จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกป้านางเมาะ

จารึก

จารึกป้านางเมาะ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:17:48

ชื่อจารึก

จารึกป้านางเมาะ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 288 จารึกป้านางเมาะ, สท. 56

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1935-1947

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 3 ด้าน มี 79 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 28 บรรทัด, ด้านที่ 2 มี 28 บรรทัด และด้านที่ 3 มี 23 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม(พ.ศ. 2534)

ผู้แปล

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2534)
2) คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม : “นันทนาภิเสก” มาจาก นันทนา (สันสกฤต 'ปิติ'/'ยินดี') + อภิเสก (การรดน้ำ) แปลว่า การรดน้ำด้วยความปิติยินดี
2. เทิม มีเต็ม : “พินทุ” แปลว่า หยาดน้ำ
3. เทิม มีเต็ม : “ฟอกราคะ” ทำจิตให้ผ่องใสปราศจากความกำหนัดยินดี
4. เทิม มีเต็ม : “เกลส” กิเลสคือสิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง
5. เทิม มีเต็ม : “ปริสุทธอุตตมะ”บริสุทธิ์อุดม คือ มีความบริสุทธิ์เป็นเลิศ
6. เทิม มีเต็ม : “สาธุสัตตปุรุส” สาธุสัตบุรุษ คือ คนดี
7. เทิม มีเต็ม : “สูทั้งหลาย” ท่านทั้งหลาย
8. เทิม มีเต็ม : “ฟังญิน” ฟังยินคือฟัง หรือฟังคำ
9. เทิม มีเต็ม : “รจนาคาถา” เรียบเรียงคำประพันธ์ร้อยกรองในภาษาบาลี
10. เทิม มีเต็ม : “บุณย์” บุญ คือ ความดีแห่งจิต
11. เทิม มีเต็ม : “ทาน” การให้
12. เทิม มีเต็ม : “บารมี” ปารมี คือ ความดีที่จะส่งผลให้เป็นพุทธะ
13. เทิม มีเต็ม : “เท่าวัน” ตราบเท่าวันสิ้นพระศาสนา
14. เทิม มีเต็ม : “12. 7” การอ่านปีศักราชที่ลงไว้ยังเป็นปัญหาอยู่ แต่ตรงกับปีเม็ด (มะแม) เลขตัวหน้าแม้ลางเลือนแต่ก็ยังเห็นได้ว่าเป็นเลข 1 ตัวถัดไปเป็นเลข 2 ชัดเจน ส่วนเลขสองตัวท้าย อาจเป็น 17 หรือ 77 อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเป็น 17 ก็คือ มหาศักราช 1217 ตรงกับพุทธศักราช 1839 แต่ดูจะขัดกับรูปตัวอักษรซึ่งใหม่กว่านั้นประมาณร้อยปี หากเป็นเลข 77 ก็จะเป็นมหาศักราช 1277 หรือตรงกับพุทธศักราช 1898 อันเป็นปีที่ป้านางเมาะทำบุญ และท่านผู้นี้ทำบุญตั้งแต่อายุ 31 ปี จนถึง 71 ปี จึงอาจมาจารึกศิลานี้เมื่อ 40 ปีให้หลังคือ ประมาณ พ.ศ. 1938 ซึ่งดูแล้วไม่ขัดกับรูปตัวอักษร แต่น่าสังเกตว่า เลข 7 ตัวหน้ากับตัวหลังเป็นเลข 7 คนละสมัยกัน ในกรณีที่น่าสงสัยนี้ ถ้าดูรูปตัวอักษร ณ ที่ใช้รูปต่างกันของสองสมัยมาเขียนเรียงติดกันได้ เราก็ควรอนุโลมว่าตัวเลข 7 ของสองสมัยก็อาจจะเขียนติดกันได้ด้วย
15. เทิม มีเต็ม : “ปีเม็ด” ปีมะแม
16. เทิม มีเต็ม : “มีใจศรัทธากระเดจญุดา” ใน จารึกวัดพระยืน ด้าน 1 บรรทัด 16 ใช้ “กระเดญุดา” มาจาก กตัญญุตา แปลว่า สนองพระคุณต่อผู้ที่มีอุปการคุณมาก่อน