน ข้าวของมากมายทั้งใหม่และเก่า เมื่อได้ข้าวของมาดังนั้นก็จัดการลงทะเบียนวัตถุและรายละเอียดว่าของชิ้นไหน ใครบริจาคตัวทะเบียนวัตถุนี้ได้ตัวแบบมาจากมหาวิทยาลัยรังสิต เรียกว่า "ทะเบียนเดินทุ่ง" โดยมีคุณสายัณฑ์ สุทธิพันธุ์เป็นคนดูแลอยู่ เมื่อก่อนนี้ทำลงในคอมพิวเตอร์ แต่พอคอมพิวเตอร์ถูกโขมยไปก็เลยจัดทำเป็นรูปเล่มออกมาและตัวไฟล์ดิจิตอลก็ ยังมีประกอบกันไปด้วย เมื่อจัดการเรื่องทะเบียนวัตถุเรียบร้อยแล้วนั้นก็ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ให้เข้า ชมได้ ก็มีกลุ่มชาวบ้านทั้งในและนอกหมู่บ้านมาเข้าเยี่ยมชม อยู่เรื่อยๆ ส่วนใหญ่การติดต่อจะเข้ามาทางเทศบาลฯ ก่อนและเทศบาลฯ จะประสานงานมาที่กลุ่มและ เตรียมความพร้อมสำหรับการนำชม การดูแลบริหารจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์นั้น มีดูแลอยู่ 2 ส่วนคือ วัดโคกพุทราจะช่วยดูแลในเรื่องการเปิด- ปิด ความปลอดภัย การทำความสะอาด และน้ำไฟ ส่วนเทศบาลตำบลโคกพุทราก็จะมาดูและก็เข้ามาช่วยในเรื่องงบประมาณการก่อสร้าง ต่างๆ เพราะที่กลุ่มฯ และเทศบาลก็ใกล้ชิดกันพอสมควร นอกจากนี้ ห้องส่วนหนึ่งก็แบ่งพื้นที่ให้กับทางการศึกษานอกโรงเรียนมาจัดหนังสือทำห้อง สมุด และจัดหมวดหมู่หนังสือโดยมีการจ้างให้คนมาลงทะเบียน แล้วก็ให้พระเป็นคนดูแลว่าใครยืมหนังสืออะไรไปแล้วก็เอามาคืน หนังสือที่ให้บริการก็มีหลายประเภท เช่นการ์ตูน หนังสือความรู้ทั่วไป พระไตรปิฎก หนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น ความสนใจของผู้เข้าชมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ ภูมิปัญญาของการทำเครื่องจักสานต่างๆ ซึ่งการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้นแม้ว่าพื้นที่จะไม่กว้างมากนัก การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 7 ส่วน คือ 1.การจัดแสดงเครื่องมือจักสานที่เกี่ยวกับการจับปลา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือที่ได้รับการบริจาคมาจากคนที่ทำอาชีพ เช่น ไซ ตะข้องและรูปแบบ สวก ขอเกี่ยวปลาหลด กระชัง ลอบนอน แห สวิง ฯล 2.การแสดงเครื่องมือจักสานที่เกี่ยวกับการเครื่องมือการทำนา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือชิ้นไม่ใหญ่มากนักเพราะอาคารมีขนาดเล็ก เช่นบุ้งกี๋วิดน้ำ ถังไม้ตวงข้าว ติ้วสำหรับใช้ในการนับ กะลาตวงข้าว กระป๋องตวงข้าว โม่ข้าว มีชิ้นส่วนของคันไถ และเกวียนแสดงให้ดูประกอบไปกับการบรรยายของผู้นำชม ที่จะเล่าวิธีการปลูกข้าวจนมาถึงการสีข้าวออกม้าเป็นข้าวให้เราได้กินกัน บริเวณนี้ จัดแสดงเครื่องสีข้าวแบบโบราณใช้แรงงานคน ที่ทางกลุ่มได้ใช้ในการสีข้าวซ้อมมือขายซึ่งเป็นวัตถุจัดแสดงชิ้นแรกของ พิพิธภัณฑ์ด้วย 3.