จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกป้านางคำเยีย

จารึก

จารึกป้านางคำเยีย ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:17:48

ชื่อจารึก

จารึกป้านางคำเยีย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย สมัยสุโขทัย, หลักที่ 102 ศิลาจารึกภูเขาไกรลาส สวนซ้าย ในพระบรมมหาราชวัง, ศิลาจารึกป้านางคำเยีย

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1922

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 57 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 40 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2511), (พ.ศ. 2513)

ผู้ปริวรรต

แสง มนวิทูร (พ.ศ. 2511), (พ.ศ. 2513)

ผู้ตรวจ

1) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2513)
2) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2513)
3) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. แสง มนวิทูร : “ออก” หมายถึง ข้างขึ้น
2. แสง มนวิทูร : “ชระ” หมายถึง สะอาด, บริสุทธิ์
3. แสง มนวิทูร : “สีพดัง” หมายถึง ดุจดัง
4. แสง มนวิทูร : “เบญจางคประดิษฐ์” คือ การกราบไหว้ด้วยอวัยวะห้าอย่างลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง และศีรษะจดลงกับพื้น
5. แสง มนวิทูร : “จุง” คือ จง
6. แสง มนวิทูร : “รัง” หมายถึง แต่ง, สร้าง, ตั้ง
7. แสง มนวิทูร : “มหาศักราช 1301“ ตรงกับ พ.ศ. 1922
8. แสง มนวิทูร : “จุลศักราช 741“ ตรงกับ “พ.ศ. 1922“
9. แสง มนวิทูร : “วันเปิกสัน” คือ เป็นชื่อวันของไทยชนิดหนึ่ง
10. แสง มนวิทูร : “ยอ” หมายถึง ยก, ทะนุบำรุง
11. แสง มนวิทูร : “โอย” หมายถึง ถวาย, ให้
12. แสง มนวิทูร : “พัลลุ” คือ พลุ