พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา


ที่อยู่:
อาคารอสีติวัสสายุมงคลมหาศาลาการเปรียญ วัดคุ้งตะเภา เลขที่ 285/4 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 หมู่บ้านคุ้งตะเภา ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
โทรศัพท์:
084-8131315, 090-1999022
โทรสาร:
055-429159
วันและเวลาทำการ:
ทุกวัน 8.30 - 17.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
tevaprapas@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2549
ของเด่น:
หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ อายุ 800 ปี, แผงพระไม้,พระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยรัตนโกสินทร์,เอกสารสมุดไทยใบลานกว่าร้อยฉบับ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

โดย:

วันที่: 21 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ของเรา : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา


วันนี้ ตุลาคม ๒๕๕๕ หลังจากการเสวนา "จะตั้งพิพิธภัณฑ์ของเรา-พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา " ในเดือนสิงหาคม พึ่งจบลงไปไม่นาน...

มาบัดนี้ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ได้รับโบราณวัตถุ-ศิลปวัตถุ เพื่อนำมาจัดแสดงจำนวนกว่า ๑,๐๐๐ สิ่งจัดแสดง  โดยต้องใช้พื้นที่อาคารกว่า ๓๐๐ ตารางเมตร โดยความร่วมมือร่วมใจจากคนในชุมชน ที่ต้องการมี "พิพิธภัณฑ์ของเรา" ไว้ให้ลูกหลาน

นอกจากวัตถุสิ่งของแล้ว ชุมชนได้ร่วมกันจัดซื้อหาตู้จัดแสดง ติดตั้ง CCTV เพื่อรักษาความปลอดภัย และอื่น ๆ ไปร่วม ๆ แสนบาท

สิ่งที่เกิดขึ้น คือความมั่นใจว่า พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ได้ตั้งขึ้น และกำลังยืนหยัดอยู่ โดยกำลังใจ คนละเล็กละน้อย จากทุกคนในชุมชน และจะคงอยู่ต่อไป ถ้าทุกคนในชุมชนมีความรัก หวงแหน และมีความรู้สึกว่า "ตน" เป็น "เจ้าของ" มิวเซียมเล็ก ๆ แห่งนี้ตลอดไป

วัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้-ของใช้-ของชม ที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิต จิตวิญญาณ ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นคนคุ้งตะเภาในอดีตช่วงร้อยกว่าปีก่อน และจากหลักฐานเอกสารโบราณที่พบ ประกอบไปด้วยทั้งอักษรไทย (สมัยอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์) และอักษรตัวเมืองบางส่วน (อักษรธรรมลานนา) รวมทั้งเสาหงส์โบราณ (คติมอญ) ทำให้ทราบว่าหมู่บ้านคุ้งตะเภาในอดีตเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมเก่าแก่ ที่มีการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นหมู่บ้านพหุวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา

 

https://lh5.googleusercontent.com/-eRt8R8TLc88/UGgWrDi8b7I/AAAAAAAAXLg/1MH-PYmaB3s/s720/DSC_0147.jpg


วัตถุที่จัดแสดงบางชิ้นมีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งค้นพบในบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านคุ้งตะเภา แม้จะไม่ได้มาจากการขุดค้นทางโบราณคดี แต่น่าเชื่อได้ว่า หมู่บ้านคุ้งตะเภา เป็นถิ่นฐานที่เคยมีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือกว่า ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว (หมู่บ้านคุ้งตะเภา อยู่ใกล้กับแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีบ้านบุ่งวังงิ้ว ที่เคยพบเศษภาชนะดินเผา หินขัด และกระดูกมนุษย์สมัยก่อน ปวศ. เพียงแห่งเดียวของจังหวัดอุตรดิตถ์)       

และด้วยเหตุที่วัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภาส่วนใหญ่ ได้มาจากชาวบ้านคุ้งตะเภาทุกคนผู้มีจิตศรัทธา ที่ตั้งใจอุทิศให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน เป็นสาธารณสมบัติของชุมชน โดยมีวัดคุ้งตะเภาเป็นผู้ดูแล ในรูปแบบของกรรมการ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็น ร่วมลงมือปฏิบัติ และร่วมภาคภูมิใจ ในพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นได้ จากทุกความร่วมไม้ร่วมมือคนละเล็กละน้อย จากทุกคนในชุมชน

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา จึงอาจเรียกได้ว่า เป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน อย่างแท้จริง!



พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี (มากคล้าย)
ประธานกลุ่มเครือข่ายเพื่อนพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์

 

ชื่อผู้แต่ง:
-

จุดเปลี่ยนแห่งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ เกิดเหตุการณ์เล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่ ปู่ย่าช่วยกันปลุกประวัติศาสตร์ ๒๕๐ ปี ให้ลุกขึ้นมาโลดแล่น ด้วยการพูดคุย สานใจเสวนา โดยกระบวนการมีส่วนร่วม นำมาซึ่งบทสรุปแห่งการก่อรูปพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งแรกของตำบลคุ้งตะเภา ที่ผ่านมาวัดคุ้งตะเภาดำเนินการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโดยจัดแสดงแต่ของภายในวัด โดยขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชน ทำให้เป็นเพียงกรุของเก่า ที่ถูกทอดทิ้ง วันศุกร์ที่ผ่านมา จากจุดเริ่มต้น เจ้าอาวาสออกหาซื้อเกวียนสักเล่ม มาเข้าพิพิธภัณฑ์ของวัด พบสองคู่ชีวิตแห่งชุมชนบ้านน้ำพี้ แห่งบ่อเหล็กน้ำพี้ จิตใจงดงาม ถวายเกวียนโบราณ พร้อมกับโบราณวัตถุทำจากเหล็กน้ำพี้โบราณหลายชิ้น
ชื่อผู้แต่ง:
-

วันที่ไม่ธรรมดาอีกวัน : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

เช้าวันเสาร์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ (ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙) เสียง "ลำโพงจากวัดคุ้งตะเภา" ดังมาแต่เช้ามืด และยังคง "ฟังไม่ค่อยชัด" เหมือนเคย แต่มันก็คงดังมากพอ... ที่จะ "ปลุก" ชาวบ้านคุ้งตะเภาที่หลับไหล ให้ "ลุกขึ้น" สู่วันใหม่ วันนี้วันพระ วันธัมมัสวนะ ได้เวลาไปวัดทำบุญอีกครั้ง...
ชื่อผู้แต่ง:
-