การจัดแสดงเครื่องมือช่างไม้ เครื่องมือชุดนี้ได้รับบริจาคมาจากช่างท้องถิ่นที่วางมือแล้วเพราะสมัยนี้มี เครื่องมือที่ใช้มอเตอร์แทน ทำให้งานไม้ที่ใช้เวลานานและใช้ฝีมือเริ่มลดน้อยลง เครื่องมือที่พอจะเป็นที่รู้จักในสมัยนี้ก็คือ เลื่อยวงเดือน กบไสไม้ ค้อน สว่านเจาะไม้ นอกจากนี้ก็ยังมีโต๊ะรีดผ้าขนาดใหญ่มาก ได้รับบริจาคมาจากคนในชุมชนที่ไปธุรกิจซักรีดในกรุงเทพ เมื่อเลิกกิจการก็เอาของมาบริจาคให้พิพิธภัณฑ์ และและยังมีเตารีด โบราณแบบที่เอาวางบนถาดร้อนๆ นเตาไฟ เตารีดแบบใส่ถ่านไม้ เครื่องอัดจีบผ้า 4.การจัดแสดงเกี่ยวกับสมบัติของวัดโคกพุทรา อีกส่วนที่นำเสนอคือ ข้าวของที่เป็นสมบัติของวักโคกพุทราบางชิ้น จำพวกพานทองเหลือง เครื่องกระเบื้องบางชิ้นก็นำมาจัดแสดงให้ได้ชมด้วย 5.การจัดแสดงข้าวของเบ็ดเตล็ดที่ได้รับบริจาคมาจากชาวบ้านในละแวกตำบลโคก พุทรา มีมากมายหลายแบบ ตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ โอ่งดินเผาหลายขนาด กาน้ำชา ถ้วยชาม ระฆัง ปิ่นโตเก่าๆ เครื่องชั่งน้ำหนักทั้งแบบ ถ่วงตุ้ม และวางบนสปริงเป็นต้น 6. การจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องดนตรี ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีแบบภาคกลาง เช่นกลองยาว ฉิ่งฉาบ ซึ่งปัจจุบันเด็กๆ ยังคงนำเครื่องดนตรีที่จัดแสดงนี้ไปใช้ซ้อมมือ และออกแสดงอยู่ การแสดงก็จะเป็นการรำโทน รำฉ่อย ร้องเพลงโต้กัน 7.เครื่องมือเกี่ยวกับการทอเสื่อ คือ อาชีพสุดท้ายที่กลุ่มอยากนำเสนอ เพราะเป็นมีชื่อเสียงชื่อเสียงพอสมควร คือการทอเสื่อกก จะมีเครื่องทอกกสาธิตให้ผู้เข้าชมได้ทดลองขยับ และมีฟืมสำหรับทอเสื่อเก่าๆให้ดูหลายอันอยู่เช่นกัน และแยกมาอีกอาคารจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับครัวไทย และเครื่องมือเครื่องไม้ที่ใช้ในครัว มีเตาไฟ ทั้งแบบเตาเชิงกราน เตาสามเส้า และเตาถ่านแบบปัจจุบัน เบ้าทำตัวขนมลอดช่อง ถ้วยชามสังกะสีเคลือบแบบเก่าที่เราเคยใช้ที่บ้าน ทำให้หวนนึกไปถึงสมัยวันเด็ก ๆ การได้ทดลองจุดเตาไฟด้วยตัวเองเพราะเดี๊ยวนี้จุดเตาแก๊สแป๊บเดียวได้ ผู้เข้าชมส่วนใหญ่ของพิพิธภัณฑ์จะเป็นหน่วยงานปกครองท้องถิ่นหรือชุมชนที่จะ ก่อตั้งโครงการสายใยชุมชนในพื้นที่ของตัวเองที่มีแผนที่จะจัดทำพิพิธภัณฑ์ เหมือนกันก็มาดูเป็นต้นแบบ นอกจากนี้กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนวัดโคกพุทรามาเรียนรู้วิธีสีข้าวสารด้วย กำลังคน การเรียนทำขนม การเรียนทำอาหารจากสมาชิกในกลุ่มโครงการสายใยชุมชน และยังมีการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ เช่นการไปร่วมงานโอท๊อป และนำวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ไปประกอบในการจัดงานด้วย มัณฑนา ชอุ่มผล /เขียน ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนาม วันที่ 24 กรกฎาคม 2554
