วัดเทพเจริญหรือวัดถ้ำรับร่อถือเป็นวัดสำคัญของจังหวัดชุมพร ตั้งอยู่บริเวณเขารับร่อหรือภูเขาพระ ซึ่งเป็นสถานที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เมืองชุมพร ย้อนไปสมัยการเผยแพร่พุทธศาสนาของเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ 1 และแต่เดิมนั้นเป็นที่ตั้งเมืองเก่าชื่อเมืองอุทุมพร ซึ่งเป็นเมืองร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช จุดเริ่มของพิพิธภัณฑ์วัดเทพเจริญ เกิดในปี 2532 เมื่อครั้งที่ชุมพรและวัดเทพเจริญได้รับความเสียหายจากพายุเกย์ หลังพายุ ชาวบ้านและพระได้รื้อของซ่อมกุฏิของอดีตเจ้าอาวาส พระครูเทพประสิทธาจารย์ พบวัตถุสิ่งของมากมายที่ท่านสะสมไว้ คณะกรรมการวัดจึงได้หารือและดำริที่จะทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยใช้ศาลาการเปรียญหลังเก่าจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ของจัดแสดงหลากหลายมาก อาทิ พระพุทธรูป เครื่องกระเบื้อง เครื่องทองเหลือง ของใช้ของเจ้าเมืองเก่า ดาบจำลองของพระยานคร เป็นต้น
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดเทพเจริญ(วัดถ้ำรับร่อ)
วัดเทพเจริญหรือวัดถ้ำรับร่อถือเป็นวัดสำคัญของจังหวัดชุมพร ตั้งอยู่บริเวณเขารับร่อหรือภูเขาพระ มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในอดีต การเผยแพร่พุทธศาสนาของเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ 1 แต่เดิมนั้นเป็นที่ตั้งเมืองเก่าชื่อเมืองอุทุมพร ซึ่งเป็นเมืองร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช ตามตำนานเมืองอุทุมพร ระบุว่ามีการสร้างวัดหน้าถ้ำทะเลเซียะเมื่อ พ.ศ. 1923 ภายในบริเวณถ้ำพบพระพุทธรูปสถิตเป็นพระประธานอยู่ปากถ้ำ เรียกว่า พ่อปู่หลักเมือง คนชุมพรถือเอาพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นหลักเมืองชุมพร ต่อมาพระยาไชยบุรินทร์ (คล้าย ฐิตะฐาน) เจ้าเมืองชุมพร ต้องการบูรณะขึ้นเป็นวัดประจำตระกูล จึงอุทิศที่นาสร้างศาสนสถานและบันไดทางขึ้นสู่ถ้ำ แล้วใช้ชื่อเรียกว่า วัดเทพเจริญศุภผล ล่วงถึงปัจจุบันจึงเหลือเพียงชื่อวัดเทพเจริญ หรือชาวบ้านรู้จักในชื่อวัดถ้ำรับร่อจุดเริ่มของพิพิธภัณฑ์วัดเทพเจริญ เกิดในปี 2532 เมื่อครั้งที่ชุมพรและวัดเทพเจริญได้รับความเสียหายจากพายุเกย์ หลังพายุ ชาวบ้านและพระได้รื้อของซ่อมกุฏิของอดีตเจ้าอาวาส พระครูเทพประสิทธาจารย์ พบวัตถุสิ่งของมากมายที่ท่านสะสมไว้โดยไม่ได้แจ้งให้ใครทราบ วางปะปนกับถ้วยชามจานกระโถนอยู่ในกุฏิ ประมาณ 300 ชิ้น คณะกรรมการวัดจึงได้หารือกันว่าทำอย่างไรให้คนได้รู้ว่ามีของอยู่และได้มาชมกัน อีกทั้งวัดเป็นโบราณสถานที่สำคัญ จึงดำริที่จะทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยใช้ศาลาการเปรียญหลังเก่าจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เปิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โบราณวัตถุที่สำคัญคือรอยพระพุทธบาทแกะสลักจากหินทรายแดง ยาวประมาณ 1 เมตร สลักลวดลายคล้ายสัญลักษณ์ของราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่งเมืองนครศรีธรรมราช
หลังจากเปิดเป็นทางการแล้ว ชาวบ้านจะนำของมาบริจาคอยู่เรื่อยๆ เช่น ของใช้เจ้าเมืองเก่า ต้นสกุลเก่าบ้าง ดาบจำลองของพระยานคร อายุ 700-800 ปี ปัจจุบันมีของเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร จ.ชุมพร ได้มาช่วยทำทะเบียนให้บางส่วน แต่ทำได้ไม่เต็มที่เพราะสถานที่คับแคบไม่สะดวก ขณะนี้อยู่ระหว่างการของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาสร้างอาคารใหม่ ซึ่งทางวัดคาดหวังไว้ว่าจะทำให้เป็นระบบมากขึ้น พระวิลาสธรรมภูษิต เจ้าอาวาสกล่าวว่า "เมื่อได้ไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพรแล้ว ก็มาดูของจริงกันที่นี้" อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสถานศึกษาต่างๆ ทั้งในชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงก็มาให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช การช่างเทคนิคชุมพร นอกจากนี้ทางวัดได้จัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เปิดสอนดนตรีไทยให้กับเยาวชนในวันอาทิตย์ โดยครูภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีกิจกรรมแกะหนังตะลุง และมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่เป็นประจำ โดยมุ่งหวังให้เป็นศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมพร เพื่อให้เยาวชนได้เข้าถึงประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีมา
ข้อมูลจาก: การสำรวจเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วัด ท่าแซะ วัดถ้ำรับร่อ
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน วัฒนธรรมลุ่มน้ำหลังสวน โรงเรียนสวนศรีวิทยา
จ. ชุมพร
พิพิธภัณฑ์ชุมชนไทดำ บ้านดอนรวบ
จ. ชุมพร
พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวประมง ปากน้ำตะโก
จ. ชุมพร