จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกลานเงินเสด็จพ่อพระยาสอย

จารึก

จารึกลานเงินเสด็จพ่อพระยาสอย ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:17:48

ชื่อจารึก

จารึกลานเงินเสด็จพ่อพระยาสอย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

เลขที่ 36/6, จารึกสมเด็จพระมหามุนีรัตนโมลี, หลักที่ 292 จารึกลานเงินเสด็จพ่อพระยาสอย

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1963

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 2 ด้าน ด้านที่ 1 มี 6 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 8 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2529)

ผู้ปริวรรต

ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ (พ.ศ. 2529)
2) คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม และ ประเสริฐ ณ นคร : “รวงมุต” ตรงกับ “รวงเม็ด” ที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทย ส่วนในไทยอาหม “มุต” ตรงกับ “เม็ด” ในประเทศไทย และ “เมต” ของไทยอาหม ตรงกับ “เส็ดประเทศไทย” ในจารึกนี้จึงน่าจะเป็น “รวงมุต จาริตพุทธรักษา” จึงจะเข้าสัมผัสกัน และเข้าชุดกับ “ธรรมรักษา สังฆรักษา” แต่เนื่องจากตัวอักษรลบเลือนมาก ผู้จำลองตัวอักษรจึงจำลองตัวอักษรตามที่เข้าใจ จึงอาจผิดพลาดจากความจริงไปบ้าง
2. เทิม มีเต็ม และ ประเสริฐ ณ นคร : “เสร็จฤกษ์” ไปถึงฤกษ์
3. เทิม มีเต็ม และ ประเสริฐ ณ นคร : “เติน” ประกาศ
4. เทิม มีเต็ม และ ประเสริฐ ณ นคร : “คลื่นประติรพ” ส่งเสียงดังต่อเนื่องกัน คำว่า “ประติรภ” มีใช้ใน มหาชาติคำหลวง
5. เทิม มีเต็ม และ ประเสริฐ ณ นคร : “เรจนา” รจนา หรือ ประพันธ์
6. เทิม มีเต็ม และ ประเสริฐ ณ นคร : “ลำอุด” น้อม หรือ นอบน้อม มาจากคำเขมรว่า “ลํ อุต”