จ. อ่างทอง
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยบ้านโคกพุทรา
ช่วง ปี พ.ศ.2539 - 2540 นั้น ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในตำบลโคกพุทราได้มารวมกลุ่มกันผลิตข้าวซ้อมมือ ใช้วิธีสีข้าวแบบวิธีดั้งเดิม เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เครื่องสีด้วยมือนี้ เมื่อสีข้าวไปได้ประมาณ 1 เกวียนก็จะหมดสภาพ หลายๆ เครื่องเข้า กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มนักเรียนที่ช่วยกันทำนั้นก็เห็ฯว่า เครื่องสีที่หมดสภาพเหล่านี้ไม่ควรทิ้งน่าจะเก็บไว้ให้เด็กๆรุ่นหลังได้ทำ ความรู้จักกันน่าจะดี ก็เลยนำเรื่องนี้ไปคุยกันทางเทศบาลตำบลโคกพุทราว่าจะจัดทำพิพิธภัณฑ์ชุมชม ขึ้น ทางเทศบาลตำบลโคกพุทรายินดีให้การสนับสนุน ก็จัดงบประมาณเพื่อใช้ในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ แม้ว่ารูปร่างของอาคารจะไม่เหมาะสมในการทำพิพิธภัณ์ฑนัก แต่ว่าก็ได้ช่วยกันจัดรูปแบบ และการจัดวางวัตถุจัดแสดงให้ดูเข้าท่ามากที่สุด
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานวัฒนธรรมความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกหลานในชุมชน และเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ด้านวิถีชีวิตของชาวนาในเขตชนบทภาคกลางซึ่งวัตถุ ประสงค์เหล่านี้ เพราะในเขตพื้นที่ตำบลโคกพุทรานั้นแต่เดิมก็เป็นพื้นที่ทำนา อาชีพหลักของชาวบ้านคือ การทำนา ช่างฝีมือต่างๆ และอาชีพหาปลา สำหรับปัจจุบันนี้อาชีพหลักก็มีการรับจ้างตามโรงงานต่างๆ เข้ามาอีก ทำให้วิถีชีวิตแบบชาวนา การหาอยู่หากินแบบเดิมค่อยๆ หายไป เด็กๆ รุ่นหลังจะไม่รู้จักกัน จึงน่าจะเกิดกิจกรรมหรือแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวิถีชีวิต ของชาวโคกพุทราเกิดขึ้นนั่นเอง
หลังจากที่ได้อาคารมาเรียบร้อยแล้วนั้นโดยอาศัยพื้นที่ของวัดโคกพุทรา เมื่อจะเริ่มจัดแสดงครั้งแรกก็มีเพียงเครื่องมือของกลุ่มชมรมที่ใช้สี ข้าวกล้อง แต่ภายในชุมชนก็ยังมีเครื่องมือเหล่านี้วางทิ้งไว้ในบ้านอยู่ จึงได้ประกาศออกไปสู่ชุมชนว่า ทางชมรมผู้สูงอายุจะจัดทำพิพิธภัณฑ์จะขอรับบริจาคข้าวของที่เก็บไว้ไม่ได้ ใช้แล้ว ภายในเวลาแค่ 3 วัน ข้าวของมากมายทั้งใหม่และเก่า เมื่อได้ข้าวของมาดังนั้นก็จัดการลงทะเบียนวัตถุและรายละเอียดว่าของชิ้นไหน ใครบริจาคตัวทะเบียนวัตถุนี้ได้ตัวแบบมาจากมหาวิทยาลัยรังสิต เรียกว่า "ทะเบียนเดินทุ่ง" โดยมีคุณสายัณฑ์ สุทธิพันธุ์เป็นคนดูแลอยู่ เมื่อก่อนนี้ทำลงในคอมพิวเตอร์ แต่พอคอมพิวเตอร์ถูกโขมยไปก็เลยจัดทำเป็นรูปเล่มออกมาและตัวไฟล์ดิจิตอลก็ ยังมีประกอบกันไปด้วย
