พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุ โดยจัดแสดงนิทรรศการถาวร แบ่งออกเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่ (1) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชุมพร (2) เรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของชุมพร (3) พัฒนาการช่วงต้นประวัติศาสตร์ของชุมพร (4) เรื่องราวสมัยประวัติศาสตร์ (5) ชุมพรกับสงครามโลกครั้งที่ 2 และวีรกรรมของยุวชนทหาร (6) เรื่องราวธรรมชาติวิทยาและมรดกดีเด่นของจังหวัดชุมพร (7) เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และ (8) เรื่องราวของชุมพรกับเส้นทางผ่านของพายุไต้ฝุ่นเกย์
ชื่อผู้แต่ง: ภาวินีย์ ศิริประภา | ปีที่พิมพ์: 20,9 (ก.ค.42)หน้า122-125
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ทนงศักดิ์ ศุภการ | ปีที่พิมพ์: 11-05-2542 หน้า 28
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 06-05-2542 หน้า 26
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12-05-2542 หน้า 14
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพรตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร มีที่มาจากมติคณะรัฐมนตรีที่ให้กรมศิลปากรดำเนินการโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา เพื่อให้ท้องถิ่นเกิดความรักความภาคภูมิใจในความเป็นมาของท้องถิ่นตน และจะได้ร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมที่มีค่าให้คงอยู่สืบไป จากนั้นในปี พ.ศ.2537 ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธ์)ได้มอบที่ดินจำนวน 7 ไร่เศษ ณ พื้นที่ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพรให้แก่กรมศิลปากร เพื่อดำเนินการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพรการก่อสร้างเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2538-2540 โดยมีความมุ่งหวังให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ทันสมัย มีส่วนให้บริการมากขึ้น การจัดแสดงเน้นในการนำอุปกรณ์สารสนเทศมาใช้ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมกับการชมนิทรรศการมากกว่าเดิม อันจะทำให้ได้รับความรู้และความเพลิดเพลินในการเข้าชมมากเป็นพิเศษ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542
การจัดแสดงถาวร แบ่งหัวข้อจัดแสดงตามเนื้อหาที่กำหนดเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่
1. ชุมพรวันนี้ เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน
2. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในชุมพร มีหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ภายในจังหวัดชุมพร เคยมีการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมา หลักฐานที่พบได้แก่ เครื่องมือหิน เครื่องมือโลหะ ภาชนะดินเผา ตลอดจนเครื่องประดับที่ทำจากวัสดุต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการเขียนภาพเขียนสีบริเวณเพิงผาอีกด้วย วัฒนธรรมเหล่านี้ เป็นผลจากการคิดค้นของกลุ่มชนในสังคมแบบดั้งเดิม ที่ดำรงชีพด้วยการเก็บของป่า ล่าสัตว์ หลังจากนั้นในช่วงปลายได้พัฒนาความรู้มากขึ้น มีการนำโลหะมาใช้ผลิตเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในสังคมและกลุ่มชน นำไปสู่การเป็นกลุ่มชนในช่วงต้นประวัติศาสตร์
3. พัฒนาการแรกเริ่มประวัติศาสตร์ กล่าวถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนในชุมพร ช่วงปลายสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนก่อให้เกิดการพัฒนาในชุมชนโบราณ เช่น แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานเรน อำเภอทุ่งตะโก แหล่งโบราณคดีชุมชนเมืองท่าเขาสามแก้ว อำเภอเมือง หลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมากได้แสดงถึงความสัมพันธ์กับดินแดนโพ้นทะเลระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออก อาทิ ลูกปัดประเภทต่าง ๆ ทั้งหิน ทองคำและแก้ว ซึ่งบางชิ้นมีจารึกอักษรปัลลวะ คำว่า “อขิทโร” ซึ่งแปลว่า ความแข็งแรง ไม่อ่อนแอ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมสำริดรูปคน สัตว์ และกลองมโหระทึก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการที่เกิดขึ้นตามลำดับ ในชุมชนต่าง ๆ ของชุมพร
4. ชุมพรในสมัยประวัติศาสตร์ เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ หลักฐานที่กล่าวถึงชื่อเมืองชุมพร มีเพียงตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเท่านั้น โดยระบุว่า ชุมพรเป็นเมืองบริวารในกลุ่มเมือง 12 นักษัตรของนครศรีธรรมราช และใช้ตราแพะเป็นสัญลักษณ์ของเมือง จากนั้นหลักฐานที่กล่าวถึงเมืองชุมพร จึงเริ่มปรากฏอีกครั้งตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ นำเสนอโดย โบราณวัตถุ/ศิลปวัตถุ สมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ที่พบในจังหวัดชุมพร
5. ชุมพรกับการเป็นเส้นทางผ่านของพายุไต้ฝุ่น กล่าวถึงลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดชุมพร ที่มีการแปรปรวนในช่วงฤดูฝนเสมอนับแต่อดีต พายุที่เกิดขึ้นทุกครั้งได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณส่วนแคบที่สุดของคาบสมุทร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสียหายเมื่อปี 2532 จากพายุไต้ฝุ่นเกย์ นับเป็นความสูญเสียครั้งร้ายแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย นำเสนอโดย ภาพถ่ายสภาพบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากพายุ และระบบมัลติมีเดีย แสดงเหตุการณ์การเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์
6. ชุมพรกับสงครามโลกครั้งที่ 2 และวีรกรรมของยุวชนทหาร กล่าวถึงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ปากน้ำชุมพร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งในครั้งนั้น ทหาร ตำรวจ และยุวชนทหาร ได้แสดงวีรกรรมด้วยการต่อสู้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น เพื่อป้องกันเอกราชและปกป้องอธิปไตยของชาติ ต่อมาชาวชุมพรจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ยุวชนทหารขึ้นที่สะพานท่านางสังข์ ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เพื่อเชิดชูและสดุดีต่อวีรกรรมในครั้งนั้น
7. ธรรมชาติวิทยาและมรดกดีเด่นของจังหวัดชุมพร กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน เช่น ที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยา รวมทั้งวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นเมืองชุมพรที่มีความหลากหลาย
8. พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กล่าวถึงประวัติโดยย่อของพระองค์ท่าน เช่น ประวัติราชสกุล ผู้ทรงคุณูปการแก่เมืองชุมพรและกองทัพเรือไทย ประวัติการก่อตั้งกิจการกองทัพเรือ อันเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนากองทัพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ จนกระทั่งเมื่อประชวรพระโรคภายใน จึงกราบบังคมทูลลาออกจากราชการ และเสด็จไปประทับที่ชายทะเลหาดทรายรีทางใต้ของปากน้ำเมืองชุมพร และเป็นที่ประทับในช่วงปลายแห่งพระชนม์ชีพ
ข้อมูลจาก: http://www.nationalmuseums.finearts.go.th/chumporn/history.htm
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แหล่งโบราณคดี ประวัติเมือง กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ชุมพร
พิพิธภัณฑ์ชุมชนไทดำ บ้านดอนรวบ
จ. ชุมพร
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดเทพเจริญ (วัดถ้ำรับร่อ)
จ. ชุมพร
ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ชุมชนตลาดล่าง
จ. ชุมพร