เมื่อจัดการเรื่องทะเบียนวัตถุเรียบร้อยแล้วนั้นก็ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ให้เข้า ชมได้ ก็มีกลุ่มชาวบ้านทั้งในและนอกหมู่บ้านมาเข้าเยี่ยมชม อยู่เรื่อยๆ ส่วนใหญ่การติดต่อจะเข้ามาทางเทศบาลฯ ก่อนและเทศบาลฯ จะประสานงานมาที่กลุ่มและ เตรียมความพร้อมสำหรับการนำชม
การดูแลบริหารจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์นั้น มีดูแลอยู่ 2 ส่วนคือ วัดโคกพุทราจะช่วยดูแลในเรื่องการเปิด- ปิด ความปลอดภัย การทำความสะอาด และน้ำไฟ ส่วนเทศบาลตำบลโคกพุทราก็จะมาดูและก็เข้ามาช่วยในเรื่องงบประมาณการก่อสร้าง ต่างๆ เพราะที่กลุ่มฯ และเทศบาลก็ใกล้ชิดกันพอสมควร นอกจากนี้ ห้องส่วนหนึ่งก็แบ่งพื้นที่ให้กับทางการศึกษานอกโรงเรียนมาจัดหนังสือทำห้อง สมุด และจัดหมวดหมู่หนังสือโดยมีการจ้างให้คนมาลงทะเบียน แล้วก็ให้พระเป็นคนดูแลว่าใครยืมหนังสืออะไรไปแล้วก็เอามาคืน หนังสือที่ให้บริการก็มีหลายประเภท เช่นการ์ตูน หนังสือความรู้ทั่วไป พระไตรปิฎก หนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น
ความสนใจของผู้เข้าชมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ ภูมิปัญญาของการทำเครื่องจักสานต่างๆ ซึ่งการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้นแม้ว่าพื้นที่จะไม่กว้างมากนัก การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 7 ส่วน คือ
1.การจัดแสดงเครื่องมือจักสานที่เกี่ยวกับการจับปลา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือที่ได้รับการบริจาคมาจากคนที่ทำอาชีพ เช่น ไซ ตะข้องและรูปแบบ สวก ขอเกี่ยวปลาหลด กระชัง ลอบนอน แห สวิง ฯล
2.การแสดงเครื่องมือจักสานที่เกี่ยวกับการเครื่องมือการทำนา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือชิ้นไม่ใหญ่มากนักเพราะอาคารมีขนาดเล็ก เช่นบุ้งกี๋วิดน้ำ ถังไม้ตวงข้าว ติ้วสำหรับใช้ในการนับ กะลาตวงข้าว กระป๋องตวงข้าว โม่ข้าว มีชิ้นส่วนของคันไถ และเกวียนแสดงให้ดูประกอบไปกับการบรรยายของผู้นำชม ที่จะเล่าวิธีการปลูกข้าวจนมาถึงการสีข้าวออกม้าเป็นข้าวให้เราได้กินกัน บริเวณนี้ จัดแสดงเครื่องสีข้าวแบบโบราณใช้แรงงานคน ที่ทางกลุ่มได้ใช้ในการสีข้าวซ้อมมือขายซึ่งเป็นวัตถุจัดแสดงชิ้นแรกของ พิพิธภัณฑ์ด้วย
3.การจัดแสดงเครื่องมือช่างไม้ เครื่องมือชุดนี้ได้รับบริจาคมาจากช่างท้องถิ่นที่วางมือแล้วเพราะสมัยนี้มี เครื่องมือที่ใช้มอเตอร์แทน ทำให้งานไม้ที่ใช้เวลานานและใช้ฝีมือเริ่มลดน้อยลง เครื่องมือที่พอจะเป็นที่รู้จักในสมัยนี้ก็คือ เลื่อยวงเดือน กบไสไม้ ค้อน สว่านเจาะไม้ นอกจากนี้ก็ยังมีโต๊ะรีดผ้าขนาดใหญ่มาก ได้รับบริจาคมาจากคนในชุมชนที่ไปธุรกิจซักรีดในกรุงเทพ เมื่อเลิกกิจการก็เอาของมาบริจาคให้พิพิธภัณฑ์ และและยังมีเตารีด โบราณแบบที่เอาวางบนถาดร้อนๆ นเตาไฟ เตารีดแบบใส่ถ่านไม้ เครื่องอัดจีบผ้า
4.การจัดแสดงเกี่ยวกับสมบัติของวัดโคกพุทรา อีกส่วนที่นำเสนอคือ ข้าวของที่เป็นสมบัติของวักโคกพุทราบางชิ้น จำพวกพานทองเหลือง เครื่องกระเบื้องบางชิ้นก็นำมาจัดแสดงให้ได้ชมด้วย
5.การจัดแสดงข้าวของเบ็ดเตล็ดที่ได้รับบริจาคมาจากชาวบ้านในละแวกตำบลโคก พุทรา มีมากมายหลายแบบ ตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ โอ่งดินเผาหลายขนาด กาน้ำชา ถ้วยชาม ระฆัง ปิ่นโตเก่าๆ เครื่องชั่งน้ำหนักทั้งแบบ ถ่วงตุ้ม และวางบนสปริงเป็นต้น
6. การจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องดนตรี ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีแบบภาคกลาง เช่นกลองยาว ฉิ่งฉาบ ซึ่งปัจจุบันเด็กๆ ยังคงนำเครื่องดนตรีที่จัดแสดงนี้ไปใช้ซ้อมมือ และออกแสดงอยู่ การแสดงก็จะเป็นการรำโทน รำฉ่อย ร้องเพลงโต้กัน
7.เครื่องมือเกี่ยวกับการทอเสื่อ คือ อาชีพสุดท้ายที่กลุ่มอยากนำเสนอ เพราะเป็นมีชื่อเสียงชื่อเสียงพอสมควร คือการทอเสื่อกก จะมีเครื่องทอกกสาธิตให้ผู้เข้าชมได้ทดลองขยับ และมีฟืมสำหรับทอเสื่อเก่าๆให้ดูหลายอันอยู่เช่นกัน
และแยกมาอีกอาคารจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับครัวไทย และเครื่องมือเครื่องไม้ที่ใช้ในครัว มีเตาไฟ ทั้งแบบเตาเชิงกราน เตาสามเส้า และเตาถ่านแบบปัจจุบัน เบ้าทำตัวขนมลอดช่อง ถ้วยชามสังกะสีเคลือบแบบเก่าที่เราเคยใช้ที่บ้าน ทำให้หวนนึกไปถึงสมัยวันเด็ก ๆ การได้ทดลองจุดเตาไฟด้วยตัวเองเพราะเดี๊ยวนี้จุดเตาแก๊สแป๊บเดียวได้
ผู้เข้าชมส่วนใหญ่ของพิพิธภัณฑ์จะเป็นหน่วยงานปกครองท้องถิ่นหรือชุมชนที่จะ ก่อตั้งโครงการสายใยชุมชนในพื้นที่ของตัวเองที่มีแผนที่จะจัดทำพิพิธภัณฑ์ เหมือนกันก็มาดูเป็นต้นแบบ นอกจากนี้กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนวัดโคกพุทรามาเรียนรู้วิธีสีข้าวสารด้วย กำลังคน การเรียนทำขนม การเรียนทำอาหารจากสมาชิกในกลุ่มโครงการสายใยชุมชน และยังมีการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ เช่นการไปร่วมงานโอท๊อป และนำวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ไปประกอบในการจัดงานด้วย
มัณฑนา ชอุ่มผล /เขียน
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนาม วันที่ 24 กรกฎาคม 2554
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
เครื่องดนตรี สีข้าว โคกพุทรา ทะเบียนเดินทุ่ง เครื่องมือจักสาน เครื่องมือช่างไม้ การทอเสื่อ
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง โรงเรียนสตรีอ่างทอง
จ. อ่างทอง
พิพิธภัณฑ์ตำนานเมืองอ่างทอง
จ. อ่างทอง
ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ
จ. อ่างทอง